บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการพยากรณ์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดมหาชัยวราราม อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 15 คน แบบแผนการทดลองวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลอง (One group pertest-posttest design) โดยการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที รวม 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา และแบบทดสอบทักษะการพยากรณ์ของเด็กปฐมวัย ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC = 0.67 – 1.00) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และ T-test แบบ dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยได้รับการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา มีค่าคะแนนการวิเคราะห์การเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา พบว่าคะแนนก่อนทดลองเฉลี่ยที่ (x̄ = 1.38 ,S.D. = 0.44) อยู่ในระดับพอใช้ หลังการทดลองเฉลี่ยที่ (x̄ = 2.19 ,S.D. = 0.62) อยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. เด็กปฐมวัยมีคะแนนค่าความแตกต่างการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการพยากรณ์ของเด็กปฐมวัย โดยเรียงลำดับค่าความแตกต่างของคะแนนจากมากไปน้อย คือ ด้านคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นและมีส่วนร่วม ในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.81 มากที่สุด รองลงมา ด้านคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นและมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.80
คำสำคัญ: กิจกรรมสะเต็มศึกษา,ทักษะพยากรณ์,เด็กปฐมวัย