การพัฒนาทักษะการฟังจับใจความในรายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
โดย
นางสาวจุฑารัตน์ อยู่สุข
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ปีการศึกษา ๒๕๖๓
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒
กระทรวงศึกษาธิการ
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นทั้งมวลประสบการณ์และเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ถ้าขาดสื่อสำคัญนี้แล้ว เราคงไม่สามารถรวมกันเป็นสังคมได้ ภาษาจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญที่ทำให้คนเข้าใจกัน ภาษา คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มนุษย์อาศัยทักษะทั้ง ๔ ประการ สร้างเสริมสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิดพัฒนาอาชีพและพัฒนาบุคลิกภาพ รวมทั้งอื่นๆอีกมากให้กับตนเองและสังคมด้วยเหตุผลดังกล่าวภาษาจึงมีบทบาทและความสำคัญสำหรับบุคคลทุกคน
ภาษาอังกฤษนั้นถือได้ว่าเป็นภาษาสากลที่สามารถใช้สื่อสารเป็นภาษากลางได้ในระดับนานาชาติตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันทั้งในชีวิตประจำวัน การศึกษา และบริบทของการทำงาน ในปัจจุบันการสื่อสารกับคนที่อยู่ต่างสถานที่กันทำได้ขึ้นและรวดเร็ว การสื่อสารที่ดีนั้นจะต้องสื่อความได้รู้เรื่อง เข้าใจ และทันท่วงที หากสื่อสารได้ล่าช้าจะทำให้การสื่อสารติดขัด ดังนั้น การสื่อสารที่ประสิทธิภาพจะต้องมีความถูกต้องในการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ รวมไปถึงการสื่อสารที่คล่องแคล่วและลื่นไหล หรืออย่างน้อยมีกลยุทธ์ที่จะทำให้การสื่อสารของเราดำเนินไปได้โดยไม่หยุดชะงัก ดังนั้น การเรียนภาษาจึงต้องเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนในด้านความถูกต้องและเพิ่มความคล่องแคล่วรวมทั้งความมั่นในในการใช้ภาษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างโอกาสในการใช้ภาษาในการสื่อสารให้กับผู้เรียน รู้จักเลือกเครื่องมือสืบค้น นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ ตลอดจนนำไปใช้สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศต่อไป
จากความสำคัญเบื้องต้น เมื่อนำมาคำนึงในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนใช้ภาษาในการสื่อสารในสถานการณ์ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยและมีความรู้ ทักษะที่จะนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้อย่างทันท่วงที เหมาะสมกับกาลเทศะและวัฒนธรรมต่างๆที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียน และการประกอบอาชีพในอนาคตได้
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายของการสอนภาษาอังกฤษ คือการสร้างสมรรถนะในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ผลลัพธ์ในการจัดการศึกษากลับพบว่านักเรียนสื่อสารผลประเมินคะแนนภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในลำดับที่ 89 จาก 100 ประเทศ (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563) ซึ่งที่ประชุมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีข้อสรุปว่าจะต้องเดินหน้ายกระดับภาษาอังกฤษของเด็กไทยอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ณัชปภา (2561) กล่าวว่า ปัญหาด้านทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของเด็กไทยนั้นเกิดจากการสอนภาษาอังกฤษแบบเน้นการท่องจำกฎไวยากรณ์และคำศัพท์มากจนเกินไป โดยขาดการฝึกให้ผู้เรียนได้นำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร ตั้งแต่แรกเริ่มไปจนถึงในระดับอุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของอาทิตย์ อินต๊ะแก้ว ซึ่งพบว่า นักศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นเน้นการเรียนภาษาอังกฤษผ่านการวิเคราะห์ไวยากรณ์มากกว่าการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึง นักศึกษาไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการพูดได้ หรือพูดได้แต่ไม่คล่องแคล่ว ทำให้เกิดความชะงักในการสื่อสาร นักศึกษาขาดความมั่นใจ และมีคลังคำศัพท์ที่ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเรียนรู้การวิเคราะห์ไวยากรณ์และการท่องจำคำศัพท์ นักศึกษากลับไม่สามารถเรียบเรียงคำและประโยคได้ และใช้เวลาค่อนข้างนานในการสื่อสาร อันเนื่องมาจากการขาดการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งในและนอกชั้นเรียน ณัชปภา (2561) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ค่านิยมของคนไทยมักจะเน้นการศึกษาเพื่อทำให้ตนเองมีสถานะภาพทางการศึกษาเท่าเที่ยมกับผู้อื่น โดยขาดความคำถึงการพัฒนาคุณภาพและความสามารถที่ตนจะได้รับการศึกษาอย่างแท้จริง โดยในระดับโรงเรียนมักจะมุ่งเน้นไปที่การทำข้อสอบให้ผ่านมากกว่าการเรียนภาษาเพื่อให้สามารถนำไปสื่อสารในชีวิตจริงได้ ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานระดับ CEFR ของนักเรียนที่อยู่ในลำดับที่89จาก100ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระดับที่ต่ำ (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563)
ดังนั้น การศึกษาและพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นให้ผู้เรียนสื่อสารได้ ในการทำการวิจัยในครั้งนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ในการสอนทักษะการฟัง เป็นการสอนทักษะการฟังที่ให้ความสำคัญของข้อมูล กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถจับใจความสำคัญจากการฟัง โดยเริ่มต้นจากการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งอาจจะจับใจความได้ไม่ครบถ้วน แต่สามารถระบุใจความหลักได้ ไปจนถึงการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น และเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยการสอนภาษาชนิดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะทางภาษามาใช้เพื่อการสื่อสารได้ ผ่านกิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้ได้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ปรึกษาหารือกันและช่วยเหลือกันในการทำงาน ตามหลักการถ่ายโอนข้อมูล หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล หลักการประสานต่อ และหลักการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ เพื่อให้กิจกรรมที่ใช้ในการสอนทักษะการฟังและจับใจความสำคัญเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง หรือการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย ส่วนมากเป็นกิจกรรมกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการปฏิสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. หลักการถ่ายโอนข้อมูล เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้รับจากการฟังมาถ่ายทอดต่อผู้อื่นเท่าที่จำได้ โดยไม่จำเป็นต้องจำได้ครบ 2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนเติมข้อมูลสำคัญจากการฟัง และมีการทำงานเป็นกลุ่ม 3. หลักการประสานต่อ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้รับจากการฟัง มาถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมกลุ่ม และนำสารจากเพื่อนร่วมกลุ่มมาเติมเต็มใจความสำคัญจากการฟังให้สมบูรณ์ และ 4. หลักการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นกิจกรรมที่นักเรียนนำข้อมูลจากการฟังและจับใจความจากสมาชิกแต่ละคน มาสร้างชิ้นงาน
จากแนวคิดและความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นทักษะการฟังและจับใจความตามทฤษฎีของคีธ จอห์นสัน คณะผู้จัดทำมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ผ่านการสอนทักษะการฟังและจับใจความ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการฟัง และจับใจความ สามารถนำข้อมูลจากการฟังไปใช้ในการสื่อสารเป็นภาษานานาชาติให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโดยจำแนกตามเพศและประสบการณ์ในการเรียน
สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนที่มีเพศและประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
แตกต่างกัน
ขอบเขตการวิจัย
ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ไว้ดังนี้
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จากการนำทฤษฎี คีธ จอหน์สัน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้น ดังนี้
1.1 หลักการการถ่ายโอนข้อมูล
1.2 หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล
1.3 หลักการการประสานต่อ
1.4 หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
1.5 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จำนวน 431 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นจำนวน 117 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย
3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ สถานภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
3.1.1 เพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง
3.1.2 ประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ
3.1.2.1 น้อยกว่า 3 ปี
3.1.2.2 3-5 ปี
3.1.2.3 มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ประกอบไปด้วย 5 ขั้น
3.2.1 หลักการการถ่ายโอนข้อมูล
3.2.2 หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล
3.2.3 หลักการการประสานต่อ
3.2.4 หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
3.2.5 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
4. ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลา ปีการศึกษา 2563 ตั้งแต่ เดือนตุลาคม กุมภาพันธ์ 2564
นิยามศัพท์เฉพาะ
การศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ผู้วิจัยได้กำหนดคำนิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
1. การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ในการสอนทักษะการฟัง
2. ทักษะการฟัง หมายถึง การฟังสารและสามารถระบุใจความสำคัญจากสารได้
3. นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน ผู้รับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
4. เพศ หมายถึง ลักษณะที่บอกให้ใครๆ รู้ว่า บุคคลนั้นๆ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย
ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทักษะในการในการฟัง และจับใจความสำคัญ
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทัศนคติที่ดีต่อการทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษมากขึ้น
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
1. เอกสารเกี่ยวข้องกับความสามารถในการใช้ทักษะการฟัง
2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการสอนฟัง
3. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตามแนวคิดของคีธ จอหน์สัน
4. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตัวยู
5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. เอกสารเกี่ยวข้องกับเทคนิคความสามารถในการใช้ทักษะการฟัง
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
- การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นใด้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่(ด้ยิน โคยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Castal Listening) และการฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน "สาร" ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา
- ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฏิบัติ
สิ่งสำคัญที่ครูผู้สอนควรพิจารณาการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภายาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ"
สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง (Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง (While-listening)
กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) : การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำกามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฏอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้
-ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
-ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น
-ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
-ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
-ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
-ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
-ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้
3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
สรุป
การสอนทักษะการฟัง
การสื่อสารในชีวิตประจำวันนั้นการฟังนับว่าเป็นทักษะรับสารที่สำคัญทักษะหนึ่ง เป็นทักษะที่ใช้กันมากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้พูดจะต้องฟังให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสามารถพูดโต้ตอบ อ่านหรือเขียนได้ ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่นๆ ดังนั้นในการเรียนการสอนนักเรียนจึงควรได้รับการฝึกฝนทักษะการฟังอย่างเพียงพอและจริงจัง
ทักษะการฟัง หมายถึงความสามารถในการจับประเด็นใจความหลักจากสิ่งที่ฟังได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนซึ่งเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เพราะผู้เรียนต้องเข้าใจสาระสำคัญจากสิ่งที่พูดอารมณ์และความคิดเห็นของผู้พูดและสามารถตอบสนองระบุความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดหรือบริบทของการพูดได้
คุณค่าของการฟังคือเป็นเรื่องสำคัญมากที่เด็กๆจะต้องฟังภาษาอังกฤษที่เหมาะกับระดับของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภาษาควรจะง่ายสำหรับเด็กและอยู่ในระดับปัจจุบันหรือเหนือระดับที่เข้าใจได้แล้วเล็กน้อย ถ้าระดับยากเกินไปเด็กอาจสูญเสียความมั่นใจและทัศนคติด้านบวกไปก็ได้
2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการสอนฟัง
1. ความสำคัญของการฟังและการสอนฟัง
มอร์เลย์ (Morley, 2001) กล่าวถึงการยกระดับความสำคัญของทักษะการฟังความเข้าใจโดยอ้างถึงการสัมมนาซึ่ง AILA (International Association Linguistic) จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 ที่เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ในการสัมมนา AILA ได้เสนอให้ทักษะการฟังเป็นทักษะพื้นฐานเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ทำให้ทักษะการฟังมีความสำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการยืนยันของบราวน์ (Brown) ใน ค.ศ. 1987 พบว่า ในด้านการฟังเพื่อความเข้าใจ (listening comprehension) นั้น โรงเรียนในหลาย ๆ ประเทศยังไม่ให้ความสำคัญและฝึกฝนอย่างจริงจัง มอร์เลย์แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เราจะไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูดได้เลยถ้ายังฟังไม่รู้เรื่อง เนื่องจากไม่รู้ว่าคู่สนทนาพูดอะไรจึงไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร ที่ผ่านมาดูเหมือนทักษะฟังไม่สำคัญต่อการสื่อสารเพราะถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพูด จึงเรียกว่าทักษะฟัง-พูด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการฟังนั้นซับซ้อนยากที่จะเข้าใจ ถ้าเป็นเจ้าของภาษาคงไม่มีปัญหาเพราะในการสนทนาสามารถเข้าใจฟังคู่สนทนาได้อย่างรวดเร็วและโต้ตอบได้ทันที แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ฟังไม่ใช่เจ้าของภาษาย่อมมีปัญหา และในชีวิตจริงมนุษย์ฟังมากกว่าพูด อ่าน และเขียนเสียอีก แม้ว่าพฤติกรรมการฟังดูเหมือนว่าไม่ซับซ้อนอะไร ทั้งนี้เนื่องจากทักษะการฟังเป็นทักษะการรับสาร (receptive skill) ต่างจากทักษะการพูดเป็นทักษะการแสดงออกหรือผลิตภาษา (productive skill) ด้วยความสำคัญและจำเป็นดังกล่าวในศาสตร์ด้านการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศจึงบรรจุการสอนฟังรวมเป็น 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน
ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงเสมอว่า ก่อนสอนพูดหรืออ่านต้องสอนฟังก่อน ทักษะการฟังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่อไปสู่ทักษะอื่น ๆ โดยเฉพาะผู้เริ่มเรียน สิ่งจำเป็นคือต้องทำความเข้าใจโครงสร้างของภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศทักษะการฟังมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้องมากขึ้น เพราะขณะฟังก็จะพยายามทำความเข้าใจและเรียนรู้ไวยากรณ์ไปด้วย ทำให้ยิ่งฟังบ่อยก็ยิ่งทำให้รู้ไวยากรณ์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพูดอ่านและเขียนได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าทักษะการฟังเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้ทักษะอื่น ๆ พัฒนาขึ้นได้ นอกจากนั้น ในการเรียนภาษาอังกฤษวิชาการ ทักษะการฟังก็ยิ่งมีความสำคัญต่อผู้เรียนเพราะต้องฟังการบรรยายจากผู้สอนให้เข้าใจ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนั้น ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการฟังให้แก่ผู้เรียนทุกระดับ
ทฤษฎีการสอนภาษาที่สอง บางทฤษฎีเน้นการฟังมาก่อนทักษะอื่น ๆ เช่น วิธีสอนแบบฟัง-พูด (audio-lingual method) เริ่มที่ฟังก่อนแล้วจึงพูด วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (total physical response - TPR) กิจกรรมขั้นแรกผู้เรียนต้องฟังก่อนยังไม่พูดฟังแล้วให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยท่าทางเพราะผู้เรียนยังไม่พร้อมที่จะพูด และวิธีการสอนตามแนวธรรมชาติ (natural approach) ก็ให้ความสำคัญของช่วงแรกในการเรียนภาษาที่สองเช่นกัน เรียกว่าช่วงเงียบ (silent period) เป็นช่วงของการฟังก่อนเมื่อพร้อมแล้วจึงเริ่มตอบสนองด้วยการตอบสั้น 1 1 คำ หรือวสีสั้น ๆ นักการศึกษาด้านการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศหลายคนเชื่อว่า ถ้าให้ผู้เรียนพูดทั้ง ๆ ที่ยังไม่พร้อมจะทำให้พูดไม่ถูก เกิดความวิตกกังวลและมีแนวโน้มที่จะพูดภาษาที่หนึ่งมากกว่าภาษาที่สองหรือพูดภาษาที่หนึ่งผสมภาษาที่สอง
2. ภาษาศาสตร์จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการฟัง
2.1 มิติของการฟัง
มอร์เลย์กล่าวว่า การฟังเพื่อการสื่อสารเป็นกระบวนการ ’active’ ไม่ใช่ passive’ ในการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ ผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงออกถึงความสามารถในการฟังเพื่อการสื่อสารอย่างชัดเจนไม่ใช่เป็นเพียงทักษะที่ควบกับทักษะอื่น มอร์เลย์ยังกล่าวถึงมิติของการฟังด้านจิตวิทยา ประกอบไปด้วย 3 มิติดังนี้
2.1.1 การฟังที่เป็นการสื่อสารสองทาง (bidirectional listening mode) หมายถึงการฟังที่มีผู้พูดผู้ฟัง เช่น การฟังการสนทนาแบบเผชิญหน้า (face-to-face) และการฟังการสนทนาทางโทรศัพท์
2.1.2 การฟังที่เป็นการสื่อสารทางเดียว (unidirectional listening mode) หมายถึงการฟังข้อมูลทางเดียว เช่น การฟังสื่อต่าง ๆ ได้แก่ การฟังวิทยุ โทรทัศน์ ประกาศ ข่าว ละคร ภาพยนตร์ และดนตรี รวมถึงการฟังเครื่องรับโทรศัพท์อัตโนมัติ (answering machine) การฟังลักษณะนี้ ผู้ฟังจะโต้ตอบสิ่งที่ฟังในใจ เป็นการพูดกับตัวเอง หรือเป็นการวิเคราะห์สิ่งที่ได้ยิน
2.1.3 การฟังที่เป็นการสื่อสารกับตนเอง (auto-directional listening mode) การฟังลักษณะนี้คล้ายกับการฟังที่เป็นการสื่อสารทางเดียว คือฟังแล้ววิเคราะห์ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ฟังใหม่อีกครั้งเพื่อหาข้อมูล วางแผนใช้กลวิธีในการตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าพิจารณาลักษณะของการฟังทั้ง 3 มิติ การฟังไมใช่ลักษณะที่แสดงออกไม่ได้(passive) จะเห็นได้จากลักษณะของการฟังเป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูล การวิเคราะห์และตีความข้อมูล และการที่ผู้ฟังจะสามารถฟังเพื่อความเข้าใจหรือฟังเพื่อการสื่อสารได้นั้นผู้ฟังยังต้องใช้กลวิธีในการฟัง (listening strategy) อีกด้วย ซึ่งกลวิธีต่าง ๆ ก็ต้องได้รับการฝึกฝนจึงจะใช้ได้ ส่วนการประยุกต์ใช้มิติทางด้านจิตวิทยาการฟังทั้ง 3 มิตินั้น ผู้สอนต้องนำมาประยุกต์ใช้กับการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศทั้ง 3 มิติโดยเฉพาะลักษณะที่สามจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการฟังตามสไตล์ของตนเอง
2.2 หน้าที่ของการฟังทางด้านจิตวิทยา แบ่งเป็น 2 อย่าง ดังนี้
2.2.1 การฟังที่ไม่มีการปฏิสัมพันธ์ (transactional listening) หมายถึงการฟังข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฟังขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ ฟังการอธิบาย บรรยาย คำสั่งและอื่นๆ เนื่องจากเป็นการฟังที่ไม่มีการโต้ตอบผู้พูดจึงมักใช้การตรวจว่าผู้ฟังเข้าใจหรือฟังได้ชัดเจนหรือไม่ด้วยคำถามหรือการสังเกตการปฏิบัติตามที่ฟัง
2.2.2 การฟังที่มีการปฏิสัมพันธ์ (interactional listening) หมายถึง การฟังที่มีการโต้ตอบ เช่น การสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การฟังทั้ง 2 อย่าง โดยเฉพาะการฟังที่มีการปฏิสัมพันธ์ ครูต้องแนะนำมารยาทผู้พูด ผู้ฟัง และการพูดโต้ตอบที่เหมาะสมตามสถานการณ์และกาลเทศะ
2.3 กระบวนการทางด้านจิตวิทยาของการฟัง
2.3.1 กระบวนการจากล่างขึ้นบน (bottom up) เป็นการฟังที่ผู้ฟังให้ความสนใจกับทุกรายละเอียดของสิ่งที่ฟัง ได้แก่ ความหมายศัพท์ โครงสร้างและข้อความต่าง ๆ เช่น การฟังการเล่าเรื่องตลกอย่างตั้งใจเพื่อที่จะรู้ว่าจะหัวเราะตอนใด ฟังข้อมูลการขับรถอย่างตั้งใจจากครูในการเรียนขับรถครั้งแรก
2.3.2 กระบวนการจากบนลงล่าง (top down) เป็นการฟังเพื่อความเข้าใจโดยการอาศัยความรู้เดิมเพื่อการอนุมานสิ่งที่กำลังฟังว่าเกี่ยวกับอะไร เช่น ฟังคนคุยกันในงานค็อกเทลปาร์ตี้ ฟังขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยที่ประกาศบนเครื่องบินที่ได้ฟังบ่อยครั้งแล้วจึงไม่จำเป็นต้องตั้งใจฟังทุกคำ
ปีเตอร์สัน (Peterson, 2001) แนะนำแบบฝึกหัดเพื่อพัฒนากระบวนการ
ฟังจากล่างขึ้นบนและกระบวนการฟังจากบนลงล่าง สำหรับผู้เริ่มเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ ดังนี้
1. กระบวนการฟังจากล่างขึ้นบน
แบบฝึกหัดที่ 1 แยกเสียงเน้นหนักในประโยค
- ครูแจกประโยคที่ยังไม่มีเครื่องหมายอะไรเลย ให้ผู้เรียนฟังประโยคแล้วใส่เครื่องหมายมทัพภาค () ปรัศนี (?) หรืออัศเจรีย์ (I!)
แบบฝึกหัดที่ 2 ฟังแล้วแยกหน่วยเสียง
- ฟังคำแต่ละคู่ที่มีเสียงใกล้เคียงกัน แล้วให้ผู้เรียนวงกลมคำที่ได้ยิน
แบบฝึกหัดที่ 3 ฟังแล้วบอกเสียงท้ายคำ
- ฟังคำกริยาที่ลงท้ายด้วย s หรือ es แล้วเขียนสัญลักษณ์การออกเสียง /2/, /s/ หรือ /ez
- ฟังประโยคแล้วตัดสินใจว่า คำกริยาที่ได้ยินเป็นคำกริยาช่องที่ 1 หรือคำกริยาที่เติม ed (ช่องที่ 2 โดยให้เขียนสัญลักษณ์การออกเสียงคือ /t/, /d/ หรือ /ed/
แบบฝึกหัดที่ 4 ฟังแล้วนับจำนวนคำและพยางค์ที่ออกเสียงเน้นหนัก
- ฟังรายการโฆษณาสั้น ๆ จากวิทยุ แล้วนับจำนวนพยางค์ด้วยการขีดเส้นใต้แต่ละพยางค์ หลังจากนั้นฝึกอ่านโฆษณาตามที่ได้ยินในวิทยุ
แบบฝึกหัดที่ 5 ฟังแล้วบอกคำโยงความในประโยค (sentence fller)
- ฟังประโยคแล้วบอกคำโยงความในประโยค เช่น well, I mean, like หรือ you know
แบบฝึกหัดที่ 6 ฟังแล้วเก็บรายละเอียดจากเนื้อหาที่ฟัง
-. ฟังเกี่ยวกับโปรแกรมรายการภาพยนตร์ ละครหรือรายการแสดงต่าง ๆ แล้วบันทึกข้อมูลที่สำคัญ เช่น วัน เวลา สถานที่ของรายการต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกอากาศวันไหน เวลาใด ออกอากาศทางโทรทัศน์ช่องใด
- ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยแล้วบันทึก
2. กระบวนการฟังจากบนลงล่าง
แบบฝึกหัดที่ 1 ฟังแล้วบอกอารมณ์ของผู้พูด
- ฟังข้อความเกี่ยวกับการไปพักผ่อนไปวันหยุดแล้วบอกได้ว่าอารมณ์ของผู้พูดสนุกหรือไม่
แบบฝึกหัดที่ 2 ฟังแล้วสรุปใจความสำคัญ
- ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับฤดูต่าง ๆ แล้วบอกได้ว่าฤดูใด หรือฟังบทสนทนาแล้วเลือกภาพที่สอดคล้องกับบทสนทนา
- ฟังบทสนทนาแล้วบอกได้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ใด
- ฟังข้อความ 2-3 ข้อความแล้วตั้งชื่อข้อความเหล่านั้น หรือสรุปใจความสำคัญ
แบบฝึกหัดที่ 3 ฟังแล้วบอกได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
- ฟังบทสนทนาสั้น ๆ ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันแล้วบอกว่าบทสนทนานั้นพูดเกี่ยวกับอะไร
- ฟังขั้นตอนหรือกระบวนการในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นขั้นตอนการปรุงอาหาร แล้วจับคู่ภาพให้ตรงกับประโยค
แบบฝึกหัดที่ 4 เชื่อมโยงคำศัพท์ที่คุ้นเคยกับเรื่องที่ฟัง
- ฟังเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้าแล้วทบทวนคำศัพท์เกี่ยวกับสินค้าที่ขายในร้านค้าต่าง ๆ
- ฟังข้อความแล้วบอกได้ว่าผู้พูดต้องการซื้อสินค้าใดหรือเลือกภาพตรงกับที่ผู้พูดต้องการซื้อแบบฝึกหัดที่ 5 ฟังแล้วเปรียบเทียบข้อมูล
- อ่านประโยคแล้วฟังเสียงประโยคที่ใกล้เคียงกับประโยคที่อ่าน แล้วบอกได้ว่าประโยคทั้งสองเหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนบ้าง
แบบฝึกหัดที่ 6 ฟังแล้วเปรียบเทียบข้อมูลกับประสบการณ์ส่วนตัว
- ฟังข้อความเกี่ยวกับการรีไซเคิลในสหรัฐอเมริกาแล้วเปรียบเทียบกับการรีไซเคิลในประเทศตนเอง
1. แนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
อุไรวรรณ ศรีธิวงค์ (2559) การสอนภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสารหมายถึงการสอนภาษาอังกฤษที่ผู้สอนกำหนดสถานการณ์การเรียนรู้ภาษาจากสถานการณ์ที่สมจริง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในการสื่อสารจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับสื่อ ผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้คนนอกห้องเรียน โดยให้ความสำคัญกับหน้าที่ของภาษา บริบททางภาษาศาสตร์ และบริบททางสังคมหรือสถานการณ์ ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นกิจกรรมการสื่อสารที่สมจริง
2. ความสามารถในการสื่อสาร (Communicative competence)
อุไรวรรณ ศรีธิวงค์ (2559) การสอนภาษาตามแนวทางการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นการสอนที่เน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์การใช้ภาษา อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาและความถูกต้องไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นการเรียนการสอนแนวดังกล่าวนี้จึงต้องเน้นการทำกิจกรรมเพื่อการฝึกฝนการใช้ภาษาให้ใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด เช่นมีการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบกันเป็นคู่ กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ มีการสวมบทบาท การเล่นเกมส์ เป็นต้น และการที่ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะความสามารถทั้ง 4 ด้าน คือด้านความสามารถในด้านกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ ด้านความสามารถทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม ด้านความสามารถทางความสัมพันธ์ของข้อความ และด้านความสามารถในการใช้กลวิธีในการสื่อความหมาย
3. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตามแนวคิดของคีธ จอหน์สัน
3. การสอนการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษ
3.1 เอกสารที่เกี่ยวกับการฟัง
ความหมายของการฟัง การฟังเป็นทักษะที่สำคัญทักษะหนึ่งในการเรียนรู้กาษาและมักเป็นทักษะ
แรก การฟังเป็นทักษะการรับสาร ซึ่งมีผู้ที่ให้ความหมายไว้มากมาย เพื่ออธิบายว่า การฟังว่าเป็นการรับรู้ ข้อมูลโดยกระบวนการรับข่าวสารที่ได้ยิน ทำความเข้าใจ แล้วพร้อมที่จะแสดงปฏิกิริยาโด้ตอบ จากการให้ความหมายคังต่อไปนี้อาจทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการฟังมากขึ้น
เมอร์พี (2533 : 1) ได้กล่าวถึงการฟังว่า หมายถึง กระบวนการที่เคลื่อนไหวไม่รู้จักหยุดโดยเริ่มจากการที่คนหนึ่งได้ยิน หรือสังเกตในสิ่งที่อีกคนหนึ่งกล่าว จากนั้นก็มีการเก็บและลำดับข้อมูล แล้วเริ่มต้นใหม่ เมื่ออีกคนโด้ตอบออกมา
ชูเกียรติ จารัตน์ (2535 : 11) การฟัง หมายถึงกระบวนการรับข่าวสาร (message) ที่มากระทบโสตสัมผัสแล้วสร้างความสำคัญ หรือความหมายของข่าวสารที่ได้ยิน ผู้ฟังจะต้องมีความสามารถเข้าใจคำพูดที่ผู้พูดออกมา ซึ่งต้องพิจารณาถึงจุดประสงค์ของผู้พูด ความสัมพันธ์ของประโยคที่ได้ยินกับข่าวสารของผู้พูดตลอดจนพิจารณาถึงวัฒนธรรมผู้พูดด้วย
วาทินี ศรีแปะบัว (2538 : 22) ให้ความหมายการฟังว่า หมายถึง การให้ข้อมูลที่มีความหมาย ซึ่งอาจใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจดียิ่งขึ้น และเพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด ผู้ฟังจะต้องเข้าใจความหมายของข้อมูลให้ชัคเจน และทำให้เกิดการสร้างสรรค์ และจะประสบผลสำเร็จมากขึ้นถ้าผู้ฟังคุ้นเคยกับภาษาและวัฒนธรรมที่รับรู้มาก่อน
สมลักษณะ สว่างโรงน์ (2541 : 17) ได้ให้ความหมายของการฟังว่า หมายถึง กระบวนการของ
การเคลื่อนไหว โดยเริ่มจากเมื่อเราได้ยิน หรือสังเกตสิ่งที่พูดออกมา แล้วนำข้อมูลมาเก็บและเทียบเคียงกับ
ข้อมูลที่มีอยู่ก่อนจะเริ่มแสดงปฏิกิริยากลับไป
จากความหมายจึงกล่าวสรุปว่าการฟัง คือ กระบวนการรับข่าวสาร ข้อมูล ที่กระทบโสตสัมผัสแล้วสร้างความสำคัญให้มีความหมาย อาจใช้อุปกรณ์ประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ยินและรับรู้มากขึ้นคามจุดประสงค์ของการรับชัอบูล และเก็บลำคับข้อบูลพื่อพิจารณาแสคงปฏิกิริยากลับไป
กระบวนการในการฟัง
การรับรู้ด้วยการฟังเป็นการฟังเป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน การฟังที่มีประสิทธิภพนั้นจะต้องมาจากกระบวนการฟังที่สมบูรณ์ ดังจะได้เห็นจากกระบวนการดังต่อไปนี้
อวยพร พานิช และคณะ (2532 : 32) ได้กล่าวถึงกระบวนการในการฟังว่า การฟังเป็น
กระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน 5 ระดับ ได้แก่
1. การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (hearing)
เสียงพูดหรือเสียงใด ๆ จะผ่านหูไปกระทบประสาท ในขั้นนี้ยังไม่เรียกว่า การฟัง(listening) เพราะการฟังนั้นกินความไปถึงการรับรู้และเกิดความเข้าใจต่อไปด้วย
2. การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (concentration)เมื่อเสียงกระทบโสตประสาท และเราพุ่งความสนใจที่จะฟัง เราก็สามารถรับรู้เรื่องราวหรือสาระที่เกิดจากเสียงนั้นได้
3. การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (comprehension)
4. การตีความสิ่งที่ได้ยินตามความคิด ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ฟัง (interpretation)
5. การตอบสนองต่อสารที่ได้ยิน (reaction)
อาจเขียนเป็นแผนภูมิได้ดังนี้
ภาพที่ 1 แสดงกระบวนการฟัง
จากกระบวนการฟังที่กล่าวถึงสรุปได้ว่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องกัน เริ่มจากการได้ยินเสียง รับรู้ตระที่เกิดจากเสียง เข้าใจด้วยการตีดวามตามความคิด ความรู้ ประสบการณ์แล้วมีการตอบสนองต่อสารที่ ได้ยิน
วัตถุประสงค์ในการฟัง
การฟังที่ไม่มีจุดมุ่งหมายเป็นการฟังที่ปราศจากความหมาย เนื่องจากข้อความหรือสารทีได้รับนั้นจะเลือนหายไป ไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับ หรืออาจเรียกได้แต่ว่าเป็นการไว้ยิน ดังนั้นการฟังนั้นจะมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน พอที่จะแยกเป็นประเกทได้
