บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง ( 4-5 ปี ) ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน 15 คน แบบแผนการทดลองวิจัยครั้งนี้แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest Posttest Design) โดยการทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวม 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ ( IOC = 0.67-1.00 ) สถิติที่ใช้ในการ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่างและ t-test แบบ dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์มีค่าคะแนนการวิเคราะห์การ
เปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ พบคะแนนก่อนทดลองอยู่ที่
( x̄ = 1.87 , S.D. = 1.98) อยู่ในระดับพอใช้ และหลังการทดลง ( x̄ = 2.11 , S.D. = 2.20) อยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5
2. เด็กปฐมวัยมีค่าความแตกต่างการจัดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านทักษะการสังเกตมีค่าคะแนนความแตกต่าง 0.24 มากที่สุด น้อยที่สุดด้านทักษะการลงความเห็นมีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.22 การเปรียบเทียบมีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.02
คำสำคัญ กิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์, ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์, เด็กปฐมวัย