การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวนศรีวิทยา 2. เพื่อหาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวนศรีวิทยา
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องของไหลสถิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร 4. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร เรื่อง ของไหลสถิต โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวนศรีวิทยา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียน เรื่อง ของไหลสถิต ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จังหวัดชุมพร และทำการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) มีจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 36 คน เป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนแบบคละความรู้ความสามารถ โดยจัดให้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสวนศรีวิทยา จำนวน 4 เล่ม ซึ่งมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบประเภทปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 แบบวัดความพึงพอใจที่ได้สร้างขึ้นตามวิธีการของลิเคอร์ท (Likert) แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ที่มีค่าความเที่ยงของแบบประเมิน เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2 สูตรการหาค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าสถิติวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าเฉลี่ยร้อยละและ
การทดสอบแบบ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพรายชุดของชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.13/82.92 มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพ 80/80
2. ค่าประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร มีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6694
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ของชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Tiny Physics Game เรื่อง ของไหลสถิต วิชาไฟฟ้าและสมบัติเชิงกลของสาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.66, SD = 0.510)