บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน
ตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษาผ่านชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษาผ่านชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ วิชา การงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษาผ่านชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์
พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ วิชา การงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) ประเมินความพึงพอใจของรูปแบบ
การสอนตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษาผ่านชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สด
แบบสร้างสรรค์ วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษ
ที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน วิชาการงานอาชีพ ระดับ
ชั้นประถมศึกษา จำนวน 10 คน ของโรงเรียนในอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 19 คน ซึ่งได้มา
โดยการสุ่มแบบฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
1) ชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ จำนวน 6 ชุดฝึก 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดทักษะงานประดิษฐ์พานพุ่มแบบสร้างสรรค์ เป็นแบบปรนัย
ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระ (t-test
แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน หลักสูตรได้มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกคนสามารถเรียนรู้
และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของครูยังใช้รูปแบบการสอน
แบบบรรยายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน ไม่ค่อยได้ใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้สำหรับเสริมทักษะ
การเรียนรู้ ไม่ได้ฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลเท่าที่ควร และวิธีการสอนส่วนใหญ่ของครู
จะสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง เน้นเนื้อหาที่มีในหลักสูตรเท่านั้น เน้นการให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้อง โดยไม่คำนึงถึงวิธีการคิดหาคำตอบ ทำให้นักเรียนที่เรียนไม่เข้าใจตั้งแต่เริ่มต้นแล้วอาจจะไม่ต้องการ
ที่จะเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพที่เกี่ยวกับงานประดิษฐ์
2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า PANPUM Model ประกอบด้วย
7 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดพื้นฐาน 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) สาระความรู้และทักษะ
การสร้างงานประดิษฐ์ 5) สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 6) จุดเน้นทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
7) กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา (Problem Identification: P) ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูล (Analyze and Collect Information: A) ขั้นที่ 3 ออกแบบแนวคิดใหม่(Novation concept design: N) ขั้นที่ 4 วางแผนและบูรณาการนวัตกรรม (Planning and Integrate innovation: P) ขั้นที่ 5 ร่วมกันทดสอบและประเมินผล (United testing and Evaluate) ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีการและเผยแพร่ผลงาน (Method offer and Publish performance: M) และรูปแบบการสอนตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษา
ผ่านชุดฝึกทักษะงานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ วิชา การงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีความเหมาะสมและเป็นไปได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษาผ่านชุดฝึกทักษะ
งานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.75/87.89 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดสะเต็มบูรณาการศึกษาผ่านชุดฝึกทักษะ
งานประดิษฐ์พานพุ่มดอกไม้สดแบบสร้างสรรค์ วิชาการงานอาชีพ เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยและสมรรถนะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น และ
ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก