ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้รูปแบบการสอน Active Learning เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

1.สภาพปัญหา

1.1 สภาพปัญหา/ปัญหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สาเหตุแห่งปัญหาจากครูผู้สอนในสถานศึกษา ความเข้าใจของนักเรียนในการเรียนรู้ ครูผู้สอนไม่เห็นความสำคัญของนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูผู้สอนขาดประสบการณ์หรือความชำนาญในการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครูผู้สอนปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะกลัวว่าเมื่อเข้ามาแทนที่ ตนเองสูญเสียความสำคัญ ครูผู้สอนขาดความรู้ในการสร้างชิ้นส่วน สื่อ หรือองค์ประกอบต่างๆเพื่อจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนไม่มีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาเรียนรู้คุณลักษณะเฉพาะของนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ สาระการเรียนรู้ที่ทำโดยครูมักมีสภาพไม่น่าสนใจ ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจด้านการพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายน้อย ครูผู้สอนที่ชำนาญการในการสอนโดยใช้เครื่องมือและสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีไม่เพียงพอ

กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถรักษาผลการเรียนรู้ให้อยู่คงทนได้มากและนานกว่ากระบวนการเรียนรู้ Passive Learning เพราะกระบวนการเรียนรู้ Active Learning สอดคล้องกับการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ โดยสามารถเก็บและจำสิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อน ผู้สอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ได้ผ่านการปฏิบัติจริง จะสามารถเก็บจำในระบบความจำระยะยาว (Long Term Memory) ทำให้ผลการเรียนรู้ ยังคงอยู่ได้ในปริมาณที่มากกว่าและระยะยาวกว่า

การสอนแบบ Active Learning จึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา (Constructivism) ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง กล่าวคือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีความหมายและนำไปใช้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คือการสอนแบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติในสถานศึกษา ส่งเสริมให้ความรู้ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอน ให้มีความรู้สามารถใช้งาน เข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ ทักษะการสร้างสื่อ นวัตกรรม และบทเรียนด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาสื่อบทเรียน โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กำหนดวิธีการให้ผู้เรียนเข้ามาใช้งาน การเรียนรู้ร่วมกับช่องทางการเรียนรู้ของสถานศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบ

1.2 แนวทางการแก้ปัญหา

ใช้รูปแบบการสอน Active Learning เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น

1.3 กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาย

1.3.1 จุดประสงค์

1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน Active Learning เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1

2) เพื่อสร้างเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาไทยในกลุ่มนักเรียนให้ดีขึ้น

1.3.2 เป้าหมาย

1) นักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน Active Learning สูงกว่าก่อนเรียน เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน

2) นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้แบบเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ หรือลงมือทำสามารถทำให้นักเรียนบางส่วนที่ไม่เข้าใจบทเรียนนั้น กลับมาเข้าใจบทเรียนมากขึ้นและเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย

2.ขั้นตอนการดำเนินงาน

2.1 การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม/การดำเนินงานตามกิจกรรม

1. ศึกษาปัญหาการเรียนการสอน การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จาก

1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

1.2 ผลการวัดและประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้

1.3 การทำแบบฝึกหัดของผู้เรียน

1.4 ผลการตรวจผลงานของผู้เรียน

1.5 ผลจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.6 บันทึกผลการสอนหลังสอนในแผนการสอน

1.7 ผลการวิจัยที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้น

2. กำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน การกำหนดนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันสาเหตุของปัญหา และการสร้างนวัตกรรมดังนี้

2.1 วิเคราะห์หลักสูตร

2.2 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง

2.3 จัดทำโครงสร้างของนวัตกรรมการเรียนการสอน

2.4 สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างและขั้นตอนที่กำหนด

2.5 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ

3. การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน ขั้นตอนในการจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีดังนี้

3.1 ศึกษาวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น

3.2 กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ประกอบการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ

3.3 ศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือ

3.4 ออกแบบและสร้างเครื่องมือ

3.5 ตรวจสอบและผ่านการกลั่นกรองของผู้เชี่ยวชาญ

3.6 ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ

3.7 จัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง

4. การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน ขั้นการศึกษาคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้

4.1 กลั่นกรองเบื้องต้นโดยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระนั้นอ่านเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

4.2 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 คน ประเมินเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม

4.3 วิเคราะห์ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด และปรับปรุงข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะ

4.4 จัดทำเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พร้อมสำหรับนำไปทดลองใช้

5. การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน

หลังจากได้ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ตามวิธีการและขั้นตอนที่เชื่อถือได้ และมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่กำหนดแล้ว นำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ตามกระบวนการ PDCA วงจรเดมมิ่งมีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน ดำเนินการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง เมื่อครบรอบวงจรแล้ว จึงดำเนินการเริ่มต้นใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมีรายละเอียดแต่ละขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan - P) การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องจัดทำเป็นการคิดเตรียมการไว้ล่วงหน้าอย่างรอบคอบเพื่อจะทำงาน ให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพในการวางแผนจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายแนวทางการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบงานกำหนดระยะเวลาและทรัพยากรที่จะต้องใช้เพื่อทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ ตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาแผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร แผนงบประมาณซึ่งแผนต่างๆ ต้องมีความเชื่อมโยงกับนโยบายและความต้องการของท้องถิ่นด้วย

2. ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do - D) เมื่อสถานศึกษาได้วางแผนการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้วบุคลากรก็ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่จัดทำไว้โดยระหว่างการดำเนินงานผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข

3. ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติ (Check - C) การประเมินผลเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง ผู้บริหารและครูที่เข้าใจระบบการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เหมาะสมจะตระหนักถึง ความสำคัญของการประเมินผลไม่กลัวการประเมินผลโดยเฉพาะการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อพัฒนา ไม่ใช่การตัดสิน ถูก-ผิด ไม่ใช่การประเมินเพื่อประเมินและไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่เป็นประจำเครื่องมือที่ใช้อาจเป็นเครื่องมือที่มีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องสร้างขึ้นใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายวิชาการ ผลงานหรือการบ้านตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้นเรียน ซ้ำเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้วเพียงจัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น ในระหว่างที่สถานศึกษาดำเนินการตามแผนปฏิบัติการควรมีการตรวจสอบประเมินผลเป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาการดำเนินการเป็นไปในทิศทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ที่กำหนดในแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติการหรือไม่เพียงใด มีจุดอ่อน จุดแข็งประการใด มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือมาตรฐานและตัวบ่งชี้ที่กำหนดมากที่สุด และเมื่อสิ้นภาคเรียนหรือสิ้นปีการศึกษาก็จะต้องมีการประเมินสรุปความเพื่อนำผลมาพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง การดำเนินการในระยะต่อไป

4. ขั้นที่ 4 การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข (Action - A) เมื่อบุคลากรแต่ละคน / ฝ่าย มีการประเมินผลเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ส่งผลให้กับคณะกรรมการที่รับผิดชอบ ซึ่งจะต้องรวบรวมผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลในภาพรวมทั้งหมด แล้วนำเสนอผลการประเมินต่อผู้เกี่ยวข้อง เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา ครูประจำวิชา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนางานของตนเองต่อไป การเผยแพร่ผลการประเมิน อาจใช้วิธีจัดประชุมครูภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สถานศึกษาจัดป้ายนิเทศ หรือจัดทำรายงานผลการประเมินฉบับย่อแจกบุคลากร

