เรื่อง การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนด้วยรูปแบบ TFIVE+ CL Modle
การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ผู้เรียนด้วยรูปแบบ TFIVE+ CL Modle ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณภาพชุดฝึกทักษะชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์บูรณาการ Unplugged coding เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนหน่วยภูมิศาสตร์ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนจากการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ บูรณาการ Unplugged coding โดยใช้กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหาดใหญ่) จำนวน 54 คน
ผู้ศึกษาได้นำรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มาใช้ รูปแบบ TFIVE+ CL Modle ที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจาก TFIVE Modle ของสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศด้านการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยจากศึกษาธิการจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ 2564 โดยข้าพเจ้าได้สร้างชุดฝึกทักษะคิดวิเคราะห์บูรณาการUnplugged coding มาใช้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การเรียนรู้ของนักเรียน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. T=Team การเรียนรู้และปฏิบัติแบบเป็นทีม มีทีมที่ร่วมกันคิด แก้ปัญหาการเรียนการสอนร่วมกัน
2. F= Focus การวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการโดยนักเรียน ประกอบไปด้วย สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ศึกษาแนวคิด หลักการทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหาดใหญ่) วางแผนการปฏิบัติงาน
3. I = Integration การดำเนินงานการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยรูปแบบ TFIVE+CL Model
โดยใช้ชุดฝึกทักษะคิดวิเคราะห์ บูรณาการ Unplugged coding ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดหาดใหญ่) ประกอบด้วย บูรณาการดำเนินการมีส่วนร่วมของคณะทำงาน บูรณาการจัดการเรียนการสอนในชั่วโมงสอน และบูรณาการในกลุ่มสาระและข้ามกลุ่มสาระ ให้ครูในกลุ่มสาระได้นำไปใช้
4. V = Variety การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการการสอน ให้สนุก น่าสนใจ และเกิดทักษะในการคิด โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ บูรณาการ Unplugged coding ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองและจากการทำงานร่วมกันในกลุ่ม
5. E = Evaluation การวัดและประเมินผล ประกอบด้วย ประเมินจากใบกิจกรรมชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์บูรณาการ Unplugged coding เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเมินจากผลคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประเมินคุณภาพชุดฝึกทักษะคิดวิเคราะห์บูรณาการ Unplugged coding เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประเมินจากแบบสอบถามความพึงพอใช้จากการใช้จากการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์บูรณาการ Unplugged coding เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นประมศึกษาปีที่ 5
ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ ผลการหาคุณภาพชุดฝึกทักษะคิดวิเคราะห์บูรณาการ Unplugged coding เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์บูรณาการ Unplugged coding เรื่อง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีเยี่ยม การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้สูงขึ้น และจากแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ บูรณาการ Unplugged coding โดยภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจสนุกในการเรียนและการใช้ชุดฝึกทำให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ได้ชัดเจนมากขึ้นและนักเรียนชอบเรียนวิชานี้ตามลำดับ นักเรียนให้ร่วมมือกันในการร่วมกิจกรรมและร่วมประเมินผลในการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา นักเรียนมีความสุข สนุกในการเรียน