ชื่อวิจัย รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพโรงเรียนชายขอบ
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย ดร.สุวิมล ไวยารัตน์ นางบุปผา มุระชีวะ
ปีที่แล้วเสร็จ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนชายขอบ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนชายขอบ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนชายขอบ มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนชายขอบ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ตารางวิเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ ของโรงเรียนชายขอบ จำนวน 5 แห่ง ที่มีการปฏิบัติที่ดี เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือแบบศึกษาเอกสารและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพในโรงเรียนชายขอบ 4) ตรวจสอบร่างรูปแบบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน จากการสนทนากลุ่ม5) การประเมินความเป็นไปได้และความมีประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนชายขอบ กลุ่มประชากรคือ ผู้บริหารโรงเรียนในพื้นที่ชายขอบ 10 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 393 แห่ง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan โดยการกำหนดสัดส่วนให้ครอบคลุมทุกอำเภอ มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 196 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพของโรงเรียนชายขอบ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในจังหวัดอุบลราชธานี มี 8 องค์ประกอบ คือ การบริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ การระดมความคิด เครือข่ายการจัดการศึกษาวิชาชีพ การจัดการแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม การพัฒนาบุคลากร การจัดกิจกรรมการเรียนแบบลงมือปฏิบัติจริง การรายงานผลการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้อง นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพในโรงเรียนชายขอบ (UBN SMART Model) มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (Unit Management : U) คือ การบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามความต้องการ จำเป็นของโรงเรียนและท้องถิ่น และการบริหารจัดการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม (2) การระดมความคิด (Brainstorming : B) คือ กระบวนการในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการ SWOT (3) เครือข่ายการจัดการศึกษาวิชาชีพ (N : Network) คือการสร้างเครือข่ายและการประสานงาน (4) การจัดการแหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อม (Sufficiency : S) คือ การจัดสร้างจัดหา การปรับปรุง และการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (5) การพัฒนาบุคลากร (Man : M) คือ การส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพให้กับบุคลกรในโรงเรียน (6) การจัดกิจกรรมการเรียนแบบลงมือปฏิบัติจริง (Activities : A) คือ การจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อการประกอบอาชีพ และการวัดประเมินผล (7) การรายงานผลการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้อง (Reporting : R) คือ กระบวนการนำเสนอผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ (8) การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ (Technology : T) คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ 3) ผลการประเมินรูปแบบมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ และมีประโยชน์อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ รูปแบบการส่งเสริมทักษะอาชีพ การบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนชายขอบ
Name of research : Educational management model for occupation in
marginal schools under the Ministry of Education in
Ubon Ratchathani Province.
Name of researcher : Dr. Suvimol Waiyarat Mrs. Buppha Murachiva
Year completed : 2022
Abstract
The objective of this research were 1) to study the current condition of the occupational education management of the border schools; 2) to create a model of the occupational education management of the border schools; 3) to assess the educational management model for occupations of border school. The procedure are as follow. 1) the study of documents and research related to the management of education for occupations of the border schools, the data was collected by using the content analysis table;2) the study of conditions and guidelines for occupational education management of five border school having good practices. The data collections tool were the document study and interview and analyzed by content analysis. 3) Drafting a model of educational management for occupations in border school. 4) examine the model draft by 17 experts from the group discussion.5) assessment of the feasibility and usefulness of the educational management model for occupation of border schools. The population group was school administrators in 10 border areas, Ubonratchathani province, 393 places. The sample size was determined using the ready-made tables of Krejcie and Morgan by determining the proportions to cover all districts with a sample of 196 school. The instrument used to collect the data was a questionnaire and the data was analyzed using mean and standard deviation.
The results showed that 1) Conditions of Educational Administration for Occupational Education of Border Schools under the Ministry of Education in Ubon Ratchathani Province. Consisting of School-based administration to promote professional skills, brainstorming Professional Education Management Network, Management of learning resources and the environment, personnel development, learning by doing activities, reporting the operating results to related parties, Applying technology in the management. 2) The result of creating an educational management model for occupation in border schools (UBN SMART Model) consist of eight components.1) Management for promoting the occupational skills by using the school as a base (Unit Management: U) is the management of educational institutions according to the needs necessities of School and locality necessities, management based on participation principles. 2) Brainstorming (Brainstorming: B) is the process of analyzing the environment inside and outside the school by using SWOT technique. 3) Professional Education Management Network (N: Network) is networking and coordination. (4) Management of learning resources and
environment (Sufficiency: S) is the procurement, improvement and modification of the physical environment. 5) Personnel development (Man : M) is to promote the development of professional skills for school personnel (6) Organizing learning activities with learning by doing practice (Activities: A) is organizing the teaching and learning processes for occupations and evaluation (7) Reporting of results to related parties (Reporting: R) is a systematic process of presenting the results of operations. 8) Using technology in management (Technology: T) is the application of technology to be applied in the management of education for occupation.3The results of the model assessment are practical and useful at a high level.
Keywords: pattern of promoting career skill, Education management, border school