ผู้วิจัย นายวิศิษฎ์ มุ่งนากลาง
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ 2566
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการ ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 26 คน และครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง โรงเรียนละ 2 คน จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง
กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการจัดสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 26 คน ครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง แบบติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 26 คน และครูผู้รับผิดชอบงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง โรงเรียนละ 2 คน
จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจรูปแบบการการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง และแบบสรุปรายงานผล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง โดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดไปหาค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้ดังนี้ 1) ด้านการรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคล 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา 4) ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และ 5) ด้านการส่งต่อนักเรียน ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง พบว่า รูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ประกอบด้วย ขั้นการวางแผน (Plan) ขั้นการดำเนินงาน (Do) โดยใช้ SMART STCI Model ได้แก่ S : Systematic การกำหนดแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน M : Management การบริหารจัดการ A : Activities การจัดกิจกรรม R : Report การรายงานผลการปฏิบัติงาน T : Team Work การทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจกัน และ STCI (Service Mind,Team Work, Collaboration, Integrity) ขั้นการตรวจสอบประเมินผล (Check) และขั้นการดำเนินการให้เหมาะสม (Action) โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ย มากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านความถูกต้องครอบคลุม ตามลำดับ
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง พบว่า ผลการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ในภาพรวมเฉลี่ย ส่วนใหญ่โรงเรียนมีผลการปฏิบัติระดับคุณภาพดีมาก จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 76.92 ระดับคุณภาพดี จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 23.08
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SMART STCI Model ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง พบว่ามีความพึงพอใจกับกระบวนการหรือวิธีการของรูปแบบที่ใช้ดำเนินการการครั้งนี้ มีความพึงพอใจในระดับมาก และสถานศึกษาที่มีนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน