ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยใช้ รูปแบบ PLC
1. ความเป็นมาและความสำคัญของวิธีการแก้ปัญหา
โรงเรียนทับเที่ยงฮั่วเฉียว ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูป การศึกษา และพัฒนาให้ผู้เรียนได้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ครูผู้สอนจึงต้องมีการเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งต้องเป็น ผู้มีความรู้จริง รู้มาก รู้ลึก โดยมีการวางแผนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ และต้องแสวงหา เทคนิควิธีการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และนำไปสู ่การพัฒนาตาม เป้าหมายที่วางไว้ โดยผู้สอนได้นำเทคนิคการสอนแบบ Active Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่เปิด โอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ได้สูงสุด ผู้เรียนมีการทำงานเป็นทีม ทำให้มีการสร้างวินัย การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีการช่วยเหลือกันภายในทีม โดยการเรียนการสอนแบบ Active Learning จะส่งผลให้ผู้เรียนเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการปฏิบัติจริง และสามารถสร้างองค์ ความรู้ได้เองจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
ทางโรงเรียนทับเที่ยงฮั่วเฉียว ได้เห็นถึง ความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน จึงได้ร่วมกันวางแผนและวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนด โดย มุ่งเน้นและพัฒนาความสามารถหรือสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยผ่านกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) เพื่อ ขับเคลื่อนและพัฒนาการจัดการเรียนรู ้ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู ้ทางวิชาชีพร่วมกัน โดยการใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ การคิดของผู้เรียนให้มี คุณภาพสูงสุด นำไปสูการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นต่อไป
จุดประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมและสร้างความตระหนักให้ครูมีจิตวิญญาณความเป็นครู ตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
2. เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพครู ด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน
3.เพื่อพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเตรียมการ
1. ประชุม ชี้แจง รูปแบบ แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
2. กำหนดวันเวลากิจกรรม
การดำเนินการ
1. กำหนดวันทบทวน จรรยาบรรณวิชาชีพในการปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ ตามโครงการของคุรุสภา
2.กำหนดปฏิทินการประชุม PLC 2 สัปดาห์ละครั้ง ในคาบประชุมแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยระบุ
ในตารางประชุมให้ชัดเจน
3.วิชาการกำหนดการประชุมกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เดือนละ ๑ ครั้ง ตามรูปแบบ
การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานโดยการสร้างทีม E - PLC
4.คณะกรรมการนิเทศ ผู้บริหาร เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตรวจสอบ บันทึก
ข้อมูล รายละเอียดปัญหา อุปสรรค ข้อคิดเห็น และแนวทางการแก้ปัญหา บันทึกผลการพัฒนาตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
ขั้นสรุป
1.ตรวจสอบประเมินผล สรุปและรายงานผล เผยแพร่ผลงาน บันทึกผลการพัฒนาตามจรรยาบรรณวิชาชีพเผยแพร่ผลการดำเนินกิจกรรมต่อสาธารณะชนและผู้เกี่ยวข้อง
ประโยชน์/ผลที่ได้รับ ต่อผู้เรียน ต่อครูและบุคลากร ต่อโรงเรียนและชุมชน
1) ครูมีกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุป ได้ด้วยตนเอง
2) นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาศักยภาพ
3) ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ กิจกรรมการเรียนรู้
ผลผลิต (Output) ต่อนักเรียน/ครูผู้สอน/และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนครู ผู้ปกครอง ชุมชน ฯลฯ)
1. ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านความสามารถทางความคิด และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น จากผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
2. โรงเรียนมีชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่เกิดจากการใช้กระบวนการ PLC (Professional Learning Community)
ผลลัพธ์ (Outcome)
ต่อนักเรียน/ครูผู้สอน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อนครู ผู้ปกครอง ชุมชน ฯลฯ)
1. ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านความสามารถทางความคิด และผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
2. ครูนำนวัตกรรม เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาพัฒนาผู้เรียนโดยกระบวนการจัดการเรียนรู ้ แบบ Active Learning
3. ครูมีความสามารถในการนำกระบวนการ PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู ้ทางวิชาชีพ มาใช้เพื่อ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ
4. สถานศึกษาสามารถพัฒนาระดับการเรียนการสอน คุณภาพของครู และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน