ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายอาทิตย์ แสนมนตรี
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล 1 สุขวิทยากรตั้งตรงจิตร 15 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 17 แผน รวม 17 ชั่วโมง ซึ่งมีคุณภาพดีมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.81 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ โดยมีค่าความยากตั้งแต่ 0.55 0.73 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.23 0.38 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.43 - 0.70 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.45 - 0.86 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 และ4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.51 - 0.81 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าที (t test) แบบ Dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.51/85.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.68 ,S.D. = 0.30 )