บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้เกมการศึกษา ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาการสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น เป็นเด็กนักเรียนชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านคลองดิน อำเภอนาเคียน จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 19 คน แบบแผนการการทดลองวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน
และหลัง (One-Group Pretest - Posttest Design) การทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวม 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้สื่อเกมการศึกษา (อายุ 5-6 ปี) และแบบทดสอบการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.67 1.00 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และค่าสถิติที่ใช้พิจารณา t-distribution
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้สื่อเกมการศึกษา มีคะแนนก่อนการทดลองอยู่ที่ ( = 4.95 , S.D. = 2.68 ) อยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองอยู่ที่ ( = 8.52 , S.D. = 2.97 ) อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อเกมการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยมีคะแนนการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้สื่อเกมการศึกษา มีความแตกต่างกันโดยเรียงลำดับจากมาก
ไปน้อย คือ แบบทดสอบการใช้รูป (2.47 1 = 1.47) รองลงมา คือ แบบทดสอบการใช้สัญลักษณ์ (2.37 1.21 = 1.16) และน้อยที่สุด คือ แบบทดสอบการใช้ภาษา (3.68 2.74 = 0.94)
คำสำคัญ การสื่อสารและสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์, เกมการศึกษา, เด็กปฐมวัย