ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนา
ทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง
ผู้วิจัย นางพชรพัชร์ ราชนิล
ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง 2) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง 3) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง และ 4) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง โดยการวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู และพฤติกรรมและความสามารถของเด็กนักเรียนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) 2) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง 3) การศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง 4) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง ห้มีความสมบูรณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) พบว่า สภาพปัจจุบันในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) อยู่ในระดับมาก
2. การศึกษาสภาพปัจจุบันพฤติกรรมและความสามารถในการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) ของเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง ทั้ง 9 ด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก
3. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง มีขั้นตอนทั้งสิ้น 4 ขั้นตอน
4. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด
5. การศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลโนนแดง พบว่า 1) เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีทักษะสมอง EF (Executive Functions) ด้านการจดจ่อใส่ใจ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะสมอง EF (Executive Functions) ด้านการควบคุมอารมณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะสมอง EF (Executive Functions) ด้านความจำเพื่อใช้งาน ด้านการมุ่งเป้าหมาย และด้านการติดตามและประเมินตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ครูและผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับเด็กนักเรียนโรงเรียนอนุบาล-เทศบาลตำบลโนนแดง พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด