บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนเด็ก 12 คน แบบแผนวิจัยแบบกลุ่มทดลองเดียววัดหลายครั้ง (one-group time series design) โดยการทดลองสัปดาห์ละ 2 วันๆ ละ30 นาที ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวม 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษา จำนวน 8 แผน และแบบประเมินสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง สถิติทดสอบที ( T-Test Dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษามีค่าคะแนนการวิเคราะห์สมรรถภาพของผู้เรียนมีคะแนนกิจกรรมที่ 1 เฉลี่ยเท่ากับ 4.83 คะแนน และกิจกรรมที่ 8 เฉลี่ยเท่ากับ 5.75 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทั้งสองครั้ง พบบว่า คะแนนกิจกรรมที่ 8 สูงกว่าจากคะแนนกิจกรรมที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษามีค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต่ละกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมตั้งเตอุ้มบอล มี x̄ = 4.83, S.D = 0.00 อยู่ในระดับปานกลาง 2) กิจกรรมการเล่นโยนห่วง มี x̄ = 5.32, S.D = 0.89 อยู่ในระดับดี 3) กิจกรรมโยนบอลลงห่วง มี x̄ = 5.66, S.D = 0.56 อยู่ในระดับดี 4) กิจกรรมกระโดดทรงตัว มี x̄ = 4.41, S.D = 2.21 อยู่ในระดับปานกลาง 5) กิจกรรมการเล่นลอดห่วง มี บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยจากการทำกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบางหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนเด็ก 12 คน แบบแผนวิจัยแบบกลุ่มทดลองเดียววัดหลายครั้ง (one-group time series design) โดยการทดลองสัปดาห์ละ 2 วันๆ ละ30 นาที ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวม 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษา จำนวน 8 แผน และแบบประเมินสมรรถภาพทางกายของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง สถิติทดสอบที ( T-Test Dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษามีค่าคะแนนการวิเคราะห์สมรรถภาพของผู้เรียนมีคะแนนกิจกรรมที่ 1 เฉลี่ยเท่ากับ 4.83 คะแนน และกิจกรรมที่ 8 เฉลี่ยเท่ากับ 5.75 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนทั้งสองครั้ง พบบว่า คะแนนกิจกรรมที่ 8 สูงกว่าจากคะแนนกิจกรรมที่ 1 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกลางแจ้งห่วงหรรษามีค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต่ละกิจกรรมดังนี้ 1) กิจกรรมตั้งเตอุ้มบอล มี x̄= 4.83, S.D = 0.00 อยู่ในระดับปานกลาง 2) กิจกรรมการเล่นโยนห่วง มี x̄ = 5.32, S.D = 0.89 อยู่ในระดับดี 3) กิจกรรมโยนบอลลงห่วง มี x̄ = 5.66, S.D = 0.56 อยู่ในระดับดี 4) กิจกรรมกระโดดทรงตัว มี x̄ = 4.41, S.D = 2.21 อยู่ในระดับปานกลาง 5) กิจกรรมการเล่นลอดห่วง มี x̄ = 6.00 , S.D = 0.00 อยู่ในระดับดี 6) กิจกรรมหนีบของ มี x̄ = 5.49, S.D = 0.58 อยู่ในระดับดี 7) กิจกรรมซิทอัพเก็บบอล มี x̄ = 4.58, S.D = 1.72 อยู่ในระดับปานกลาง และ 8) กิจกรรมวิ่งเก็บของ มี x̄ = 6.00, S.D = 0.00 อยู่ในระดับดี
คำสำคัญ : กิจกรรมกลางแจ้ง , ห่วง , สมรรถภาพทางกาย , เด็กปฐมวัย
= 6.00 , S.D = 0.00 อยู่ในระดับดี 6) กิจกรรมหนีบของ มี x̄ = 5.49, S.D = 0.58 อยู่ในระดับดี 7) กิจกรรมซิทอัพเก็บบอล มี x̄ = 4.58, S.D = 1.72 อยู่ในระดับปานกลาง และ 8) กิจกรรมวิ่งเก็บของ มี x̄ = 6.00, S.D = 0.00 อยู่ในระดับดี
คำสำคัญ : กิจกรรมกลางแจ้ง , ห่วง , สมรรถภาพทางกาย , เด็กปฐมวัย