1.ความเป็นมา
โรงเรียนขนาดเล็กตามความหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวไว้
ว่า คือ สถานศึกษาที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน ซึ่งโรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มีนักเรียนจำนวน 52 คน
ซึ่งได้เข้าหลักเกณฑ์ในการเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และนอกจากนี้ทางโรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษา จำนวน 1 คน ข้าราชการครู จำนวน 3 คน ข้าราชการครูไปช่วยราชการ 1 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 1 คนและนักการภารโรง
จำนวน 1 คน ทำให้ทางโรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กได้เกิดปัญหาที่สำคัญโดยเฉพาะต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนที่สูงกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ การขาดแคลนบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการศึกษา ขาดแคลนครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและจำนวนครูไม่ครบชั้น
ซึ่งครูและผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ส่งผลให้ทางโรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน
ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้
จากปัญหาที่กล่าวมานั้นทำให้ส่งผลให้เกิดปัญหาที่สำคัญ 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน
ให้มีประสิทธิภาพและด้านการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากครูไม่ครบชั้นเรียน ดังนั้น ครูจึงต้องมีทักษะ
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบรูณาการการสอนหลายชั้นเรียนและหลายวิชา อีกทั้งครูมีภาระงาน
ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมการจัดการศึกษาให้เท่าเทียมกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ จึงทำให้
ครูไม่สามารถสอนได้อย่างเต็มที่ รวมถึงขาดสื่อ แหล่งประกอบการเรียนการสอน เนื่องจากมีงบประมาณจำกัดตามจำนวนนักเรียน ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน
มีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ด้านคณิตศาสตร์ 18.66 ภาษาไทย 33.50 รวม 2 ด้าน 26.08
และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน มีผลการทดสอบ O NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนค่าเฉลี่ย 44.15 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนค่าเฉลี่ย 22.23
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีคะแนนค่าเฉลี่ย 39.00 และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีคะแนนค่าเฉลี่ย 29.38
ดั้งนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษาจึงสนใจที่จะหาแนวทางที่จะทำให้การบริหารจัดการโรงเรียนและด้านการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียน
บ้านขวดน้ำมัน ด้วย KMN Model ภายใต้วงจร PDCA
2.วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน มีผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2566 สูงขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2565
2. เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน มีผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2566 สูงขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ปีการศึกษา 2565
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียน
บ้านขวดน้ำมันด้วย KMN Model ภายใต้วงจร PDCA
3. ผลสำเร็จที่ได้ 1. ผลการทดสอบการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2566 ด้านคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.04 เมื่อเปรียบเทียบในปีการศึกษา 2565
ด้านภาษาไทย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.25 เมื่อเปรียบเทียบในปีการศึกษา 2565 และรวม 2 ด้าน
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.64 เมื่อเปรียบเทียบในปีการศึกษา 2565
ซึ่งสารถสรุปได้ว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียนบ้านขวดน้ำมันด้วย KMN Model ภายใต้วงจร PDCA สามารถทำให้ผลการทดสอบการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 สูงขึ้น
2. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2566 วิชาภาษาไทย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.76 เมื่อเปรียบเทียบในปีการศึกษา 2565
วิชาภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.65 เมื่อเปรียบเทียบในปีการศึกษา 2565
ซึ่งสารถสรุปได้ว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียนบ้านขวดน้ำมันด้วย KMN Model ภายใต้วงจร PDCA สามารถทำให้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น
3. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจของการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียนบ้านขวดน้ำมัน
ด้วย KMN Model ภายใต้วงจร PDCA ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅𝑋 = 4.69) เมื่อพิจารณา
เป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อ 1.ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นความสำคัญในการพัฒนา
ด้านจัดการเรียนการสอน ( ̅𝑋 = 4.87) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 7.ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาส
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่างๆได้ ( ̅𝑋 = 4.57)
4.ประโยชน์ที่ได้รับ
1. จาการการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กของโรงเรียนบ้านขวดน้ำมันด้วย KMN Model ภายใต้วงจร PDCA เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วยทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพืนฐาน ผู้ปกครอง ชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในขณะเดียวกันรับทราบผลการบริหารจัดการโรงเรียนของตนเองตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน