1.สภาพปัญหา
1.1 สภาพปัญหา/ปัญหา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
คณิตศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทําให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ทําให้ สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดํารงชีวิตและ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข (สสวท. 2554 : 1)
คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรม ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นวิชาที่ว่าด้วยความคิด มี ระเบียบแบบแผน มีลําดับขั้นตอนในการคิด ต้องอาศัยการคิดอย่างมีเหตุผล สิ่งที่เรียนก่อนจะเป็นพื้นฐานใน การเรียนเรื่องต่อไป นักเรียนส่วนมากไม่ประสบความสําเร็จในการเรียน เรียนไม่เข้าใจ ขาดความรู้ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานที่ดีพอ ไม่ชอบคิด ไม่ชอบทําแบบฝึกทักษะด้วยตนเอง สับสนในวิธีการ หลักการคิดและ การใช้สูตรต่าง ๆ ถนัดทําตามแบบหรือตามตัวอย่าง ดัดแปลงแต่งเติมวิธีคิดไม่เป็น ไม่สามารถเชื่อมโยง ความรู้เก่ากับความรู้ให้ม่ ไม่สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาได้ ต้องอาศัยการชี้แนะตลอดเวลา ทําให้ นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ไม่ชอบ ไม่อยากเรียน ไม่ให้ความสนใจและไม่เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ ส่งผลทําให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่ดีเท่าที่ควรทั้งการทดสอบระดับโรงเรียน และระดับชาติ
แบบฝึกทักษะเป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดเนื้อหาวัตถุประสงค์ วิธีการ ตลอดจนอุปกรณ์การสอนไว้ล่วงหน้าทำให้ผู้เรียนสามารถ ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีการเสริมแรงเป็นระยะๆ เนื้อหาของบทเรียนจะถูกกำหนดหรือแบ่งเป็นตอนย่อยๆ เป็นกรอบ โดยการนำเสนอเนื้อหาทีละน้อย มีการตั้งคำถามให้นักเรียนคิดและสนองตอบโดย การตอบคำถามในแต่ละกรอบแล้วเฉลยคำตอบให้ทราบทันทีในกรอบถัดไป ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และเรียนตามความสามารถของแต่ละบุคคล (ธีระชัย บูรณโชติ. 2549 : 7) แบบฝึกทักษะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการช่วยสอนให้ผู้เรียนมีการพัฒนาไปจนขีดสุด และช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอนเพราะแบบฝึกทักษะเป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนสามารถศึกษาเนื้อหา และได้ตอบคำถาม อีกทั้งสามารถทราบผลได้ทันทีเมื่อเรียนจบ และเกิดความคิดรวบยอดตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้(สุวิทย์ มูลคำ. 2551 : 41)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้รายงานจึงคิดว่าแบบฝึกทักษะเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่ สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี และยังเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทางการคิด ได้แก่การคิด วิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งแบบฝึกทักษะยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยดึงดูดและเร้าความสนใจของเด็ก ความสะดุดตาของภาพการ์ตูนจะทำให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นและไม่เบื่อหน่าย จากเหตุผลข้างต้นผู้รายงานจึงสนใจที่จะสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยสร้างแบบฝึกทักษะ แบ่งเนื้อหาออกเป็นบทย่อยๆ ที่เรียกว่า กรอบ ซึ่งเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีความต่อเนื่องกัน แต่ละกรอบมีการอธิบายเนื้อหาของบทเรียน มีคำถามให้นักเรียนตอบและเมื่อตอบแล้วสามารถตรวจคำตอบได้ทันทีไม่มีการเก็บข้อสงสัยไว้ ตลอดจนมีการเสริมแรงเป็นระยะๆ โดยบรรจุเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการในการใช้ประกอบการสอนอย่างแท้จริง เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนเสริมสำหรับครูและนักเรียน ในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต่อไป
1.2 แนวทางการแก้ปัญหา
ใช้แบบฝึกทักษะโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น
1.3 กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาย
1.3.1 จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ.. ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ
1.3.2 เป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 18 คน
โรงเรียนวัดน้ำคบ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
2.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม/การดำเนินงานตามกิจกรรม
1.สร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ ได้ดําเนินการ ดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ และคุณภาพผู้เรียน
2) ศึกษาเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึกทักษะ
3) รวบรวมเนื้อหา เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ. สําหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จัดแบ่ง เพื่อทําเป็นแบบฝึกทักษะ
2. แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ ดําเนินการ ดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พุทธศักราช 2551 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ และคุณภาพผู้เรียน
2) ศึกษารูปแบบ องค์ประกอบสําคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
3) วิเคราะห์ตัวชี้วัดกําหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
4) จัดทําแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน
