ชื่อเรื่อง : ผลของการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารประเภทขนมหวานเพื่อ
พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ปีการศึกษา: 2566
อาจารย์ที่ปรึกษา: อาจารย์จุฬาลักษณ์ สุตระ, อาจารย์สุชาดา จิตกล้า
_____________________________________________________________________
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารประเภทขนมหวานเพื่อพัฒนาความคิดรอบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุ 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาล 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ของโรงเรียนปทุมานุกูล อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 22 คน แบบแผนการทดลองแบบ (One group pretest posttest design) เป็นระยะเวลาเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน คือวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ วันละ 30 นาที รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารประเภทขนมหวานเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำนวน 8 กิจกรรม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดประสบการณ์ประกอบอาหารประเภทขนมหวานเพื่อพัฒนา เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (อายุ 5-6 ปี) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC) = 0.67 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่างและt-test แบบ Dependent Sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยมีความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารประเภทขนมหวาน พบว่า คะแนนก่อนทดลอง เฉลี่ย (x̄ = 9.00, S.D. = 1.799) อยู่ในระดับดี และมีคะแนนหลังการทดลอง เฉลี่ย(x̄ = 11.86, S.D. = 0.468) อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสังเกตพฤติกรรมทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนก่อนการทดลอง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยมีความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มีค่าความแตกต่างเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านการจำแนกมีค่าคะแนนความแตกต่างอยู่ที่ 0.49 มากที่สุด รองลงมา การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่งมีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.29 และน้อยที่สุด การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับ มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.09
คำสำคัญ ความคิดรวบยอดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์,การประกอบอาหาร ,ขนมหวาน,เด็กปฐมวัย