อวยพร พานิช และคณะ (2548 : 33-34) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการฟังว่า จะมีความ
แตกต่างนั้นจะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของสารที่จะฟัง อังนั้นวัตถุประสงค์อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเกท
1. การฟังอย่างจำแนก (discriminative listening)
ได้แก่ การฟังอย่างแยกแยะให้เห็นความแตกต่าง เห็นลำดับประเภทของสารที่ฟัง ใช้สำหรับสารที่ให้ความรู้หรือข้อมูลแก่สู้ฟัง มีวิธีการฟังดังนี้ คือ
1.1 พุ่งจุดสนใจไปที่สาระสำคัญของสาร พยายามจัดประเด็นสำคัญนั้น ๆ ให้ได้
1.2 ทุ่งจุคสนใจที่การจัดระเบียบการพูด เพื่อจะดูความสุมพันธ์ของหัวข้อต่าง ๆ
1.3 ตอบสนองผู้พูด เพื่อให้เขารับทราบความเข้าใจของผู้ฟัง
1.4 ตั้งคำถามเพื่อความกระจ่าง
2. การฟังอย่างประเมินค่า (evaluate listening)ได้แก่ การฟังที่ใช้ปัญญา ความคิดพินิจพิจารณาไตร่ตรอง เพื่อวิพากบัวิจารณ์สิ่งที่ได้ฟังว่ามีคุณค่าอย่างไร ดีไม่คือย่างไร น่าเชื่อถือหรือมาเพียงไร การฟังประเภทนี้มักใช้กับสารที่มุ่งโน้มน้าวชักจูงใจเป็นสำคัญ วิธีการฟังอย่างประเมินค่า ผู้ฟังควรเพิ่มพูนดวามรู้ในหัวข้อที่จะฟังถ่วงหน้า ในขณะฟังควรเรียนรู้และจำยุทธวิธีที่ผู้โน้มน้าวใจใช้ เช่น การให้เหตุผล การใช้บุคลิกส่วนตัวเป็นต้น และสามารถอธิบายกลวิธีการใช้ความจริงบางส่วน และการโฆษณาชวนเชื่อ รวมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงค้านความเชื่อและทัศนคติที่เกิดขึ้นภายหลังการฟังด้วย
3. การฟังอย่างนิยมชมชื่น (appreciative listening)ได้แก่ การฟังเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินและดวามจรรโลงใจ มักใช้กับสารที่ให้ความบันเทิงทั่ว ๆ ไป วิธีการฟังประเกทนี้ ผู้ฟังต้องใส่ใจกับสารนั้นให้มาก และปรับทัศนคติค้าน
การรับรู้ ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เหมาะสม คือ ทำร่างกายและจิตใจให้คล้อยตามสารไปด้วย
4. การฟังอย่างเข้าใจและเห็นใจผู้พูด (empathic listening)
ได้แก่ การฟังผู้หนึ่งผู้ใดระบายดวามรู้สึก อารมณ์ ความคิดของเขา อย่างเข้าใจ เห็นใจและพร้อมจะช่วยเหลือ เช่น นักฟังประเกททนายความ จิตแพทย์ วิธีการฟังประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงเป็นต้น และสามารถอธิบายกลวิธีการใช้ความจริงบางส่วน และการโฆษณาชวนเชื่อ รวมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อและทัศนคติที่เกิดขึ้นภายหลังการฟังด้วย
3. การฟังอย่างนิยมชมชื่น (appreciative listening)
ได้แก่ การฟังเพื่อให้เกิดความเพลิคเพลินและความจรรโลงใจ มักใช้กับสารที่ให้ความบันเทิงทั่ว ๆ ไป วิธีการฟังประเภทนี้ ผู้ฟังต้องใส่ใจกับสารนั้นให้มาก และปรับทัศนคติ ด้านการรับรู้ ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้หมาะสมกับสาร คือ ทำร่างกายและจิดใจให้คล้อยตามสารไปด้วย
4. การฟังอย่างเข้าใจและเห็นใจผู้พูด (empathic listening)ได้แก่ การฟังผู้หนึ่งผู้ใดระบายความรู้สึก อารมณ์ ความคิดของเขา อย่างเข้าใจ เห็นใจและพร้อมจะช่วยเหลือ เช่น นักฟังประเภททนายความ จิตแพทย์ วิธีการฟังประเภทนี้ ควรหลีกเถี่ยงการตัดสิน เพราะผู้พูดไม่ต้องการการตัดสินที่เนื้อหา แต่ต้องการอธิบายหรือระบายข้อมูลต่าง ๆ ออกมานอกจากนั้น ควรให้เวลาแก่ผู้พูดมาก ๆ และสนใจตัวผู้พูดมากกว่าข้อมูล ข่าวสารที่พูด วิธีการฟัง
ประเภทนี้มักใช้กับกลุ่มสื่อสารขนาดเล็กมากกว่าการสื่อสารในที่สาธารณะสรุปได้ว่าวัตถุประสงค์ในการฟังนั้นขึ้นอยู่กับผู้ฟังว่าจะมีการรับรู้ในเนื้อหาของสารนั้น
อย่างไร อาจจะฟังเพื่อแยกแยะหาความกระจ่าง ฟังเพื่อประเมินค่าที่ต้องใช้ปัญญา และความคิดใน
การตัดสินว่ามีคุณค่าอย่างไร อาจฟังเพื่อความบันเทิงให้เกิดความเพลิดเพลินใจ หรือฟังเพื่อความเข้าใจ
และเห็นใจผู้พูด ซึ่งอาจต้องใช้อารมณ์และความรู้สึก เป็นต้น การฟังภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ
การฟังภาษาต่างประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนัก เนื่องจากข้อมูลหรือสารที่ใว้รับนั้นอาจมีความแตกต่างกันในด้านเสียงที่ความเร็วหรือช้า ผู้ฟังจะต้องมีทักษะและความสามารถในการรับสารพอสมควร จากการฝึกทักษะการฟังภาษาต่างประเทศเป็นประจำ ฟังจากสื่อที่หลากหลายและมีความแตกต่างนั้นก็จะช่วยให้ผู้ฟังรับสารได้ดีขึ้น
พอสสตัน และคณะ (Paulson and others. 1976. ; อ้างอิงใน สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2537 :
159-160) การฟังเป็นทักษะรับสารที่สำคัญ เป็นทักษะที่ต้องใช้มากและเป็นทักษะแรกที่ต้องทำการสอนเพราะผู้ฟังต้องฟังให้เข้าใจก่อนถึงจะสามารถพูดโด้ตอบ อ่านหรือเขียน ทักษะการฟังจึงเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้ทักษะอื่น ๆ จังนั้นการเรียนการสอนจึงควรได้รับการฝึกทักษะการฟังให้เพียงพอ ที่ได้เสนอแนะขั้นตอนในการฝึกทักษะการฟังสรุปได้ดังนี้
1) กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้รู้จุดมุ่งหมายของการฝึกทักษะการ
ฟัง ผู้สอนจะต้องแจ้งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จุดมุ่งหมายเฉพาะหรืองานที่จะทำหลังจากการฟังแล้วเช่น
ผู้เรียนจะต้องรู้ว่าเมื่อฟังจบแล้ว จะต้องตอบคำถาม หรือทำแผนภูมิเกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง เป็นต้น
2) ให้ผู้เรียนฟังข้อความหรือเรื่องราวที่เตรียมไว้ ข้อความที่ฟังควรเป็นข้อความที่ใช้อัตราความเร็วปกติ และควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ฟังซ้ำ ซึ่งจะฟังช้ำกี่ครั้งนั้นขึ้นอยู่กับความยาวและความยากง่ายของเรื่องที่ฟัง ลักษณะงานที่ให้ทำ และความสามารถของผู้เรียน
3) ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหรืองานที่มอบหมายให้ หลังจากการฟังแล้ว
4) ผู้สอนให้คำดิชมในงานของผู้เรียน เช่น เฉลยคำตอบ หรือให้ผู้เรียนได้แก้ไขคำตอบที่ผิดด้วยตนเอง
ฟินอกเชียโร และ บรัมฟิต (Finocchiaro and Brumfit. 1980. ; อ้างอิงใน สุมิตรา อังวัฒนกูล. 2537 :160) ซึ่งได้เสนอแนะกิจกรรมในการสอนทักษะการฟัง สรุปได้ดังนี้
1 ให้ฟังคำสั่งที่ใช้ในการเรียนการสอนของครู เช่น การถามคำถาม และกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนองอย่างเหมาะสม ฟังการบอกแนวทางในการปฏิบัติ การอธิบายภาพ การเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการบอกแนวทางในการทำกิจกรรมของครูเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น
2) ให้ฟังเพื่อนคนอื่นถามคำถาม สรุปเรื่อง หรือเล่าเรื่องต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ
3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงบทบาทสมมุติ แสดงละคร หรือการสนทนาต่างๆ
ความสามารถในการฟังภาษาต่างประเทศ
ปฏิกิริยาโด้ตอบหลังจากที่ได้ฟังนั้นบ่งบอกถึงความสามารถในการฟังภาษาต่างประเทศ
ซึ่งความสามารถในการฟังนั้นแบ่งออกเป็นระดับ ๆ ดังต่อไปนี้
แวลเล็ท และ ดิสิด (Valette and Disick. 1972 : 141-142) ได้แบ่งระดับความสามารถใน
การฟังภาษาต่างประเทศออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1. ระดับกลไก (mechanical skill) เป็นพฤติกรรมภายในที่อยู่ในระดับการรับรู้ จากการได้ยินเสียงผู้ฟังมีความสามารถในการแยกแยะให้ความแตกต่างระหว่างภาษาแม่กับภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมาย
2. ระดับความรู้ (knowledge) เป็นระดับที่ผู้ฟังเข้าใจความหมายของคำหรือประโยคที่ได้เรียนมา สามารถปฏิบัติตามคำสั่งที่คุ้นเคย และสามารถจับคู่ประโยคหรือคำพูดที่ได้ยินกับรูปภาพที่คล้องของและเหมาะสมได้ ผู้ฟังสามารถเลือกประโยดในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายเหมือนประโยคที่ได้ยินจากการฟังครั้งเดียวได้
3. ระดับถ่ายโอน (transfer) เป็นระดับที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจโครงสร้างประโยคที่แต่ขึ้นใหม่ หรือเรียบเรียงประโยดได้โดยใช้ศัพท์และไวยากรณ์ที่เรียนมา มีความสามารถในการเลือกคำตอบได้ถูกต้อง เช่น เลือกคำหรือข้อความที่เหมาะสมเพื่อตอบคำถามหรือข้อความในประโยคได้ และสามารถฟังและมีความเข้าใจข้อความยาวๆ หรือหลาย ๆ ประโยคได้
4. ระดับสื่อสาร (communication) ในระดับนี้ผู้ฟังสามารถเข้าใจคำสั่ง และดำอธิบายที่เป็นภาษาต่างประเทศได้ และเข้าใจความหมายโดยทั่วไปของข้อความที่มีคำศัพท์ไหม่ที่ไม่คุ้นเคย โดยการคาดหมายจากรากศัพท์ที่มีความหมายเดียวกันสามารถทายและเดาความหมายประโยกที่ไม่เข้าใจและมีทักษะในการติมเนื้อหาที่มิอาจได้ยินอย่างชัดจนได้ และยังสามารถที่จะสื่อความหมายกับเจ้าของภาษาได้ด้วย พฤติกรรมขั้นสูงสุดในระดับนี้ คือ ผู้ฟังสามารถข้าใจคำพูดของเจ้าของภาษาในบทละคร บทภาพยนตร์ รายการวิทยุและโทรทัศน์ได้
5. ระดับวิพากษ์วิจารณ์ (criticism) การฟังในระดับนี้ผู้ฟังสามารถวิเคราะห์รูปแบบข้อความหรือภาษาที่ได้ยินและแยกแยะใด้ว่าเป็นมาตรฐานภามาพูดของชนชั้นใด ภาษานั้นใช้ในถิ่นใด สามารถข้าใจความหมายตรงและความหมายแฝง (explicit and implicit meaning) ใจความแตกต่างของความหมายจากระดับเสียงสูง- ต่ำ เสียงเน้นหนักของคำพูดที่ได้ยินที่บ่งบอกถึงอารมณ์และน้ำเสียงของผู้พูด
การสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน
หลักการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนภาษาตามแนวคิดตามแนวคิดเพื่อการสื่อสารมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนนำความรู้ทางภาษาไปใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพสังคม มีกระบวนการฝึกปฏิบัติด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสดงความคิด ความรู้สึก เจตคติและความต้องการของผู้เรียน มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ โดยใช้สื่อจริง ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นกลุ่ม มีผู้สอนคอยเนะนำ ช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษา ส่งเสริมในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จ การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน (Keith Johnson 1982 : 163-175) ที่นำเสนอหลักการการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางภาษา (Communicative language competence) มีหลักการ 5 ประการดังต่อไปนี้
1. หลักการการถ่ายโอนข้อมูล (The information transfer principle) เป็นลักษณะการจัดกิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเข้าใจและสื่อความหมายโดยยึดหลักการถ่ายโอนข้อมูลจากทักษะหนึ่งไปสู่อีกทักษะหนึ่ง เช่น การฟังไปสู่การพูด ฟังวิทยุแล้วมาเล่าให้ผู้อื่นฟัง หรือการเขียน เขียนข้อความหรือเขียนเป็นแผนภาพให้ผู้อื่นเข้าใจ ซึ่งกิจกรรมที่ใช้หลักการนี้จะไม่เน้นเรื่องความถูกต้องของรูปแบบหรือโครงสร้างของการใช้ภาษา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง สมาคมกีพาแห่งหนึ่งของเมืองวินตัน ที่เปีดรับสมาชิกทั่วโลก เจ้าหน้าที่ของสมาคมต้องอ่านจดหมายแล้วกรอบข้อมูลของสมาชิกลงในแบบฟอร์มการรับสมัคร ซึ่งเป็นการสื่อสารที่รับข้อมูลโดยการอ่านจดหมายแล้วถ่ายโอนข้อมูลนั้นโดยการเขียนลงในแบบฟอร์ม การสื่อสารก็อาจมีการรับข้อมูลโดยการฟังแล้วก็ถ่ายโอนเป็นการพูดก็ได้
2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล (The information gap principle) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ขาคหายไปบางประการ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ
ตัวอย่าง การขอข้อมูลของนักเรียนคนที่ 1 จากนักเรียนคนที่ 2 ซึ่งนักเรียนทั้งสองคนมีข้อมูลที่อีกคนหนึ่งไม่มี ต่างคนก็ต้องสื่อสารกันเพื่อให้ใด้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ เป็นกิจกรรมที่อาจใช้ในการฝึกทักษะการพูด
3. หลักการการประสานต่อ (The jigsaw principle) เป็นกิจกรรมที่ยึดหลักการที่ผู้เรียนต้องทำงานส่วนที่มีความสัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกับงานของผู้อื่น การนำมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ เช่น การให้ผู้เรียนฟังเรื่องราวคนละส่วน แล้วนำมารวมและลำดับขั้นตอนเป็นเรื่องที่สมบูรณ์
4. หลักการการปฏิบัติงนตามที่ได้รับมอบหมาย (The task dependency principle) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เป็นการมอบหมายงานที่แตกต่างกันตามขั้นตอนต่างๆของงาน เช่น งานของคนที่ 2 จะต้องใช้งานที่เสร็จแล้วจากคนที่ 1 และคนที่ 3 ก็จะต้องได้รับงานที่เสร็จสิ้นแล้วของคนที่ 2 เพื่อจะทำงานของตนให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์
5. หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (The correction for the content principle)เป็นกิจกรรมที่มีการประเมินกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมาแล้วว่า กิจกรรมการสื่อสารนั้นถูกต้องเพียงใดผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด โดยมีผู้สอนเป็นส่วนสำคัญในการช่วยการประเมินและการแก้ไขข้อผิดพลาด
จากแนวคิดของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่มี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นการนำเสนอ (presentation) เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียนโดยการทำกิงกรรมกิจกรรมทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้ว การบอกจุดประสงค์ในการเรียน นำเสนอศัพท์ใหม่ โครงสร้างประโยคหรือการอ่านและเขียน ในขั้นตอนนี้เนั้นดวามถูกต้องของการใช้ภายา (accuracy)
2. ขั้นการฝึก (practice) ขั้นนี้เป็นการฝึกที่อยู่ในความคูแลของครู (controlled practice) เมื่อเห็นว่าผู้เรียนเข้าใจแล้ว จึงให้ผู้เรียนจับกลุ่มฝึกกันเอง (free practice) ในขั้นนี้ครูไม่ขัดจังหวะ การฝึกของผู้เรียน ถึงแม้จะพบว่ามีข้อผิดพลาด แต่เมื่อฝึกเสร็จแล้วจึงจะแก้ไขภายหลัง เพราะระยะ
นี้ต้องการความคล่องแดล่วในการพูด (fluency)
3. ขั้นการนำไปใช้ (production) เป็นขั้นตอนที่นำความรู้และทักษะภาษาไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม ร้องเพลง และการทำแบบฝึกหัด ในการสอนแต่ละครั้ง เน้นบูรณาการทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน เช่น
ฟังแล้วพูด : ฟังครูและคู่สนทนา
ฟังแล้วอ่าน : ฟังคำถามแล้วเลือกคำตอบโดยการอ่านคำตอบที่เป็นตัวเลือก
ฟังแล้วเขียน : เขียนคำ วลี หรือประโยคตามบอก
ในแต่ละขั้นตอนของการสอนภามาเพื่อการสื่อสารที่ได้กล่าวถึง ผู้เรียนจะต้องฝึกการใช้ภาษาให้มีความถูกต้องและคล่องแคล่ว ซึ่งผู้เรียนจะสามารถฝึกการใช้ภาษาด้วยตนเอง จังนั้นการนำแนวคิดที่มีหลักการ 5 ประการ ของ คีธ จอห์นสัน ได้แก่ หลักการถ่ายโนข้อมูล หลักการช่องว่างระหว่างข้อมูลหลักการการประสานต่อ หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และหลักการตรวจสอบ ความถูกต้องของเนื้อหา เป็นแนวทางที่เหมาะสมในการปฏิบัติกิจกรรมการสื่อสาร อย่างเช่นการฝึกทักษะการฟัง-พูด ในขั้นตอนของวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารที่ได้กล่าวมา 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการนำเสนอของผู้สอนในการใช้ภาษา ขั้นตอนที่ 2 ผู้เรียนจะต้องฝึกการใช้ภาษาด้วยตนเองเพื่อให้มีความคล่องเคล่ว โคยมีหลักการการถ่ายโอนข้อมูลที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเข้าใจและสื่อความหมาย โดยยึดหลักการถ่ายโอนข้อมูลจากทักษะหนึ่งไปสู่อีกทักษะหนึ่ง เช่น การฟังไปสู่การพูด ฟังวิทยุแล้วมาเล่าให้ผู้อื่นฟัง หรือการเขียน เขียนข้อความหรือเขียนเป็นแผนภาพให้ผู้อื่นเข้าใจ และการใช้หลักการช่องว่างระหว่างข้อมูลจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการฝึกการสื่อสารเนื่องกผูเรียนจะได้มีการสื่อสารเลกเปลี่ยนข้อมูลที่ขาดหายไปบางประการ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตนเองต้องการ หลักการการประสานต่อ เป็นกิจกรรมที่ยึดหลักการที่ผู้เรียนต้องทำงานส่วนที่มีความสัมพันธ์กันและเชื่มโยงกับงานของผู้อื่น การนำมารวมกันเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและแก้ไขส่วนที่ผิดพลาด โคมีผู้สอนเป็นส่วนสำคัญในการช่วยการประเมินและการแก้ไขข้อผิดพลา และขั้นตอนที่ 3 ขั้นการนำไปใช้ ขั้นนี้เป็นขั้นตอนที่นำความรู้และเน้นบูรณาการทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียนเพื่อนำทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม การร้องเพลง และการทำเบบฝึกหัด เป็นต้น เมื่อถึงขั้นสุดท้ายของการปฏิบัติกิจกรรมก็มีการใช้หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาเพราะการฝึกทุกครั้งต้องให้ผู้เรียนได้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการใช้ภาษาของตนเอง ปัญหาในการฝึกและปฏิบัติกิจกรรม เพื่อการพัฒนาการใช้ภาษาของตนเองต่อไป ก็กล่าวโดยสรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสันมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้ใช้ช่องว่างของข้อมูลของแต่ละฝ่ายในการสื่อสาร โคยผู้ส่งและผู้รับสารจะได้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีไม่เหมือนกัน ที่ต่างคนต่างต้องการ จากการสร้างสถานการณ์ความต้องการข้อมูลของฝ่ายหนึ่งจากอีกฝ่ายหนึ่งก็จะผลักคันให้ทั้งสองฝ่ายมีการสื่อสารเกิดขึ้นในกลุ่ม ผู้เรียนจะส่งเสริมซึ่งกันและกันในการทำงาน นั่นคือ กิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะในการสื่อสารให้มีความคล่องตัวในการใช้ภาบา และฝึกความถูกต้องในการใช้ภาษาในห้องเรียนเพื่อนำภาษาไปใช้ในชีวิตจริง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนฟัง-พูดภายาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ที่นำรูปแบบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดหลักของ ดีธ จอห์นสัน ไปใช้ในบางขั้นตอนของวิธีการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อเนั้นการใช้ภามาในการสื่อความในสถานการณ์จริง
4. เอกสารเกี่ยวข้องกับทฤษฎีตัวยู
4.1 ทฤษฎีตัวยู