3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ ดําเนินการดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู แบบเรียน และวิธีสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ จากตําราต่าง ๆ
2) สร้างตารางวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ
3) จัดทําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จํานวน 20 ข้อ
4) นําแบบทดสอบที่จัดทํา ไปให้ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และประเมินความสอดคล้องของแบบทดสอบกับ จุดประสงค์การเรียนรู้
5) คัดเลือกแบบทดสอบที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว มาจัดทําให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบปรนัย จํานวน 10 ข้อ
4. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะ สําหรับ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 ได้ดําเนินการดังนี้
1) ศึกษาเอกสาร ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ และหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อเป็น แนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
2) สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ จํานวน 15 รายการ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ คือ
5 คะแนน หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
4 คะแนน หมายถึง พึงพอใจมาก
3 คะแนน หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
2 คะแนน หมายถึง พึงพอใจน้อย
1 คะแนน หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด
3) นําผลที่นักเรียนได้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ไป วิเคราะห์แปลผลตามเกณฑ์ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 66) การประเมินดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 1.50 2.49 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
ค่าเฉลี่ย 1.00 1.49หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดําเนินการเก็บข้อมูลเอง โดย
1. นําแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ ไปทําการทดสอบก่อนเรียนกับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เวลา 60 นาที แล้วบันทึกคะแนนไว้เป็นคะแนนทดสอบก่อนเรียน
2. ผู้วิจัยดําเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ที่จัดทําไว้
3. ดําเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ อีกครั้งหนึ่งด้วยแบบทดสอบ ฉบับเดิม แล้วบันทึกคะแนนไว้เป็นคะแนนทดสอบหลังเรียน
4. หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสร็จสิ้น ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อ การเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ แล้วเก็บรวบรวมข้อมูลไว้
5. นําข้อมูล คะแนนมาวิเคราะห์สรุปผล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติพื้นฐาน ได้แก่
2.1 ร้อยละ (Percentage) ใช้สูตรดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ. 2551 : 123)
เมื่อ P แทน โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงเป็นโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
2.2 ค่าเฉลี่ย คำนวณจากสูตรดังนี้ (สมบัติ ท้ายเรือคำ. 2551 : 128)
เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย
X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนคนทั้งหมด
2.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณจากสูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. 2553 : 127)
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนแต่ละตัว
N แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม
 แทน ผลรวม
2.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน
ขั้นตอนในการพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียน โดยใช้ออกแบบการเรียนการสอนแบบโดย
ใช้แบบฝึกทักษะโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
พบว่านักเรียนเกิดทักษะ ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ สามารถนำวิธีการเรียนรู้ ในการดำเนินงานไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลใน การศึกษา และใช้เป็นแนวทางการพัฒนา หรือ เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมที่จะนำไปสู่การพัฒนา การต่อ ยอด การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
2.4 การใช้ทรัพยากร
งบประมาณในการดำเนินงาน - บาท
2.5 การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.5.1 ผู้บริหารมีการจัดการประชุมในการจัดทำนวัตกรรมในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ครูมีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
2.5.2 คณะครูมีการประชุม ปรึกษาหารือ ในการจัดทำนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้และ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
3. ผลสำเร็จที่ได้รับ
3.1 ผลสำเร็จที่ได้
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร เศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5จากการคะแนนทดสอบก่อนเรียนและคะแนนทดสอบหลังเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารของเศษส่วนและจำนวนคละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 3.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 และคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 7.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 คะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.77