ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง
ผู้วิจัย นางสาวปิติมน ธีระไพรพฤกษ์
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยตามหลักการ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีสมองเป็นฐานหรือที่เรียกย่อๆว่า BBL (Brain-based learning) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นเสริมสร้างพัฒนาการของสมองด้านความเข้าใจในตนเองและความเข้าใจในผู้อื่น กิจกรรมส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นให้นักเรียนเข้าใจภาวะอารมณ์และความรู้สึกของตนเองและของผู้อื่น จนกระทั่งพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพที่สูงสุดได้ และพัฒนาทักษะที่ใช้ในการสื่อสาร และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข รวมทั้งแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎี หรือกฎทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฎ เหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด ตั้งคำถาม แก้ปัญหา และการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้ หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้ โดยครูทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ร่วมกับการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง ที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เป็นหน่วยการวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้คือ (3.1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กับเกณฑ์ร้อยละ 80 (3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และ (4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะ เต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คือ (1) แบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย (Focus groups) (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (3) แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม และ (4) แบบประเมินร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และเครื่องมือในการทดลองใช้รูปแบบการวัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ (1) แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 20 แผนฯ มีค่าเฉลี่ยการประเมินคุณภาพ เท่ากับ 5.00 (2) แบบประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม (3) แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบเลือกกากบาท () เฉพาะคำตอบที่ถูก มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.8082 และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครอง เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจชนิดประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Pair)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้องแบบแบบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ และพบว่า ควรมีการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง พบว่า ร่างรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ได้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ หลักการแนวคิดทฤษฎี หลักการจัดการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งผลการประเมินรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 และผลการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.72/86.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง พบว่า
3.1 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา มีคะแนนประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 84.90 มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 86.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้
3.2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยการศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฎีสมองเป็นฐานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลปราสาททอง พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.30
The Title The Development of an Experience model
Using to The theory of Brain-based learning
according on STEM Education to Strengthen of Basic Science Skills
for Kindergarten level 2 children
Anuban Prasartthong Sub-district School
The Author Miss. Pithimon Teerapripauge
Year 2023
ABSTRACT
This research were research and development designed (1) to investigate the state, problem and the guidelines for the development an experience model according to the theory of brain-based learning, according on STEM education to strengthen of basic science skills for Kindergarten level 2 children Anuban Prasartthong sub-district school, (2) to develop an experience model according to the theory of brain-based learning, according on STEM education to strengthen of basic science skills for Kindergarten level 2 children Anuban Prasartthong sub-district school, (3) to try out an experience model with sub-objectives which are : (3.1) to compare the basic science skills for Kindergarten level 2 children with the an experience model according to the theory of brain-based learning, according on STEM education combining with 80 percent criterion, (3.2) to compare the basic science skills for Kindergarten level 2 children between before and after learning form an experience model according to the theory of brain-based learning, according on STEM education and (4) to evaluate and update the development of experience model, The samples group were 20 Kindergarten level 2 children in Anuban Prasartthong sub-district school in the 1st semester, B.E.2566 academic year. The tools used to develop an experience model were (1) the small group meeting record, (2) the in-depth interview, (3) the participatory meeting record and (4) the evaluation of the experience model. The research tools used for data collection consisted of (1) 20 experience lesson, (2) the form to observe and record the childhoods behavior, (3) the basic science skills assessment form and (4) Parental satisfaction assessment form for organizing experiences. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test (Pair).
The research findings were summarized as follows :
1. The state, problem and the guidelines for the development of experience model. Using the documentary analysis and the interview of 5 experts were consistent and found that the development of experience model according to the theory of brain-based learning, according on STEM education to strengthen of basic science skills for Kindergarten level 2 children, Anuban Prasartthong sub-district school.
2. The result of the development of an experience model based on brain theory as based, combined with the use of STEM education concepts in learning. To enhance the basic science skills of preschool children Kindergarten level 2, found that the form of experience management with 5 components, including principles, concepts theories learning management principles learning process learning support, and evaluation in which the evaluation form is based on opinions of experts. The most suitable is the average of 4.60 and the experience plan in the form of effective equal to 84.72/86.50 meet the criteria.
3. The experimental results using an experience model, found that
3.1 Children Kindergarten level 2 who learning by instructional model according to the theory of brain-based learning, STEM education to strengthen of basic science skills for Kindergarten level 2 children had intellectual development learning behavior 84.90 percent and had basic science skills score accounted for 86.50 percent, which is higher than the specified 80 % threshold.
3.2 Children Kindergarten level 2 who learning by experience model according to the theory of Brain-based learning, according on STEM education to strengthen of basic science skills for Kindergarten level 2 children. After studying it was higher than before studying. Statistical significance at .05 level.
4. Evaluation results of experience management model by studying the opinions of parents on the experience model based on brain theory as based, according on STEM education to strengthen of basic science skills for Kindergarten level 2 children, found that the opinions of parents. Overall s at a high level. With an average of 4.30.