ชาร์เมอร์ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการจากประเทศสหพันธรัฐเยอรมัน ผู้ก่อตั้งสถาบันให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างผู้นําในองค์กรภาครัฐและเอกชนได้เสนอทฤษฎีการเรียนรู้จากอนาคต เรียกชื่อว่า ทฤษฎีตัวยูเพื่อเสนอเป็นทางออกให้กับการเรียนรู้ในอนาคต ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะวางตัวตามลักษณะการเขียนอักษรตัวยูประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 3 ขั้นตอนจะอยู่ในตำแหน่งทางเดินลงของตัวยูคือ Downloading, Seeing และ Sensing ด้านล่างสุดของตัวยูจะเป็นขั้นตอน Presenting และอีก 3 ขั้นตอนจะอยู่ในตำแหน่งทางขึ้นของตัวยูคือ Crystallizing, Prototyping และ Performing โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ขั้นการรู้ข้อมูลแบบเก่า (Downloading) เป็นการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยวิธีแบบเดิม ๆ จากการ ทําซ้ำ ๆ จนกลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการคิด การปฏิบัติทำให้เรามีวิธีคิด วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ เหมือนคอมพิวเตอร์ที่เข้าถึงคําตอบจากข้อมูลเดิมที่บันทึกไว้แล้วดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทันที
2. ขั้นการมองเห็น (Seeing) เป็นการระงับการตัดสินทันที (Judgment) โดยใช้การเฝ้าสังเกตเพื่อแยกแยะความเป็นจริง เป็นการเปิดจิต (Open Mind) เปิดความคิดและเปิดสายตาให้กว้าง (Seeing)เพื่อให้เห็นความเป็นจริง ไม่ด่วนตัดสิน ใช้การสังเกตที่ละเอียดถี่ถ้วน โดยมีหลักในการป้องกันการรับรู้และนําความรู้แบบ เดิม ๆ มาใช้คือ
2.1 ใช้คําถามเพื่อให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และมีความใส่ใจในเรื่องนั้น ๆ (Clarify Question and Intent)
2.2 เข้าไปมีส่วนร่วมในบริบทเพื่อให้เข้าใจประเด็นและจุดที่มีความสำคัญ (Move into the Contexts that Matter)
2.3 อย่าด่วนตัดสินพยายามคิดตามเพื่อเข้าใจและเชื่อมโยงกันมากขึ้น (Suspend Judgment
and Connect to Wonder)
2.4 ใช้การสนทนาเข้ามาช่วยเพื่อนําเข้าสู่การเห็นร่วมกัน (Dialogue : Enter the Space
of Seeing Together) โดยใช้ 3 กิจกรรมที่มีความแตกต่างกัน คือ
2.4.1 ฟังและเชื่อมต่อให้เข้าถึงการฟังอย่างมีปัญญา ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เห็นจริงและเพิ่มความน่าสนใจ
2.4.2 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตนเองและประสบการณ์ของผู้อื่นโดยนํากระบวนการกลุ่มเข้ามาช่วย (Small-Group Discussions)
2.4.3 มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกันก่อนที่จะมีการออกเสียง
3. ขั้นการรับรู้ (Sensing) การเข้าไปในกิจกรรม เข้าไปมีส่วนร่วม สนใจในความแตกต่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงจากการกระทำแบบเดิม ๆ มาสู่กระบวนการคิดแบบใหม่ๆ การกระทำที่แตกต่างไปจากเดิมเปิดหัวใจ (Open Heart) รับรู้ความรู้สึกร่วม (Sensing) เพื่อการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งที่เราสังเกต ด้วยการลุกออกจากมุมมองของเราแล้วเดินไปมองด้านมุมเดียวกับเขา เป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเราโดยที่เราก็ยังเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องคิดเห็นเหมือนกันหมดขั้นตอนนี้จะช่วยให้เกิดความหลากหลายทางความคิดโดยมีหลักการที่จะนําไปสู่การรับรู้ร่วมกัน (Co-Sensing together) คือ
3.1 การเติมให้เต็ม (Charging Container) การให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับรู้ร่วมกันสนทนาเพื่อแสดงออกความคิดเห็น (Dialogue Forum) ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
3.2 การดำดิ่งลงให้ลึก (Deep Diving) เข้าไปมีส่วนร่วม เอาตัวเองไปเป็นเขา แลกเปลี่ยนประสบการณ์
3.3 การเปลี่ยนทิศทางความสนใจ (Redirecting Attention) ให้ความสนใจในสิ่งที่อยู่ระหว่าง
ความแตกต่าง
3.4 การเปิดใจ (Open the Heart) การเข้าไปในระดับความลึกของการรับรู้ของอารมณ์ความรู้สึก ฟังเสียงที่แท้จริงของหัวใจ เพื่อทลายกําแพงกั้นในใจ
4. ขั้นการปรากฏ (Presenting) เชื่อมโยงเข้ากับแหล่งกำเนิด (Source) เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงการกระทำจากที่เคยคิด เคยปฏิบัติแบบเดิม ๆ แต่ให้อยู่กับปัจจุบันที่สุด เราจะเห็นคําตอบมากมายทางเลือกหลากหลายและความเป็นได้ทุกทางในอนาคต ทำให้เราสามารถสร้างจินตนาการ และการกระทำใหม่ ๆ ทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา (Open Will)
5. ขั้นการตกผลึก (Crystallizing) วิสัยทัศน์จุดมุ่งหมาย การมองเห็นสิ่งใหม่จากอนาคตที่ต้องการให้ปรากฏขึ้น เป็นการตกผลึกของความคิดให้ชัดเจนเข้มแข็ง
6. ขั้นการออกแบบ (Prototyping) ร่วมกันสร้างยุทธศาสตร์ของโลกเล็ก ๆ คำนึงถึงประโยชน์ที่เกิดกับชีวิตคนเป็นสำคัญ สิทธิขั้นพื้นฐาน การนําเอาความคิดนั้นมาปรับเปลี่ยนให้เป็น "ต้นแบบ"และฝังอยู่ภายในตัวตนความคดของเรา
7. ขั้นการแสดงออก (Preforming) ฝังลึกลงในบริบทใหม่ที่มีขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ให้ค่อยๆพัฒนาในระบบที่เกิดจากความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต การนําเอาความคิดและลงมือกระทำทั้งหมด เพื่อนําไปสู่ผลสำเร็จ
(ดังภาพประกอบที่ 1)
ภาพประกอบที่ 1 Three Instruments : Open Mind, Open Heart, Open Will (Scharmer. 2007 : 40)
4.2 ทฤษฎีตัวยูกับการฟัง
ชาร์เมอร์ ได้แบ่งประเภทพื้นฐานของการฟังออกเป็น 4 ระดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มฟังแบบน้ำเต็มแก้ว (Listening is downloading) แสดงออกโดยการโต้ตอบ ว่าสิ่งที่ได้ฟังเป็นสิ่งที่รู้แล้ว จึงนําเอาความรู้แบบเดิม ๆ จากการรับเอาข้อมูลแบบเดิม ๆ มาใช้ในการตัดสินทันทีทันใด
2. กลุ่มฟังแบบเอะใจ (Object-focused or factual listening) รับฟังว่าสิ่งที่ได้ยินมาไม่ตรงกับที่รู้มาก่อน สนใจรับฟังเฉพาะประเด็นที่แตกต่างจากที่ตัวเองเคยรู้เท่านั้น
3. กลุ่มรับฟังด้วยความเข้าอกเข้าใจ (Empathic Listening) ผู้ฟังได้มีโอกาสเข้าร่วมวงสนทนาและรับรู้ความจริงในแง่มุมอื่น ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน รวมทั้งความสำเร็จในการเปิดใจ สามารถรับเอาความรู้สึกของคนอื่นมาเป็นความรู้สึกของตนเอง สามารถที่จะรับรู้ (Sensing) ความเชื่อมโยงด้วยตนเอง
4. กลุ่มฟังด้วยปัญญา (Generative Listening หรือ Listening from the emerging field of the future) ซึ่งเป็นการฟังในขั้นสูงสุด เป็นการฟังด้วยปัญญา ฟังอย่างพินิจพิจารณา ก้าวข้ามความแตกต่างระหว่างกันการฟังจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้เกิดเป็นทักษะกับผู้เรียนหรือเยาวชนในชาติทักษะการฟังสำคัญไม่น้อยไปกว่า ทักษะในการพูด การอ่าน และการเขียน หากผู้เรียนมีทักษะการฟังที่ดีก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเข้าสังคม ฝึกการใช้ความคิด การจับประเด็น ฝึกความจํา และฝึกฝนการมุ่งมั่นมีใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ฟังที่ดีจะต้องมีสมาธิในการฟัง มีจุดมุ่งหมายในการฟัง รู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูดสนใจและจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ฟังได้วางใจเป็นกลางไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้พูด ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจฟัง ฟังอย่างสำรวมให้เกียรติผู้พูด หลังการฟังควรมีเวลาคิดทบทวน ข้อเท็จจริง ความน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดจะนําไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ และรู้จักนําความรู้หรือข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ประโยชน์ตามโอกาสอันสมควรทักษะการฟังสามารถพัฒนาให้เกิดกับเยาวชนได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยพ่อแม่ ต้องเป็นนักฟังที่ดีคือพ่อแม่ต้องเรียนรู้ที่จะฟังลูกเมื่อลูกต้องการสื่อสารหรืออยากเล่าเรื่องอะไรให้ฟัง ไม่ควรแสดงความรําคาญไม่อยากฟังหรือฟังแบบขอไปทีโดยไม่ได้สนใจในสิ่งที่ลูกพูดจริง ๆ เปลี่ยนเรื่องพูดหรือคุยเรื่องอื่นแทรกขัดจังหวะ ฟังลูกพูดไปด้วยคุยโทรศัพท์ไปด้วยพร้อม ๆ กัน พ่อแม่ควรระวังพฤติกรรมของตนในขณะสื่อสารกับคนอื่น เช่น ขณะคุยโทรศัพท์ขณะที่พ่อแม่
คุยกันเอง ซึ่งจะส่งผลต่อการลอกเลียนแบบของลูกโดยปริยาย นอกจากนี้ในการสื่อสารเรื่องใด ๆ กับลูกพ่อแม่ไม่ควรคิดเอาเองว่าลูกคงเข้าใจเหมือนอย่างที่ตนเองเข้าใจ แต่พ่อแม่ควรสื่อสารออกไปอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าลูกนั้นเข้าใจในสิ่งที่ตนพูดจริง ๆ ส่วนในโรงเรียน ครูก็ทำหน้าที่ไม่ต่างจากพ่อแม่ ที่จะต้องเป็นนักฟังที่ดีเริ่มจากครูเป็นนักฟังที่ดีนั่นคือครูต้องเรียนรู้ที่จะฟังเด็กเมื่อเด็กต้องการสื่อสารหรืออยากเล่าเรื่องอะไรให้ครูฟัง (เกรียงศักดิ์เจริญวงศ์ศักดิ์. 2558) แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีปัจจัย 3 ประการ ที่เป็นตัวกันไม่ให้เข้าถึงด้านล่างสุดของตัวยูได้แก่เสียงแห่งการด่วนตัดสินใจ (The voice of Judgment : VOJ) เสียงแห่งการหลงตนเอง (The voice of Cynicism :VOC) เสียงแห่งความกลัว (The voice of Fear : VOF) (ดังภาพประกอบที่ 2)
