ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practice) โดยการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2

รายละเอียดการนำเสนอ

1. สภาพปัจจุบัน/ปัญหา

1.1 สภาพปัจจุบัน/ปัญหา

การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญกระบวนการหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนาคนให้มีคุณภาพเพราะการศึกษา เป็นกระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม การถ่ายทอดความรู้ ฝึกอบรมสืบสานทาง วัฒนธรรมและสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคล เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำวิชาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงและสามารถ พึ่งพาตนเองได้นั้น ต้องเป็นการศึกษา ที่มีคุณภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ทำให้เป็นคนที่รู้จักคิด วิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจริยธรรม คุณธรรมและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ฉะนั้นหลักการ ศึกษาจึงต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เรียนในสังคมไทยได้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาตลอดการ จัดการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่ปวงชนทุกคนจึงเป็นภารกิจหลักของรัฐบาลในทุกประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 เป็นกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเป็นกฎหมายแม่บทในการจัดการศึกษาของประเทศได้กำหนด ความมุ่งหมายและหลักการในการจัดการศึกษาในมาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น มนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นการมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในด้านต่างๆ ของ การศึกษา คือ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

(กระทรวงศึกษาธิการ. 2553) เด็กในวัยนี้จะเรียนรู้โดยใช้ประสาทสัมผัสการรับรู้ และการเคลื่อนไหว และเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสให้มาก ที่สุด เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เด็กได้คิดและได้ลงมือปฏิบัติจริง

ฉันทนา ภาคบงกช (2552 : 95) ได้กล่าวไว้ว่า ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจหลักสูตรการพัฒนาเด็กปฐมวัย และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ดูแลเด็กอย่างระมัดระวังโดยคำนึงถึงผลในระยะยาว ซึ่งผลการวิจัยทางสมองกับการพัฒนาด้านสติปัญญา พบว่า การวิจัยทางสมองช่วย สนับสนุนแนวคิดและหลักการทางการศึกษาปฐมวัยได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ได้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อมและสังคม สมองจะพัฒนาได้ดีเมื่อเด็กได้ลงมือเล่น กระทำด้วยตนเอง (Active Learning) เด็กจะพัฒนา ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy) ทำให้เกิดแรงจูงใจภายใน (Internal Motivation)ได้ตัดสินใจ เด็กจะเกิดความ ประทับใจจนเกิดเป็นแรงบันดาลใจอันเป็นจุดเริ่มของการสร้างสรรค์ที่ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติที่สุดการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพมีมาตรฐานและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและมีความรอบรู้อย่างเท่าทันให้มีความ พร้อมทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และศีลธรรม สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สังคม ฐานความรู้ ได้อย่างมั่นคง

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2560 เป็นการพัฒนาเด็กแรก เกิด – 6 ปีบริบูรณ์ อย่างเป็นองค์รวม บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่สนองต่อ ธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็กแต่ละคน ให้เต็มศักยภาพภายใต้บริบทสังคม -วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทรและเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็ก พัฒนาไปสู่ความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่า ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัยที่ผ่านมาของเด็กโรงเรียนวิทยสัมพันธ์ พบว่า ผลการ จัดการศึกษาตามมาตรฐานจากการประเมินพัฒนาการนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยที่ไม่บรรลุเป้าหมาย คุณภาพยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ในด้านครูควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกต การจำแนก ประเภท การลงความเห็น และทักษะ การสื่อความหมาย และควรใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ ในรูปแบบต่าง ๆที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง นักเรียนชั้นอนุบาลยังขาดความพร้อม ขาดประสบการณ์พื้นฐานด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องมาจาก นักเรียนชั้นอนุบาลยังขาดความพร้อม ขาดประสบการณ์พื้นฐานในด้านทักษะการปฏิบัติจริง ขาดความเชื่อมั่นและ ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออกทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบความสำเร็จ ประกอบกับการเรียนการ สอนในชั้นเรียนมีปัญหาด้านตัวครูผู้สอนขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดสื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สื่อที่มียังน้อย และไม่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ทำให้ไม่กระตุ้นหรือเร้าความสนใจของเด็ก จึงไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และรูปแบบการสอนไม่เหมาะสม เทคนิควิธีสอนไม่สอดคล้องกับหลักสูตรการจัดการเรียน การสอนเน้นครูเป็นศูนย์กลาง เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อยและครูไม่ใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ดังนั้น ครูควรจัด ประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัยเด็กอนุบาลปีที่2 เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของนักเรียนในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป

