บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนวัดมุขธารา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง (A-B-A Design) โดยการทดลองสัปดาห์ละ 2 วัน ๆ ละ 30 นาที รวมระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงาน และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และ A-B-A Design
ผลการวิจัยพบว่า
1. เด็กปฐมวัยมีคะแนนก่อนการทดลอง เฉลี่ยเท่ากับ 8.32 คะแนน และมีคะแนนหลังการทดลองเฉลี่ยเท่ากับ 8.16 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนแบบประเมินทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนก่อนการทดลอง สูงกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานในแต่ละครั้ง มีคะแนนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จำแนกเป็นรายด้านต่างกัน ดังนี้
2.1 ด้านที่ 1 ด้านทักษะการสังเกต ก่อนทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 1.4, SD = 0.42) ระหว่างทดลองการจัดกิจกรรม สะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ครั้งที่ 8, 5, 7, 2, 6, 3, 1, และ 4 มีคะแนนดังนี้ x̄ = 2.28, 2.24, 2.24, 2.2, 2.16, 2.16, 1.6, 2.12, SD = 0.14, 0.09, 0.11, 0.12, 0.07, 0.11, 0.06, 0.06 ตามลำดับ หลังการทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 2.4, SD = 0.18)
แสดงว่า มีคะแนนเฉลี่ยในแต่ละช่วงระยะในการทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ
2.2 ด้านที่ 2 ด้านการเปรียบเทียบ ก่อนทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 2.4, SD = 0.42) ระหว่างทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ครั้งที่ 6, 4, 5, 7, 8, 3, 2 และ 1 มีคะแนนดังนี้ x̄ = 2.2, 2.16, 2.12, 2.04, 1.98, 1.92, 1.92, 1.92 SD = 0.07, 0.06 0.09, 0.11, 0.14, 0.11, 0.12, 0.06 ตามลำดับ หลังการทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 2.32, SD = 0.18) แสดงว่า มีคะแนนเฉลี่ยในแต่ละช่วงระยะในการทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ
2.3 ด้านที่ 3 ด้านการจำแนกประเภท ก่อนทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 2.04, SD = 0.42) ระหว่างทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ครั้งที่ 5, 6, 4, 7, 8, 2, 3 และ 1 มีคะแนนดังนี้ ( x̄ = 2.11, 2.12, 2.09, 2.09, 2.08, 2.02, 2.01, 1.92 SD = 0.09, 0.07, 0.06, 0.11, 0.14, 0.12, 0.11, 0.06 ตามลำดับ หลังการทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 2.04, SD = 0.18) แสดงว่า มีคะแนนเฉลี่ยในแต่ละช่วงระยะในการทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ
2.4 ด้านที่ 4 ด้านการวัด ก่อนทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 1.84, SD = 0.42) ระหว่างทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ครั้งที่ 8, 7, 6, 5, 4, 3, 2 และ 1 มีคะแนนดังนี้ x̄ = 2.08, 2.08, 2.08, 2.11, 2.09, 2.01, 2.02, 1.92 SD = 0.18, 0.11 0.07, 0.09, 0.06, 0.11, 0.12, 0.06 ตามลำดับ หลังการทดลองการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงานมีคะแนน (x̄ = 2.08, SD = 0.18) แสดงว่า มีคะแนนเฉลี่ยในแต่ละช่วงระยะในการทดลองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ
คำสำคัญ : ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ , กิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องพลังงาน , เด็กปฐมวัย