ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
วิจัยในชั้นเรียน

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะภาษาเป็นทั้งมวลประสบการณ์และเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ ถ้าขาดสื่อสำคัญนี้แล้ว เราคงไม่สามารถรวมกันเป็นสังคมได้ ภาษาจึงเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญที่ทำให้คนเข้าใจกัน ภาษา คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มนุษย์อาศัยทักษะทั้ง ๔ ประการ สร้างเสริมสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิดพัฒนาอาชีพและพัฒนาบุคลิกภาพ รวมทั้งอื่นๆอีกมากให้กับตนเองและสังคมด้วยเหตุผลดังกล่าวภาษาจึงมีบทบาทและความสำคัญสำหรับบุคคลทุกคน

ภาษาอังกฤษนั้นถือได้ว่าเป็นภาษาสากลที่สามารถใช้สื่อสารเป็นภาษากลางได้ในระดับนานาชาติตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันทั้งในชีวิตประจำวัน การศึกษา และบริบทของการทำงาน ในปัจจุบันการสื่อสารกับคนที่อยู่ต่างสถานที่กันทำได้ขึ้นและรวดเร็ว การสื่อสารที่ดีนั้นจะต้องสื่อความได้รู้เรื่อง เข้าใจ และทันท่วงที หากสื่อสารได้ล่าช้าจะทำให้การสื่อสารติดขัด ดังนั้น การสื่อสารที่ประสิทธิภาพจะต้องมีความถูกต้องในการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ รวมไปถึงการสื่อสารที่คล่องแคล่วและลื่นไหล หรืออย่างน้อยมีกลยุทธ์ที่จะทำให้การสื่อสารของเราดำเนินไปได้โดยไม่หยุดชะงัก ดังนั้น การเรียนภาษาจึงต้องเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนในด้านความถูกต้องและเพิ่มความคล่องแคล่วรวมทั้งความมั่นในในการใช้ภาษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างโอกาสในการใช้ภาษาในการสื่อสารให้กับผู้เรียน รู้จักเลือกเครื่องมือสืบค้น นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ การประกอบอาชีพ ตลอดจนนำไปใช้สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง อันจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศต่อไป

จากความสำคัญเบื้องต้น เมื่อนำมาคำนึงในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ผู้สอนจะต้องจัดกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนใช้ภาษาในการสื่อสารในสถานการณ์ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคยและมีความรู้ ทักษะที่จะนำภาษาอังกฤษไปใช้ได้อย่างทันท่วงที เหมาะสมกับกาลเทศะและวัฒนธรรมต่างๆที่มีความหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียน และการประกอบอาชีพในอนาคตได้

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายของการสอนภาษาอังกฤษ คือการสร้างสมรรถนะในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ แต่ผลลัพธ์ในการจัดการศึกษากลับพบว่านักเรียนสื่อสารผลประเมินคะแนนภาษาอังกฤษของประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักพบว่า ประเทศไทยมีคะแนนการใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในลำดับที่ 89 จาก 100 ประเทศ (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563) ซึ่งที่ประชุมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีข้อสรุปว่าจะต้องเดินหน้ายกระดับภาษาอังกฤษของเด็กไทยอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ ณัชปภา (2561) กล่าวว่า ปัญหาด้านทักษะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของเด็กไทยนั้นเกิดจากการสอนภาษาอังกฤษแบบเน้นการท่องจำกฎไวยากรณ์และคำศัพท์มากจนเกินไป โดยขาดการฝึกให้ผู้เรียนได้นำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร ตั้งแต่แรกเริ่มไปจนถึงในระดับอุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของอาทิตย์ อินต๊ะแก้ว ซึ่งพบว่า นักศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้นเน้นการเรียนภาษาอังกฤษผ่านการวิเคราะห์ไวยากรณ์มากกว่าการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึง นักศึกษาไม่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการพูดได้ หรือพูดได้แต่ไม่คล่องแคล่ว ทำให้เกิดความชะงักในการสื่อสาร นักศึกษาขาดความมั่นใจ และมีคลังคำศัพท์ที่ไม่เพียงพอต่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเรียนรู้การวิเคราะห์ไวยากรณ์และการท่องจำคำศัพท์ นักศึกษากลับไม่สามารถเรียบเรียงคำและประโยคได้ และใช้เวลาค่อนข้างนานในการสื่อสาร อันเนื่องมาจากการขาดการฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารทั้งในและนอกชั้นเรียน ณัชปภา (2561) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ค่านิยมของคนไทยมักจะเน้นการศึกษาเพื่อทำให้ตนเองมีสถานะภาพทางการศึกษาเท่าเที่ยมกับผู้อื่น โดยขาดความคำถึงการพัฒนาคุณภาพและความสามารถที่ตนจะได้รับการศึกษาอย่างแท้จริง โดยในระดับโรงเรียนมักจะมุ่งเน้นไปที่การทำข้อสอบให้ผ่านมากกว่าการเรียนภาษาเพื่อให้สามารถนำไปสื่อสารในชีวิตจริงได้ ซึ่งสอดคล้องกับการรายงานระดับ CEFR ของนักเรียนที่อยู่ในลำดับที่89จาก100ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระดับที่ต่ำ (คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2563)

ดังนั้น การศึกษาและพัฒนาการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นให้ผู้เรียนสื่อสารได้ ในการทำการวิจัยในครั้งนี้ จะมุ่งเน้นไปที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ในการสอนทักษะการฟัง เป็นการสอนทักษะการฟังที่ให้ความสำคัญของข้อมูล กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถจับใจความสำคัญจากการฟัง โดยเริ่มต้นจากการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งอาจจะจับใจความได้ไม่ครบถ้วน แต่สามารถระบุใจความหลักได้ ไปจนถึงการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้น และเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยการสอนภาษาชนิดนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะทางภาษามาใช้เพื่อการสื่อสารได้ ผ่านกิจกรรมควรให้ผู้เรียนได้ได้ทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้ปรึกษาหารือกันและช่วยเหลือกันในการทำงาน ตามหลักการถ่ายโอนข้อมูล หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล หลักการประสานต่อ และหลักการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ เพื่อให้กิจกรรมที่ใช้ในการสอนทักษะการฟังและจับใจความสำคัญเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ภาษาในสถานการณ์จริง หรือการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย ส่วนมากเป็นกิจกรรมกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการปฏิสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1. หลักการถ่ายโอนข้อมูล เป็นกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้รับจากการฟังมาถ่ายทอดต่อผู้อื่นเท่าที่จำได้ โดยไม่จำเป็นต้องจำได้ครบ 2. หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนเติมข้อมูลสำคัญจากการฟัง และมีการทำงานเป็นกลุ่ม 3. หลักการประสานต่อ เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้รับจากการฟัง มาถ่ายทอดให้กับเพื่อนร่วมกลุ่ม และนำสารจากเพื่อนร่วมกลุ่มมาเติมเต็มใจความสำคัญจากการฟังให้สมบูรณ์ และ 4. หลักการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นกิจกรรมที่นักเรียนนำข้อมูลจากการฟังและจับใจความจากสมาชิกแต่ละคน มาสร้างชิ้นงาน

จากแนวคิดและความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเน้นทักษะการฟังและจับใจความตามทฤษฎีของคีธ จอห์นสัน คณะผู้จัดทำมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ผ่านการสอนทักษะการฟังและจับใจความ โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการฟัง และจับใจความ สามารถนำข้อมูลจากการฟังไปใช้ในการสื่อสารเป็นภาษานานาชาติให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนต่อการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าโดยจำแนกตามเพศและประสบการณ์ในการเรียน

สมมติฐานการวิจัย

นักเรียนที่มีเพศและประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

แตกต่างกัน

ขอบเขตการวิจัย

ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ไว้ดังนี้

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยได้ศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จากการนำทฤษฎี คีธ จอหน์สัน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้น ดังนี้

1.1 หลักการการถ่ายโอนข้อมูล

1.2 หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล

1.3 หลักการการประสานต่อ

1.4 หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

1.5 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า จำนวน 431 คน

2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เป็นจำนวน 117 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย

3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ สถานภาพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

3.1.1 เพศ ได้แก่ เพศชายและเพศหญิง

3.1.2 ประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษ

3.1.2.1 น้อยกว่า 3 ปี

3.1.2.2 3-5 ปี

3.1.2.3 มากกว่า 5 ปีขึ้นไป

3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ประกอบไปด้วย 5 ขั้น

3.2.1 หลักการการถ่ายโอนข้อมูล

3.2.2 หลักการของช่องว่างระหว่างข้อมูล

3.2.3 หลักการการประสานต่อ

3.2.4 หลักการการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

3.2.5 หลักการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา

4. ขอบเขตด้านระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

ระยะเวลา ปีการศึกษา 2563 ตั้งแต่ เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ 2564

นิยามศัพท์เฉพาะ

การศึกษาการพัฒนาทักษะการฟังจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ผู้วิจัยได้กำหนดคำนิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้

1. การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนสอนโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ คีธ จอห์นสัน ในการสอนทักษะการฟัง

2. ทักษะการฟัง หมายถึง การฟังสารและสามารถระบุใจความสำคัญจากสารได้

3. นักเรียน หมายถึง ผู้ศึกษาเล่าเรียน ผู้รับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า

4. เพศ หมายถึง ลักษณะที่บอกให้ใครๆ รู้ว่า บุคคลนั้นๆ เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย

1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทักษะในการในการฟัง และจับใจความสำคัญ

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า มีทัศนคติที่ดีต่อการทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษมากขึ้น

โพสต์โดย คนบนฟ้า : [28 มี.ค. 2567 (14:43 น.)]
อ่าน [2034] ไอพี : 171.97.80.154
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 3,752 ครั้ง
6 จุดที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังลับในบ้าน ที่ต้องเร่งกำจัดก่อนจะบั่นทอนชีวิตทุกวัน
6 จุดที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังลับในบ้าน ที่ต้องเร่งกำจัดก่อนจะบั่นทอนชีวิตทุกวัน

เปิดอ่าน 16,582 ครั้ง
เตือนมีภาพ-คลิปโป๊เด็กต่ำกว่า 18 ปี ในมือถือ ระวังเจอโทษหนัก
เตือนมีภาพ-คลิปโป๊เด็กต่ำกว่า 18 ปี ในมือถือ ระวังเจอโทษหนัก

เปิดอ่าน 9,847 ครั้ง
คนนอนกรนไม่ต้องกลัวเป็นโรคหัวใจไม่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
คนนอนกรนไม่ต้องกลัวเป็นโรคหัวใจไม่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

เปิดอ่าน 11,914 ครั้ง
"สับปะรด" ลดริ้วรอยบนใบหน้า
"สับปะรด" ลดริ้วรอยบนใบหน้า

เปิดอ่าน 29,536 ครั้ง
"ซอกแจ" เด็กเกาหลีป.4 ที่ถูกเพื่อนๆ เพิกเฉย ไปดูกันว่า คุณครูช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไร?
"ซอกแจ" เด็กเกาหลีป.4 ที่ถูกเพื่อนๆ เพิกเฉย ไปดูกันว่า คุณครูช่วยแก้ปัญหานี้อย่างไร?

เปิดอ่าน 25,359 ครั้ง
ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?
ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?

เปิดอ่าน 11,667 ครั้ง
4 พัฒนาการที่แม่ควรส่งเสริม
4 พัฒนาการที่แม่ควรส่งเสริม

เปิดอ่าน 2,097 ครั้ง
กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน และการรักษากรดไหลย้อน

เปิดอ่าน 17,766 ครั้ง
ภัยร้ายความเค็มสะสมจากพริกน้ำปลา
ภัยร้ายความเค็มสะสมจากพริกน้ำปลา

เปิดอ่าน 79,423 ครั้ง
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น

เปิดอ่าน 12,165 ครั้ง
รูดซิป"กูเกิล ดูเดิล" เปิดประวัติ "กิเดียน ซุนด์แบกด์" ผู้ให้กำเนิด"ซิป"คนแรกของโลก
รูดซิป"กูเกิล ดูเดิล" เปิดประวัติ "กิเดียน ซุนด์แบกด์" ผู้ให้กำเนิด"ซิป"คนแรกของโลก

เปิดอ่าน 38,433 ครั้ง
ทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักมาก
ทำให้ถั่วฝักยาวมีฝักมาก

เปิดอ่าน 10,295 ครั้ง
ปัญหา คือ การเรียนรู้ ?
ปัญหา คือ การเรียนรู้ ?

เปิดอ่าน 22,530 ครั้ง
ผวาทั้งเอเชีย ข้าวพลาสติกเมดอินไชน่าระบาด กินแล้วอาจถึงตาย
ผวาทั้งเอเชีย ข้าวพลาสติกเมดอินไชน่าระบาด กินแล้วอาจถึงตาย

เปิดอ่าน 18,686 ครั้ง
เงินเดือนมาก-น้อยไม่สำคัญ ทุกเดือนคุณเหลือเงินกี่บาท ?
เงินเดือนมาก-น้อยไม่สำคัญ ทุกเดือนคุณเหลือเงินกี่บาท ?

เปิดอ่าน 42,555 ครั้ง
6 ขั้นตอนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันในองค์กร เพื่อรักษาคนเก่งขององค์กร
6 ขั้นตอนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานและความผูกพันในองค์กร เพื่อรักษาคนเก่งขององค์กร
เปิดอ่าน 16,609 ครั้ง
เด็กกับโรคหวัด
เด็กกับโรคหวัด
เปิดอ่าน 10,752 ครั้ง
ล้มต้นไม้มือเปล่า ผู้ชายคนนี้ ขวานไม่ต้อง
ล้มต้นไม้มือเปล่า ผู้ชายคนนี้ ขวานไม่ต้อง
เปิดอ่าน 41,059 ครั้ง
เข้าใจการวางแผนสื่อโฆษณา covid-19 ช่วยธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้น
เข้าใจการวางแผนสื่อโฆษณา covid-19 ช่วยธุรกิจปรับตัวได้ดีขึ้น
เปิดอ่าน 41,482 ครั้ง
นักเทคโนโลยีการศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