บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียนชาย-หญิงอายุ 4-5 ปี ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านนาเคียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 25 คน แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) โดยทำการทดลอง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ได้แก่ วันพฤหัสบดี และ วันศุกร์ วันละ 40 นาที ในช่วงกิจกรรม เวลา 09.50 10.30 น. ทั้งหมด 8 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ 2) แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง และ One group pretest-posttest design
ผลการวิจัยพบว่า
1.เด็กปฐมวัยมีคะแนนความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) เฉลี่ยเท่ากับ 23.72 คะแนน และมีคะแนนหลังการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) เฉลี่ยเท่ากับ 29.52 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กทั้งสองครั้ง พบว่า คะแนนหลังการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
2.เด็กปฐมวัยมีคะแนนในแต่ละช่วงสัปดาห์ ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยจำแนกเป็นรายด้านแตกต่างกัน ประกอบด้วย
ด้านที่ 1 ด้านความคล่องแคล่ว ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ย (x̄ =6.68) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=1.28) อยู่ในระดับดี หลังการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄=8.12) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=1.21) อยู่ในระดับดี
ด้านที่ 2 ด้านความยืดหยุ่น ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄=6.36) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=2.12) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ย (x̄=7.4) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=1.63) อยู่ในระดับดี
ด้านที่ 3 ด้านการควบคุม ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (x̄=6.56) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=1.66) อยู่ในระดับดี หลังการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ย (x̄=7.56) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=1.39) อยู่ในระดับดี
ด้านที่ 4 ด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา ก่อนการทดลองจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ย (x̄=4.32) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=2.19) อยู่ในระดับปานกลาง หลังการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ (Finger painting) มีค่าเฉลี่ย (x̄=6.28) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=1.46) อยู่ในระดับดี
คำสำคัญ ละเลงสีด้วยนิ้วมือ,ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก,เด็กปฐมวัย