บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การใช้ชุดกิจกรรม Sensory play กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาล กมลทิพย์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ซึ่งได้มาโดยด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 19 คน แบบแผนการการทดลองวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (One-Group Pretest - Posttest Design) การทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมกิจกรรม Sensory play และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ดัชนีความสอดคล้องระหว่างพฤติกรรมกับจุดประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่างและค่า t test แบบ Dependent sample
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมชุดกิจกรรม Sensory play ก่อนการทดลองอยู่ที่ (X ̅ = 0.58, S.D. = 0.38) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลอง (X ̅ = 0.83, S.D = 0.29) อยู่ในระดับดี ซึ่ง เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยหลังได้รับการจัดกิจกรรม โดยการใช้ชุดกิจกรรม Sensory play เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรม Sensory play แยกคะแนนเป็นรายด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ทักษะการสังเกต มีค่าคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรม Sensory play
ที่ค่าเฉลี่ย 0.70 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.46 และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ย 0.96 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.15 มีค่าความแตกอยู่ที่ 0.26
ด้านที่ 2 ทักษะการทักษะการจำแนกประเภท มีค่าคะแนนก่อนและหลังการจัด
กิจกรรม Sensory play อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 0.37 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.35 และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ย 0.72 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.44 มีค่าความแตกอยู่ที่ 0.35
ด้านที่ 3 ทักษะการเปรียบเทียบ มีค่าคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรม Sensory play อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 0.77 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ย 0.77 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.40 มีค่าความแตกอยู่ที่ 0.00
ด้านที่ 4 ทักษะการลงความคิดเห็น มีค่าคะแนนก่อนและหลังการจัดกิจกรรม Sensory play อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 0.47 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 และหลังการทดลอง ค่าเฉลี่ย 0.86 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.17 มีค่าความแตกอยู่ที่ 0.39
คำสำคัญ กิจกรรม Sensory play, ทักษะทางวิทยาศาสตร์ , เด็กปฐมวัย