จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนอวยพรโดยใช้วิธีการสอนตามกระบวนการ Co-5 Steps ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์จากการจัดการเรียนรู้สะท้อนถึงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กําหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย การจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนอวยพร นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ตรงตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยครูได้กระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกันทำกิจกรรม ตั้งและตอบคำถาม และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ดังนั้น จากการจัดการเรียนการสอนข้าพเจ้าขอสรุปด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จากการที่ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานตามวัยและลักษณะของผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ดังนี้
1) นักเรียนสามารถอธิบายวิธีการเขียนคำอวยพรได้ (K) พบว่านักเรียนสามารถอธิบายหลักการเขียนคำอวยพรได้และนักเรียนยกตัวอย่างประเภทของการเขียนอวยพรได้
2) นักเรียนสามารถเขียนคำอวยพรต่างๆ ตามโอกาสที่นักเรียนสนใจได้ (P) พบว่านักเรียนสามารถเขียนอวยพรในโอกาสต่างๆที่นักเรียนสนใจได้อย่างถูกต้อง
3) นักเรียนมีมารยาทในการเขียนและนำหลักการไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (A) พบว่านักเรียนสามารถใช้ถ้อยคำในการเขียนได้ตรงกับฐานะของบุคคลและสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับชีวิตประจำวัน
ในการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ด้าน K, P, A ในภาพรวม ที่ระบุไว้ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 100