1.T: Tactic กลยุทธ์การบริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาใช้การบริหารเชิงกลยุทธ์ เป็น
การบริหารคุณภาพโรงเรียน โดยเริ่มจากการศึกษานโยบาย จุดเน้น กลยุทธ์ของหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อ
1) จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
2) การปฏิบัติการ (Take Action)
3) การประเมินผล (Evaluation)
โดยผู้บริหาร คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ประชุม ร่วมกันวางแผนจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี กำหนดให้นำคุณธรรมอัตลักษณ์ของ สพฐ.มาขับเคลื่อนบูรณาการในการจัดทำแผนประจำปี โครงการและกิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ร่วมจัดทำนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
ด้วยรูปแบบ TAKPS Model เพื่อการยกระดับการจัดการศึกษา การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. นักเรียนสามารถพัฒนาตนเอง ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทยให้เป็นคนดี มีคุณธรรม ฯลฯ
2. A:Adaptation การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนก้าวทันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิต ควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และการยกระดับการจัดการศึกษา โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง การปรับตัว และพัฒนาตนเอง ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกการเปลี่ยนแปลง โดยใช้ Digital Platform และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ในการค้นคว้า เช่น Facebook , Line, YouTube, Tik ToK , word wall , live worksheets และแหล่งอื่นๆ ตามที่นักเรียนถนัดและสนใจ สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนอย่างเหมาะสมด้วยการเรียนการสอนที่ส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตรที่สอดแทรกคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิต พร้อมเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
3. K:Knowledge การนำความรู้มาใช้ในการจัดการ ส่งเสริม คุณธรรมนักเรียน ผ่านโครงงานคุณธรรมของแต่ละชั้น โครงการและกิจกรรมต่าง ๆภายในโรงเรียนในการขับเคลื่อน เช่น โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม, โครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข, โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยและวินัยนักเรียน เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของในหลวงรัชการที่ 10 และสอดแทรกคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน สู่การพัฒนาทักษะอาชีพของนักเรียน เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ให้นักเรียนมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณภาพและความสุขส่งผลต่อเป้าหมาย คุณภาพด้านความรู้คู่คุณธรรม
4. P: Participation การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยการให้ความร่วมมือกับองค์กรภายนอก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรสุวรรณ สถานีตำรวจภูธรบ่อทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ่างกระพงศ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง และสถานศึกษาอื่น เพื่อร่วมกันดูแลและป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นรวมทั้งปัญหายาเสพติดและอบายมุขที่อาจเกิดขึ้นทั้งในและนอกโรงเรียน ในรูปแบบของการให้ความรู้ อำนวยความสะดวก แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรูปแบบหรือวิธีการอื่น ๆ ตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น การประชุมวางแผนกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นหรือชุมชนของโรงเรียนบ้านอ่างกระพงศ์ เพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. S: Sufficiency economy สานต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดโดยนำหลักความพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านการลงมือปฏิบัติ การทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การระดมสมอง
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสร้างองค์ความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ อย่างสร้างสรรค์ที่เกิดจากประสบการณ์ และการนำองค์ความรู้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความพอเพียง โดยสิ่งสำคัญที่สุดมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิด ความสุข กับการเรียนรู้ โดยจัดแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 13 กิจกรรม