บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนตำบลนาทราย ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน จำนวน 15 คน แบบแผนการทดลองเป็นการทดลองแบบ The One Group and Pretest - Posttest ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที รวมเวลาจัดประสบการณ์ทั้งสิ้น 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและแบบสังเกตทักษะความคิดเชิงนวัตกรรม ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกับกับจุดประสงค์ (IOC) = 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้วิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่างและ T-Test แบบ Dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผลการวิเคราะห์ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของเด็กปฐมวัยรายด้านและโดยรวม พบว่าก่อนการทดลอง เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมรายด้านทุกด้านและโดยรวมเฉลี่ย (x̄= 9.08, S.D. = 2.66 ) อยู่ในระดับควรปรับปรุง หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมรายด้านทุกด้านและโดยรวมเฉลี่ย (x̄=13.88, S.D. = 2.56) อยู่ในระดับดี พบว่าคะแนนหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนการทดลอง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5
2. วิเคราะห์สรุปค่าความแตกต่างพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมโดยเรียงลำดับจากมากไป
น้อย คือ ด้านการทดลองมีค่าคะแนนความแตกต่างอยู่ที่ 0.90 มากที่สุด รองลงมา มีการเชื่อมโยงมีค่าความแตกต่างอยู่ที่0.87,การสังเกต มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.83,การตั้งคำถาม มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.73 และน้อยที่สุด การสร้างเครือข่าย มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.67
คำสำคัญ : ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม , การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ , สะเต็มศึกษา , เด็กปฐมวัย