2.3 ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน

ขั้นตอนในการพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียน โดยใช้ออกแบบการเรียนการสอนแบบโดยใช้รูปแบบการสอน Active Learning เรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1พบว่านักเรียนเกิดทักษะทางการอ่าน การเขียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วย รูปแบบการสอน Active Learning สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ สามารถนำวิธีการเรียนรู้ ในการดำเนินงานไปใช้เป็นแหล่งข้อมูลใน การศึกษา และใช้เป็นแนวทางการพัฒนา หรือ เป็นฐานข้อมูลสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมที่จะนำไปสู่การพัฒนา การต่อ ยอด การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

2.4 การใช้ทรัพยากร

งบประมาณในการดำเนินงาน - บาท

2.5 การมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

2.5.1 ผู้บริหารมีการจัดการประชุมในการจัดทำนวัตกรรมในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้ครูมีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน

2.5.2 คณะครูมีการประชุม ปรึกษาหารือ ในการจัดทำนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้และ

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

3. ผลสำเร็จที่ได้รับ

3.1 ผลสำเร็จที่ได้

จากการศึกษาการปฏิบัติพบว่าการสอนโดยวิธี Active Learning ระหว่างนักเรียนในรายวิชาภาษาไทย ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญก็คือการที่ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ใช้ประสบการณ์ ความรู้รอบตัว ความชำนาญและความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนมาร่วมกันทำกิจกรรม มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันมีโอกาสคิดพิจารณา แสดงความคิดเห็นร่วมกัน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ เมื่อผู้เรียนมีความต้องการ ผู้สอนจะให้ความสำคัญต่อกระบวนการคิด กระบวนการทำงานของผู้เรียนมากกว่าที่ผู้เรียนคิดหรือสิ่งที่ผู้เรียนผลิตขึ้นมา ซึ่งนักการศึกษากลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ให้ดีขึ้นและบรรลุเป้าหมายของการศึกษาแห่งชาติด้วย ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนจึงเข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอนเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน

3.2 ประโยชน์ที่ได้รับ

1. เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2. เป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนาเจตคติต่อการเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการสอน Active Learning ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ ต่อไป

3. นักเรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเรียนในคาบเรียนอย่างมาก

4. ปัจจัยความสำเร็จ

1. คณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความเข้าใจและมีทิศทางการพัฒนาคุณภาพ ของงานไปในแนวทางเดียวกันของระบบ Best Practice

2. ครูผู้สอนในโรงเรียน ร้อยละ 95 มีประสบการณ์ มีความรู้ ความเข้าใจ โดยสามารถนำมาปรับปรุงงานที่รับผิดชอบให้เกิดผลดีได้

3. "คุณภาพของครู" คือปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จที่มีต่อคุณภาพการศึกษา "สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน" เกิดขึ้นได้จากการทำให้ครูได้เป็นครูอย่างแท้จริง มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทุ่มเทให้กับนักเรียน ครูมีเวลาเพียงพอต่อการเตรียมตัวสอน สอนอย่างมีคุณภาพ และนักเรียนได้รับรางวัลตอบแทนจากการตั้งใจเรียน

5. บทเรียนที่ได้รับ

5.1 การระบุข้อมูลที่ได้รับและการนำผลงานไปใช้

5.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนประสบผลสำเร็จในการเรียนที่สูงขึ้นจากการทำ Best Practice

5.1.2 ครูผู้สอนสามารถนำประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจมาพัฒนาเทคนิควิธีการสอนให้มีประสิทธิภาพ

5.1.3 งานวิชาการดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ

5.1.4 นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ ถ้าสถานศึกษาออกแบบการจัดกิจกรรมที่เอื้อให้นักเรียน แสดงศักยภาพของตนเองในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่ ย่อมทำให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองเต็มตาม ศักยภาพที่มีอยู่ ดังนั้นโรงเรียนควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถด้านต่าง ๆ

5.1.5 ความสำเร็จในการใช้นวัตกรรม เกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย คือ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

โพสต์โดย นางสุดาพร พูลหน่าย : [22 เม.ย. 2567 (19:16 น.)]
อ่าน [86] ไอพี : 223.207.246.248
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,101 ครั้ง
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร
กำจัดความเครียดได้ง่าย ๆ ด้วยการกินอาหาร