1.2 แนวทางการแก้ปัญหา

ใช้กิจกรรมการโดยการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ปีการศึกษา 2566

1.3 กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาย

1.3.1 วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้น

อนุบาลปีที่ 2 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสังเกต การจำแนกประเภท การลงความเห็น และการสื่อความหมาย

2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป้าหมาย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 29 คน

1.3.2 เป้าหมาย

นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน

2.ขั้นตอนการดำเนินงาน

2.1 การดำเนินงาน

2.1.1จัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์และจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

2.1.2จัดทำใบงานสรุปผลการทดลองของแต่ละกิจกรรมให้นักเรียนได้สรุปผลการทดลองด้วยการวาดรูปกิจกรรมกลังทดลองเสร็จ และออกมานำเสนอผลงานของตนเอง

2.1.3จัดทำแบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับประเมินความสามารถ ด้านทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยทักษะการ สังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการลงความเห็น และทักษะการสื่อความหมาย โดยใช้เนื้อหาตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช จำนวน 4 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 ทักษะการสังเกต

ชุดที่ 2 ทักษะการการจำแนกประเภท

ชุดที่ 3 ทักษะการลงความเห็น

ชุดที่ 4 ทักษะการสื่อความหมาย

2.1.4 แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีลักษณะเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมใช้ประกอบการจัดกิจกรรมแต่ละแผนการจัดประสบการณ์

2.2 วิธีการปฏิบัติ

2.2.1 การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือ

1.วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้เด็กปฐมวัย และกำหนดหน่วยการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ จุดประสงค์ การเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้

2. วางแผนการจัดทำกำหนดการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เน้นทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการลง ความเห็นและทักษะการสื่อความหมาย

3. เขียนกิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เน้นทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการลงความเห็น ทักษะการสื่อความหมาย จัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้

2.2.2 รูปแบบการพัฒนา

ดำเนินการพัฒนาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน ดังนี้

1.ดำเนินการทดลองการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 29 คน มีขั้นตอนทดลองและเก็บ รวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

2.ประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียน(Pre-test) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้แบบประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัย ที่ครูสร้างขึ้น

3.ทดลองการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยการจัด ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีวิธีการดังนี้

1.การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้แผนการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

2. ประเมินผลระหว่างเรียน โดยวิธีการประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยการประเมินความสามารถในด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการลง ความเห็น ทักษะการสื่อความหมาย ของนักเรียนรายคน หลังการจัดประสบการณ์ระหว่างเรียนรู้จบแต่ละหน่วย

3. หลังดำเนินการจัดประสบการณ์ครบทุกหน่วย ทุกแผนแล้ว ทำการประเมินความสามารถ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียน (Post-test) กับเด็กชั้นชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยแบบประเมิน ความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย

4.นำผลคะแนนที่ได้ไปทำการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาค่าทางสถิติต่อไป

2.3 แผนการดำเนินงาน/ระยะเวลาในการดำเนินงาน

ดำเนินการจัดกิจกรรมกับเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

2.4 การใช้ทรัพยากร

งบประมาณในการดำเนินงาน 1,000 บาท

2.5 การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

2.5.1 ผู้บริหารมีการจัดการประชุมในการจัดทำนวัตกรรมในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ครูมีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน

2.5.2 คณะครูมีการประชุม ปรึกษาหารือ ในการจัดทำนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้และ