ภาพประกอบที่ 2 Facing three Enemies : VOJ, VOC, VoF (Scharmer. 2007 : 43)
นอกจากนี้ยังมีอุปสรรค 4 ตัว ในการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง
อุปสรรคที่ 1 เห็นแต่ไม่รู้จำไม่ได้ (Not Recognizing What You See)
อุปสรรคที่ 2 ไม่พูดในสิ่งที่คิด (Not Saying What You Think)
อุปสรรคที่ 3 ไม่ทำในสิ่งที่พูด (Not Doing What You Say)
อุปสรรคที่ 4 ไม่เห็นว่าตัวเองได้อะไรไป (Not Seeing What You Do)
4.3 ทฤษฎีตัวยูกับการประยุกต์ใช้กับการทำงานในองค์กร
ความสัมพันธ์ในการทำงานในองค์กร (Four Fields of Conversation) แบ่งออกเป็น 4 แบบ โดย
มีรายละเอียดดังนี้
1. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะอิงกฎเกณฑ์แบบแผน แนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นในอดีต ความสัมพันธ์ในระดับองค์กร จะมีลักษณะเป็นสังคมแบบ อำนาจเชิงสถาบัน ที่ใช้อำนาจและกฎเกณฑ์จากศูนย์กลางอำนาจ ในการสั่งการ และเป็นตัวกำกับคนในองค์กร
2. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะอยู่ในระดับการสนทนา พูดคุย โต้แย้ง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เป็นการกระจายอำนาจในการตัดสินใจออกไปจากศูนย์กลางให้ไปอยู่ในหลายๆ ส่วนงาน จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบที่ 1
3. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะมีการทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างองค์กรและทำงานด้วยวิถีของการสนทนาพูดคุย ใช้ความสัมพันธ์และการเกื้อกูลกันในการขับเคลื่อนงานในองค์กร
4. ลักษณะของความสัมพันธ์ของคนในองค์กร จะใช้กระบวนการกลุ่มในการเชื่อมโยงอย่างลุ่มลึก สติปัญญา กระบวนการกลุ่มหรือทีม หลุดขอบเขตจากความเป็นตัวเอง ก็จะทำให้ลูกค้า ผู้ใช้ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ถูกดึงเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งจะส่งผลให้สามารถมองเห็นระบบทั้งระบบการทำงานในองค์กร จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน การนําทฤษฎียูมาปรับใช้จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร การฟังอย่างเข้าใจเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญของทฤษฎีตัวยูฟังอย่างไตร่ตรอง คิดวิเคราะห์วิจารณ์และสื่อสารในเชิงบวก จะทำให้การทำงานในองค์กรขับเคลื่อนได้อย่างมีคุณภาพ และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในแต่และบริบท
สรุป
จุดมุ่งหมายสำคัญของทฤษฎียูไม่ได้ทำเพื่อให้เราได้คิดเร็วขึ้นหรือช้าลง เพียงต้องการให้เราคิดอย่างถ้วนถี่มากเพื่อขึ้นระยะทางที่เห็นเป็นเส้นโค้งยาวในแผนผัง ไม่ได้มีนัยยะว่า ต้องไกลหรือ นานขึ้นเนื่องจากกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในสมอง ไม่จําเป็นจะต้องเป็นการเคลื่อนที่ช้า ๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับการเดินของตัวยูการนําทฤษฎีตัวยูมาใช้จึงไม่จำเป็นต้องช้า เร็วขึ้นได้ถ้าฝึกฝนเพียงแค่เราไม่เลือกเส้นทางเก่าและฝึกฝนการเดินลงสู่ก้นตัวยูอย่าง
สม่ำเสมอดังนั้นการที่จะพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดทฤษฎีตัวยูนั้น ผู้สอนจะต้องจัดการศึกษาโดยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการฟังก่อน ฟังอย่างมีส่วนร่วม เปิดความคิดและเปิดสายตาให้กว้าง (Open Mind)เพื่อให้เห็นความเป็นจริงที่อยู่ตรงหน้าโดยไม่ด่วนตัดสิน ใช้การสังเกตที่ละเอียดถี่ถ้วน เปิดหัวใจรับรู้ความรู้สึกร่วม (Open Heart) เพื่อการเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งที่เราสังเกต เป็นการเอาใจเขามาใส่ใจเรา เปลี่ยนกระบวนการที่เราเคยคิดเคยปฏิบัติแบบเดิม ๆ (Open Will) ทำให้เราสามารถสร้างจินตนาการ เกิดการกระทำที่ใหม่ๆ เกิดนวัตกรรม สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องในการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนสามารถที่จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิดและพิจารณาในประเด็นที่ผู้เรียนสนใจ ออกแบบกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรม ข้อสอบไม่เป็นความลับ เป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ใช้เพียงการสอบผ่านเพียงอย่างเดียว ครูผู้สอนเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุย ถกเถียง (Debate) ร่วมกันสนทนา (Dialogue) มีส่วนร่วมในการสรุปและตัดสินใจ (Discussion) รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการพูดการเขียนอย่างเต็มที่ เพื่อเตรียมพลเมืองในอนาคตให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการจะให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) กับประชาชนในสังคมประชาธิปไตย (Democratic Society)
5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารงานวิจัยเกี่ยวกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษตามหลักการจัดกิจกรรมเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน
วีรชัย ศรีสร้อย (2544 : 66) ได้ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนและความสนใจการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน กับการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนภาษาสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน กับการสอนตามคู่มือครู มีความสามารถการเขียนเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลก่อนเรียนและหลังเรียนนักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลก่อนและหลังการทดลองนักเรียนมีความสนใจในการเรียนภามาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยที่นักเรียนที่เรียนการอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวของ คีธ จอห์นสันมีความสามารถทางการอ่าน การเขียนภามาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนตามคู่มือครู
วิมลพันธ์ ไตรภูมิ (2534 : บทตัดบ่อ) ได้เปรียนเทียบความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัชยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน และคู่มือครูกลุ่มทดลองได้รับการสอนเขียนด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารแนวของ ดีธ จอหันสัน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนเขียนด้วยการสอตามคู่มือครู พบว่า ความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนด้วยการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ ดีธ จอห์นสัน มีความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษสูงนักเรียนด้วยการสอนตามคู่มือครู
นันทิวา สุรวัตร (2540 : บทคัดย่อ) ได้เปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูดและแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีสอน ตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน กับวิธีสอนตามคู่มือครู โดยกลุ่มทดลองได้รับการสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอหันสัน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิธีสอนตามคู่มือครู ผลการทดลองพบว่า(1) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธี สอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน มีความสามารถในการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน มีแรงจูงใจในการเรียนภายาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอหันสัน มีความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และมีแรงจูงใจในการสื่อสารของ คีธ จอหันสัน และกลุ่มควบคุมได้รับการสอนวิธีสอนตามคู่มือกรู ผลการทดลองพบว่า(1) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน มีความสามารถในการฟัง-พูด ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน มีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน มีความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนตามคู่มือครู
จิราพร สุจริต (2542 : บทคัดย่อ) ได้เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและความสนใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน กับการสอนตามคู่มือครู โดยกลุ่มทคลองได้รับการสอนตามแนวทฤยฎีเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน และกลุ่มควบคุมให้ใด้รับการสอนตามคู่มือครู ผลการศึกษาพบว่า (1) นักเรียนที่ใด้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู มีความเข้าใจในการอ่านภามาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ ดีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู มีความสนใจในการเรียนวิชาภามาอังกฤมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูก่อนและหลังการทคถองมีความมีดวามเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) นักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารของ คีธ จอห์นสัน กับนักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู ก่อนและหลังการทดลองมีความสนใจในการเรียนวิซาภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยนักเรียนที่ได้รับการสอนตามแนวทฤษฎีเพื่อการสื่อสารมีความเข้าใจในการอ่นภาษาอังกฤษและมีความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครู
จอห์นสัน (Johnson. 1968. ; อ้างอิงใน วีรชัย ศรีสร้อย. 2544 : 34) ได้ทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการ อ่านและการเขียน กับผู้เขียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง โดยศึกษาว่าความรู้เดิมของผู้เรียนจะส่งผลต่อความเข้าใจในการอ่านและเขียนอย่าง กลุ่มตัวอย่างเบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ที่ไม่มีความรู้เดิมเกี่ยวข้องกับการเขียนมาก่อน จำนวน 15 คน และอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการเขียนมาก่อน จำนวน 20 คน ผลการวิจัยปรากฎว่าความรู้เคิมในการเขียนนั้น จะทำให้เด็กมีความเข้าใจในการอ่านมากขึ้น และมีความคงทนในการจำดีด้วยจากการศึกพางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้สรุปให้เห็นผลสำเร็จของการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีช จอห์นสัน ทำให้ผู้เรียนที่ได้รับการสอนตามแนวคิดนี้มีความสามารถในการสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน และเขียน มากกว่าวิธีสอนตามคู่มือครู เป็นดวามสามารถที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ขังเป็นแนวคิดที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าการสอนภาษาด้วยวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่สามารถทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารฟัง-พูดภาษาอังกฤษสูงขึ้น
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎีของ คีธ จอหน์สัน มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ หลักการการถ่ายโอนข้อมูล หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล หลักการ การประสานต่อ หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และหลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
สถานภาพนักเรียน
1. เพศ
1.1 เพศชาย
1.2 เพศหญิง
2. ประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ
2.1 น้อยกว่า 3 ปี
2.2 3-5 ปี
2.3 มากกว่า 5 ปีขึ้นไป
การพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
1. หลักการการถ่ายโอนข้อมูล
2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล
3. หลักการการประสานต่อ
4. หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
5.หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 45 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยนำแนวคิดของการเรียนการสอนตามทฤษีของ คีธ จอห์นสัน จัดทำแผนการเรียนรู้ จำนวน 2 แผน โดยใช้เวลาการสอนแผนละ 100 นาที
2. แบบฝึกหัดการฟัง จำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง Eco-friend เรื่อง Smart Rule เรื่อง Amy talking เรื่อง Email about Rule
3. แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยนำแนวคิดของคีธ จอห์นสัน จัดทำแผนการเรียนรู้ เป็นแผนการเรียนรู้สำหรับการสอนการฟังภาษาอังกฤษ จำนวน 2 แผน โดยใช้เวลาการสอนแผนละ 100 นาที
ซึ่งมีขั้นตอนในการสร้างและหาคุณภาพดังนี้
1.1 ศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษจากตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.2 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการฟังรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ประเภทของการฟัง การรับรู้และการได้ยินของเด็กวัย13-15 ปี และศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฟัง
1.3 ศึกษาและเลือกบทอ่านที่เหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากเอกสาร สิ่งพิมพ์ และหนังสือต่างๆ พิจารณาความยากง่ายของคำศัพท์และโครงสร้างไวยากรณ์ และจำนวนของคำศัพท์ และพิจารณาเนื้อหาให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการฟังตามแนวคิดของคีธ จอห์นสัน มีขั้นตอนการสอน 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นการนำเสนอ (presentation) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนโดยการทำกิจกรรมทบทวนสิ่งที่เรียนมาแล้ว การบอกจุดประสงค์ในการเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา นำเสนอคำศัพท์ใหม่ โครงสร้างประโยค
ขั้นการฝึก (practice) เป็นการฝึกที่อยู่ในความดูแลของครู โดยนำหนงการของช่องว่างระหว่างข้อมูล (the information gap principle) หลักการประสานต่อ (the jigsaw principle) และหลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (the correction for content principle) มาใช้ในการฝึกการฟัง
ขั้นการนำไปใช้ (production) เป็นการนำความรู้และทักษะการฟัง-พูดในสถานการต่างๆ เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การเล่นเกม และการทำแบบฝึกหัด เป็นต้น เน้นการบูรณาการทักษะฟัง พูด อ่านและเขียน โดยใช้กิจกรรมตามหลักการตรวจความถูกต้องของเนื้อหา มาใช้ในการฝึกฝนผู้เรียนในการตรวจงานของนักเรียน
1.5 แก้ไขและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการ PLC
2. แบบทดสอบการฟัง เป็นแบบทดสอบแบบ Cloze test คือเว้นคำตอบให้เติมในสิ่งที่ได้ฟัง จำนวน 20 ข้อ ได้ดำเนินการสร้างดังนี้
2.1 ศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษจากตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และศึกษาแนวการสร้างแบบทดสอบการฟัง แล้วประมวลความรู้เพื่อนำมาสร้างแบบทดสอบการฟัง
2.2 สร้างแบบทดสอบซึ่งเป็นแบบเติมคำศัพท์ในช่องว่าง จำนวน 30 ข้อ และนำแบบทดสอบไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จำนวน 50 คน
2.3 นำแบบทดสอบมาวิเคราะห์ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก แล้วนำไปหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) โดยแบบทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ของอำนาจจำแนก มีทั้งหมด 25 ข้อโดยมีค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.2-0.6 และแบบทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ของความยากง่าย มีทั้งหมด 18 ข้อ ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0.2-0.5 จากการทดสอบค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกผู้วิจัยได้คัดแบบทดสอบเหลือจำนวน 20 ข้อ
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การทดลองสอนการฟังภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนซึ่งอ้างอิงแนวคิดของคีธ จอห์นสัน กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน โดยเป็นผู้ดำเนินการสอนโดยใช้เวลาในการสอน 4 คาบ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การดำเนินการสอน
ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี แผน
การสอนที่ เรื่อง เวลาที่สอน
1 19 ต.ค. 63 1 Smart Rule 14.40-15.30
2 26 ต.ค. 63 2 Email about 14.40-15.30
3 29 ต.ค. 63 3 Eco-friend 14.40-15.30
4 30 ต.ค. 63 4 Amy talking 14.40-15.30
ก่อนการทดลองผู้ดำเนินการสอนได้ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน และ หลังจากการทดลองสอนจนครบทั้ง 4 คาบแล้ว ทำการทดสอบวัดความรู้การฟังกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 20 ข้อ จากนั้นนำผลคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยวิธีของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson)ใช้สูตร KR-20 สำหรับข้อสอบที่ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ (2555, หน้า 321)
สูตร KR-20 r_tt=k/(k-1) {1-(∑▒p_i q_i)/(S_x^2 )}
เมื่อ r_tt แทน ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ
k แทน จำนวนข้อของแบบทดสอบ
p_i แทน สัดส่วนของคนทำถูกแต่ละข้อ
q_i แทน 1-p_iหรือสัดส่วนของคนตอบผิดในแต่ละข้อ
S_x^2 แทน ค่าความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งฉบับ
2. หาค่าเฉลี่ย ¯Xของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตรดังนี้ สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ (2555, หน้า 146)
¯X=(∑▒x)/n
เมื่อ ¯X แทน คะแนนค่าเฉลี่ย
∑▒x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่ม
3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคะแนนการวัดเจตคติ โดยใช้สูตรดังนี้ สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ (2555, หน้า 166-167)
S.D.= √((N∑▒〖x^2-〗 (∑▒x)^2)/(N(N-1)))
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
∑▒x^2 แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
(∑▒x)^2 แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่ม