เปิดอ่าน 14,763 ครั้ง
สโลว์ฟู้ด อาหารสำหรับคนอยากผอม
สโลว์ฟู้ด อาหารสำหรับคนอยากผอม

เปิดอ่าน 64,836 ครั้ง
วิธีสะเดาะเคราะห์ (ด้วยตัวเอง)
วิธีสะเดาะเคราะห์ (ด้วยตัวเอง)

เปิดอ่าน 11,882 ครั้ง
ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ
ระวัง! หยุดหายใจขณะหลับ

เปิดอ่าน 33,020 ครั้ง
เทคนิคการวิ่งไม่ให้ปวดเข่า
เทคนิคการวิ่งไม่ให้ปวดเข่า

เปิดอ่าน 28,482 ครั้ง
การศึกษาไทย เราโง่อย่างมีหลักการ
การศึกษาไทย เราโง่อย่างมีหลักการ

เปิดอ่าน 11,217 ครั้ง
เตือนเด็กต่ำกว่า 16 ใช้มือถือ เสี่ยง 5 เท่า เนื้องอกสมอง
เตือนเด็กต่ำกว่า 16 ใช้มือถือ เสี่ยง 5 เท่า เนื้องอกสมอง

เปิดอ่าน 254,196 ครั้ง
การกำหนดภาระการสอนขั้นต่ำของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน
การกำหนดภาระการสอนขั้นต่ำของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

เปิดอ่าน 15,530 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย

เปิดอ่าน 21,459 ครั้ง
ปลูกต้นไม้เหมาะกับทิศ
ปลูกต้นไม้เหมาะกับทิศ

เปิดอ่าน 642 ครั้ง
"สูงวัย เนือยนิ่ง ทอดหุ่ยกับสมองเสื่อม" พฤติกรรมแบบไหน ทำให้เกิดความเสี่ยง?
"สูงวัย เนือยนิ่ง ทอดหุ่ยกับสมองเสื่อม" พฤติกรรมแบบไหน ทำให้เกิดความเสี่ยง?

เปิดอ่าน 8,208 ครั้ง
Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook
Google Me เตรียมชนขาใหญ่ Facebook

เปิดอ่าน 107,462 ครั้ง
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา

เปิดอ่าน 24,954 ครั้ง
วิธีฝึกภาษาอังกฤษอังกฤษอย่างไรให้เก่งเทพใน 1-3 เดือน!!!
วิธีฝึกภาษาอังกฤษอังกฤษอย่างไรให้เก่งเทพใน 1-3 เดือน!!!

เปิดอ่าน 18,804 ครั้ง
สถานที่นอนดู ฝนดาวตก ชัด ๆ 17-18 พ.ย.นี้
สถานที่นอนดู ฝนดาวตก ชัด ๆ 17-18 พ.ย.นี้

เปิดอ่าน 82,950 ครั้ง
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based Learning: BBL)
เปิดอ่าน 8,047 ครั้ง
เชิญพิสูจน์!! ไฟไหม้ปริศนา คลิปแฉฝีมือคนในบ้าน (ชมคลิป)
เชิญพิสูจน์!! ไฟไหม้ปริศนา คลิปแฉฝีมือคนในบ้าน (ชมคลิป)
เปิดอ่าน 19,188 ครั้ง
ดูทีวีเวลานอน...ผู้ใหญ่เสี่ยงโรค-เด็กเสี่ยงโง่
ดูทีวีเวลานอน...ผู้ใหญ่เสี่ยงโรค-เด็กเสี่ยงโง่
เปิดอ่าน 12,731 ครั้ง
ฮอร์โมนสังเคราะห์รักษาโรคอ้วนได้
ฮอร์โมนสังเคราะห์รักษาโรคอ้วนได้
เปิดอ่าน 92,727 ครั้ง
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