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

2.5.3 ครูผู้สอนดำเนินการจัดกิจกรรมโดยการใช้นวัตกรรมที่ตนเองคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

2.5.4 นักเรียนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสื่อการสอน

3. ผลสำเร็จที่ได้รับ

จากผลการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะ การจำแนกประเภท ทักษะการลงความเห็น และทักษะการสื่อความหมายโดยการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่สร้างขึ้น พบประเด็นที่สามารถ นำมาอภิปรายได้ดังนี้

1. กิจกรรมการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ครูสร้างขึ้นเป็นการจัด ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาตรวจสอบและประเมินความสอดคล้อง ความถูกต้องเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญในด้านหลักสูตรการ จัดประสบการณ์เด็กปฐมวัย และได้มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญให้ถูกต้อง เหมาะสม เป็นไป ตามหลักวิชาการ ก่อนนำไปใช้ นอกจากนี้ในการออกแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ครูมีบทบาทในการ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ การใช้คำถามเชื่อมโยงให้เด็กเกิดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการลง ความเห็น และทักษะการสื่อความหมาย โดยผู้สอนได้ใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเด็กเป็นสำคัญ มี การใช้สื่อที่เป็นของจริง เด็กได้รับประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า มีการจำแนก แยกแยะ เปรียบเทียบ ความเหมือนความต่าง การตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ๆ การค้นหาตำตอบด้วยตนเอง ด้วยการสังเกต สำรวจ สืบค้น ทดลองและตอบคำถามที่ตั้งขึ้นและนำผลจากการสังเกต สำรวจ สืบค้น ทดลองมาอธิบายประกอบ เหตุผลแล้วนำเสนอข้อมูลที่ได้ให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างชัดเจนถูกต้องโดยใช้วิธีต่างๆที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1) ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่กิจกรรมโดยเด็กและครูสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมที่ จะทำการทดลองวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ ร่วมกันตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ๆ

2) ขั้น ดำเนินกิจกรรม เป็นขั้นที่เด็กร่วมกันวางแผนการทดลองแล้วลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เพื่อค้นหาคำตอบ เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงระหว่างการทำกิจกรรมเห็นกระบวนการในการทดลองและเห็นผลการทดลองด้วย ตนเอง โดยครูจะใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการลงความเห็น และทักษะการสื่อความหมายและ

3) ขั้นสรุป เป็นขั้นที่เด็กและครูร่วมกันสรุปผลการทดลอง เพื่อเป็นการตอบคำถาม ในสิ่งที่สงสัย ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นพร้อมอธิบายเหตุผลที่ได้จากการทดลองและนำเสนอข้อมูลที่ได้ให้เพื่อน และครูได้เข้าใจด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัยและความสามารถ สอดคล้องกับการวิจัยของ ปราณี ไชยภักดี (2556: บทคัดย่อ)

2. การเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดประสบการณ์ทาง วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 สร้างขึ้น พบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถด้านทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งนี้เป็นเพราะว่า รูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กเป็นผู้ลงมือ ปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สังเกตวัสดุอุปกรณ์ จำแนก บอกรายละเอียด ความเหมือน ความแตกต่างของ วัสดุอุปกรณ์ตามลักษณะ และคุณสมบัติ สังเกตผลที่ได้จากการทดลอง การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์จะเน้นการปฏิบัติ ทดลอง รูปแบบกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวัยและวุฒิภาวะในการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการจัด ประสบการณ์ตรงที่เปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ เด็กมีโอกาสได้ฟัง สังเกต คิดแก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ ทำให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียน ในการจัดประสบการณ์ แต่ละครั้งเด็กสามารถเรียนรู้ได้โดยประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และ คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ในขณะที่เด็กทำการทดลองจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และคิดหาเหตุผลของการ เปลี่ยนแปลงระหว่างการทดลอง ที่เกิดขึ้น สามารถลงความเห็นจากการเรียนรู้ผนวกกับความรู้จาก ประสบการณ์เดิมของเด็ก และร่วมกันสรุปผลการทดลองทุกครั้ง ทำให้เด็กสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้น สามารถ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันเกิดความรู้ที่คงทน ทำให้มีพัฒนาการทางสติปัญญาหรือความคิด โดยครูจะใช้ คำถามเชื่อมโยงจากกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรม ทำให้เกิดการคิด วิเคราะห์ใช้เหตุผลและการประเมินค่า กิจกรรมนั้นจะเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยให้เด็กมีพื้นฐานด้านการสังเกต จำแนก การลงความเห็น การสื่อความหมายและคิดหาเหตุผลข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้จากการทดลอง ทำให้เด็กมีโอกาสฝึก คิดเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กได้กระทำลงไป การฝึกให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ เผชิญกับสถานการณ์ที่ เป็นปัญหา และสามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

4. ผลสำเร็จที่ได้รับ

ด้านเด็ก

1. เด็กเรียนรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การสังเกต การจำแนกประเภท การลงความเห็น และการสื่อความหมาย

2 .เด็กได้ลงมือทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การ สังเกต การจำแนกประเภท การลงความเห็น และการสื่อความหมาย

3 .เด็กเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ด้านหน่วยงาน

การร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ( ครูและผู้ปกครอง)

5. บทเรียนที่ได้รับ

ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า

1. การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดประสบการณ์ที่เด็กได้ใช้กระบวนการสืบเสาะทาง วิทยาศาสตร์ได้ร่วมกันตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์อย่างง่าย ๆ ได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยการสังเกต สำรวจ สืบค้นทดลอง เด็กจะเกิดความสนใจและตื่นเต้น ในขณะที่ทำการทดลองได้เห็นถึงขั้นตอนในการทดลองเห็นการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้เด็กเกิดความสงสัยในระหว่างการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้ คิดหาคำตอบและสรุปผลการทดลอง ตามความเข้าใจ

2. การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กหยิบจับ สัมผัส สังเกต วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างอิสระ เพื่อ วิเคราะห์ ความเหมือน ความต่าง ของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในกิจกรรมวิทยาศาสตร์

3. การจัดเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กจะได้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเองทำให้เห็นการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำการทดลอง ซึ่งครูจะใช้คำถามกระตุ้นเพื่อให้เด็กได้คิด และบอกเหตุผลที่ได้จาก การสังเกต การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจของตนเอง

4. การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เด็กจะรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัสดุอุปกรณ์ สังเกตการ เปลี่ยนแปลงระหว่างทำการทดลองและสังเกตผลการทดลองแล้วจึงสรุปผลการทดลองตามความเข้าใจของตนอง และนำผลที่ได้จากการทดลองมานำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ

ข้อสังเกต

1. การเลือกกิจกรรมในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ควรเป็นกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน และปลอดภัย เด็กสามารถวางแผนการทดลองได้ เป็นกิจกรรมที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

2. ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ เพราะไม่ควรกำหนดเวลา เนื่องจากเด็กยังมีความสนใจ ในกิจกรรมที่ทำอยู่ เด็กจะให้ความสนใจกิจกรรมที่ท้าทายและสังเกตการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในขณะทำ กิจกรรมได้อย่างชัดเจน

3. สัปดาห์แรกเด็กยังไม่กล้าทำการทดลอง เนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกิจกรรมและยังไม่รู้จักวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ถ้าเป็นกิจกรรมที่มีขั้นตอนมาก ควรอยู่ในสัปดาห์หลัง ๆ เพราะเด็กเกิดความชำนาญในการทำกิจกรรมแล้ว

ข้อเสนอแนะ

1. ควรมีการศึกษาถึงผลการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ เช่น ทักษะการ วัด ทักษะการพยากรณ์เป็นต้น

2. ควรมีการศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมอื่น เช่น การจัดกิจกรรมแบบสืบเสาะ การจัดกิจกรรมแบบโครงงาน การจัดกิจกรรมแบบวางแผน เป็นต้น

3. ครูควรให้ความช่วยเหลือแนะนำในการปฏิบัติกิจกรรมของเด็ก ที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการ

4. การจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กและควรส่งเสริมให้เด็กมี ส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม

5. ครูควรให้เด็กได้คิดและใช้เหตุผลที่หลากหลาย โดยดัดแปลงรูปแบบของกิจกรรม

6. เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมควรนำชุดกิจกรรมไว้ในมุม เพื่อให้เด็กได้ใช้สื่อในการเรียนรู้เพื่อเปิดโอกาสให้ เด็กได้มีการพัฒนาอยู่เสมอ

โพสต์โดย ื์ืณัฐวดี : [25 เม.ย. 2567 (11:17 น.)]
อ่าน [62] ไอพี : 125.25.228.160
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 22,650 ครั้ง
แชร์ประสบการณ์หัดพูด อังกฤษ ฉบับ Advance ได้ผลจริง
แชร์ประสบการณ์หัดพูด อังกฤษ ฉบับ Advance ได้ผลจริง

เปิดอ่าน 16,340 ครั้ง
ไข้กาฬหลังแอ่น
ไข้กาฬหลังแอ่น

เปิดอ่าน 9,902 ครั้ง
“จ๊อบไทย” ชี้ 5 คุณสมบัติที่องค์กรต้องการจากคนทำงานรุ่นใหม่
“จ๊อบไทย” ชี้ 5 คุณสมบัติที่องค์กรต้องการจากคนทำงานรุ่นใหม่

เปิดอ่าน 34,860 ครั้ง
ย้อนอดีตสอนภาษาไทย : แจกลูก-สะกดคำ
ย้อนอดีตสอนภาษาไทย : แจกลูก-สะกดคำ

เปิดอ่าน 1,217 ครั้ง
Water Fasting คืออะไร ลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ ดีต่อสุขภาพหรือเปล่า
Water Fasting คืออะไร ลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ ดีต่อสุขภาพหรือเปล่า

เปิดอ่าน 28,691 ครั้ง
เกลือในทะเล มาจากไหน?
เกลือในทะเล มาจากไหน?

เปิดอ่าน 6,785 ครั้ง
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่7
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่7

เปิดอ่าน 22,429 ครั้ง
4 เรื่องฝากครรภ์ที่แม่ต้องรู้
4 เรื่องฝากครรภ์ที่แม่ต้องรู้

เปิดอ่าน 32,381 ครั้ง
กินยาแรงเกินไปทำให้เบลอได้
กินยาแรงเกินไปทำให้เบลอได้

เปิดอ่าน 582,913 ครั้ง
Adjective ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )
Adjective ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )

เปิดอ่าน 126,985 ครั้ง
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน (The Pitch)
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 1 สนามแข่งขัน (The Pitch)

เปิดอ่าน 70,457 ครั้ง
การตรวจสอบวุฒิการศึกษา
การตรวจสอบวุฒิการศึกษา

เปิดอ่าน 26,437 ครั้ง
"ช้างน้าว" ยิ่ง "เหลือง"พรึ่บ!! เท่าไหร่ ยิ่งรวย..
"ช้างน้าว" ยิ่ง "เหลือง"พรึ่บ!! เท่าไหร่ ยิ่งรวย..

เปิดอ่าน 20,759 ครั้ง
รวมคำอวยพรวันตรุษจีน พร้อมคำแปล
รวมคำอวยพรวันตรุษจีน พร้อมคำแปล

เปิดอ่าน 95,881 ครั้ง
การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction)
การเรียนการสอนรายบุคคล (Individualized Instruction)

เปิดอ่าน 68,276 ครั้ง
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เปิดอ่าน 3,225 ครั้ง
"เตามหาเศรษฐี" คืออะไร?
"เตามหาเศรษฐี" คืออะไร?
เปิดอ่าน 7,669 ครั้ง
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่8
ครูแท้แพ้ไม่เป็น ตอนที่8
เปิดอ่าน 32,392 ครั้ง
ว่านหางจระเข้
ว่านหางจระเข้
เปิดอ่าน 11,662 ครั้ง
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