บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรงก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เด็กนักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านนาเคียน ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเจาะจง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนเด็ก 17 คน แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง One Group Pretest - Posttest Design โดยการทำการทดลอง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่ วันพฤหัสบดี และ วันศุกร์ วันละ 30 นาที ในช่วงกิจกรรม เวลา 09.30 10.00 น. ทั้งหมด 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมทางกระบวนการวิทยาศาสตร์เรื่องแรง 2) แบบทดสอบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ดังนี้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และสถิติทดสอบที (T - test แบบ Dependent sample)
ผลวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางกระบวนการวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทางกระบวนการวิทยาศาสตร์เรื่องแรง ก่อนการจัดกิจกรรมมีคะแนนรวม 26.71 คะแนน หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนรวม 31.35 คะแนน ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยมีคะแนนก่อนการจัดและหลังการการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยจำแนกเป็นรายด้านประกอบด้วย
2.1 ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄= 6.5 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 1.01 ) อยู่ในระดับดี หลังการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ(x̄= 8.28 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.71 ) อยู่ในระดับดี มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 1.78
2.2 ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x̄= 5.7 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.92 ) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x̄= 7.82 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.71 ) อยู่ในระดับดี มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 2.12 2.3 ด้านความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x̄= 8.04 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.83 ) อยู่ในระดับดี หลังการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x̄= 7.8 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.83 ) อยู่ในระดับดี มีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.24
2.4 ด้านการทำงานประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x̄= 6.46 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.70 ) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่องแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x̄= 7.14 ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. = 0.70 ) อยู่ในระดับดีมีค่าความแตกต่างอยู่ที่ 0.68