การบริหารจัดการสถานศึกษานั้น ผู้ที่มีความสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อน คือ ผู้บริหารสถานศึกษา โดยบริบทของโรงเรียนปางมะกาดวิทยา เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ในการบริหารงานของข้าพเจ้าจึงนำหลัก การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participative Management) มาเป็นกลไกหลักในการบริหารงานการศึกษาปฐมวัย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนปางมะกาดวิทยา โดยมีแนวคิดการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย แบบมีส่วนร่วม (Participative Management) : โดยใช้รูปแบบ MEESUK 4S MODEL ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหารที่มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ที่มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอย่างสมดุลรอบด้าน อันจะส่งผลให้โรงเรียนมีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ (Smart School) มีรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (Smart Network) มีเครือข่ายในการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ (Smart teacher) ครูผู้สอนระดับปฐมวัย มีเทคนิค วิธีการ มีแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ที่เป็นเลิศ เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานต้นสังกัดและสามารถออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย (Active Learning) เน้นให้เด็กปฐมวัยเกิดประสบการณ์ตรง ส่งผลให้เด็กปฐมวัยปฐมวัยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ มีความสุข มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนปางมะกาดวิทยา (Smart Director) ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยด้วยรูปแบบ MEESUK 4S MODEL อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับ(Smart School) และผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอนปฐมวัย เกิดความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา
2) เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครูผู้สอนปฐมวัยปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามามีส่วนคิด ตัดสินใจ ร่วมวางแผนร่วมทำงาน และตกลงใจร่วมกันในการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ด้วยรูปแบบ MEESUK 4S MODEL ให้บรรลุเป้าหมาย และมีเครือข่ายการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ (Smart Network)
3) เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้สอนปฐมวัยมีความรู้ ทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย มีเทคนิค วิธีการ มีแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ที่เป็นเลิศ (Smart teacher)
4) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กปฐมวัยปฐมวัย ให้มีพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564-2565 โรงเรียนปางมะกาดวิทยา และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 (Smart student)
3. เป้าหมาย
3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. ผู้บริหาร ครูผู้สอนปฐมวัยปฐมวัย ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษา ร้อยละ 85 มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย ร่วมคิด ตัดสินใจ วางแผน ขับเคลื่อนการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ด้วยรูปแบบ MEESUK 4S MODEL ให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
2. ครูผู้สอนปฐมวัยปฐมวัย ร้อยละ 100 มีความรู้ ทักษะและกระบวนการในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ เน้นให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) (Smart teacher)
3. เด็กปฐมวัยปฐมวัย ร้อยละ 90 มีพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา และมีทักษะกระบวนการคิด ผ่านเกณฑ์ตามหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2560 หลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564-2565 โรงเรียนปางมะกาดวิทยา และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย พ.ศ. 2561 (Smart student)
3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ
สถานศึกษามีกระบวนการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ด้วยรูปแบบ MEESUK 4S MODEL ที่มีประสิทธิภาพ เกิดการยอมรับ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ปกครอง ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอนปฐมวัยปฐมวัย มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของสถานศึกษา ระดับ พึงพอใจมาก ขึ้นไป (Smart School) มีเครือข่ายการจัดการศึกษาปฐมวัยที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ (Smart Network) และมีผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับ ดีเลิศ ขึ้นไปทั้ง 3 มาตรฐาน