ความเป็นมาและความสำคัญของผลงาน
การจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ตามปรัชญา คิดเป็น และยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ผู้เรียนแต่ละคนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ทั้งด้านวัย วุฒิภาวะ ความถนัด ความสนใจ วิธีการเรียนรู้ ตลอดจนมีการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนรู้จึงต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเอง ตามธรรมชาติ เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ และเรียนรู้อย่างมีความสุข
ตามที่หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้สถานศึกษาดำเนินการจัดการศึกษาทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งนักศึกษาทุกคนที่จะจบหลักสูตรได้นั้น ต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามเกณฑ์ดังนี้
1.
ผ่านเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้รายวิชาในแต่ละระดับการศึกษา ตามโครงสร้างหลักสูตร
-
ระดับประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
-
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 56 หน่วยกิต
-
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายไม่น้อยกว่า 76 หน่วยกิต
2.
ผ่านการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง
3.
ผ่านการประเมินคุณธรรม ในระดับดีขึ้นไป
4.
เข้ารับการทดสอบทางการศึกษานอกระบบระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)
และด้วยสำนักงาน สกร.จังหวัดศรีสะเกษ มีนโยบายต้องการที่จะยกระดับจำนวนนักศึกษาผู้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดที่มีใน ศกร.ตำบล แต่ด้วยสภาพปัญหาในปัจจุบัน มีนักศึกษาบางส่วนไม่ใส่ใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน และไม่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและจำนวนผู้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ลดลง ซึ่งมีผลต่อการจบการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรของตัวนักศึกษาเอง
จากปัญหาดังกล่าวได้ถูกนำมาพิจารณาวิเคราะห์ และดำเนินการเพื่อออกแบบระบบติดตามและประสานนักศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและประสานนักศึกษา ในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ ศกร.ตำบลตะเคียนราม และ สกร.อำเภอภูสิงห์ จัดขึ้น และเพื่อเป็นการเพิ่มผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) และผู้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ของ สำนักงาน สกร.จังหวัดศรีสะเกษ นั้น
ศกร.ตำบลตะเคียนราม เล็งเห็นถึงความสำคัญของนโยบายดังกล่าว จึงได้ออกแบบและจัดทำระบบการบริหารจัดการนักศึกษา กศน. เพื่อพัฒนาสู่ผลสัมฤทธิ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน ขึ้น
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อติดตามให้นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้
2.2 เพื่อติดตามให้นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้
2.3 เพื่อติดตามให้นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้าน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)
2
3. เป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ
- นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม จำนวน ๙๐ คน
3.2 เชิงคุณภาพ
- นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ร้อยละ 80.00
- นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม สามารถเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ร้อยละ 80.00
- นักศึกษา ศกร.ตำบลตะเคียนราม เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET) ร้อยละ 80.00 และการเข้าสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน ร้อยละ 80.00
4. หลักการและแนวคิด 4.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndikes connectionism) ธอร์นไดค์ (Thorndike) เป็นผู้ค้นพบกฎการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยการกระทำอย่างมีเป้าหมาย จากผลงานการทดลองจับแมวใส่กรงที่มีสลักประตูปิดไว้ให้แมวหาทางออกจากกรงเพื่อกินอาหาร โดยแมวจะต้องหาทางถอดสลักประตูให้ได้จึงจะได้กินอาหาร ซึ่งจากการทดลองพบว่า ในระยะแรกแมวใช้วิธีลองถูกลองผิด (trial and error) และค้นพบวิธีถอดสลักประตูโดยบังเอิญทำให้ประตูเปิดและออกมากินอาหารได้ การทดลองในครั้งต่อ ๆ มา แมวใช้เวลาน้อยลงในการหาทางออกมากินอาหารได้ การทดลองนี้ทำให้สามารถตั้งกฎการเรียนรู้ที่สำคัญดังนี้ (Gredler, 1997, p. 24) 1) กฎแห่งผล (law of effect) พฤติกรรมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดที่ได้รับผลที่ทำให้ผู้เรียนพึงพอใจ ผู้เรียนจะกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีกหรือเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าไม่ได้รับผลที่พึงพอใจผู้เรียนก็จะเลิกทำพฤติกรรมนั้น 2) กฎแห่งความพร้อม (law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนอยู่ในภาวะที่มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ การบังคับหรือฝืนใจจะทำให้หงุดหงิดไม่เกิดการเรียนรู้ 3) กฎแห่งการฝึกหัด (law of exercise) การเรียนรู้จะคงทน หรือติดทนนานถ้าได้รับการฝึกหัดหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์เน้นความเชื่อมโยงของสิ่งเร้าและการตอบสนอง หากผลที่ตามมาหลังปฏิบัติเป็นสิ่งที่น่าพอใจความเชื่อมโยงของสิ่งเร้าและการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น