บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมชุดเกมการศึกษามิติสัมพันธ์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เทศบาลนครศรีธรรมราช ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน จำนวน 16 คน แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest Design) ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการทดลองด้วยตนเอง โดยการทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวม 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมชุดเกมการศึกษามิติสัมพันธ์จำนวน 8 กิจกรรม และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 4 - 5 ปี) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.67 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้วิเคราะห์
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และ T Test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัย พบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดเกมการศึกษามิติสัมพันธ์มีค่าคะแนนการวิเคราะห์การเปรียบเทียบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดเกมการศึกษามิติสัมพันธ์ พบว่าคะแนนก่อนทดลองเฉลี่ย (x ̅= 5.19,S.D.=1.328) อยู่ในระดับปานกลาง และมีคะแนนหลังการทดลองเฉลี่ย (x ̅=8.56,S.D.=0.512)
อยู่ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. ค่าความแตกต่างการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดเกมการศึกษามิติสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านอนุกรม
มีค่าคะแนนความแตกต่างอยู่ที่ 1.31 มากที่สุด รองลงมาด้านการจำแนกมีค่าคะแนนความแตกต่างอยู่ที่ 1.12 และน้อยที่สุด ด้านการจัดประเภท มีค่าคะแนน
ความแตกต่างอยู่ที่ 0.93
คำสำคัญ : เกมการศึกษามิติสัมพันธ์ , ความคิดเชิงเหตุผล , เด็กปฐมวัย