ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ
จังหวัดเลย
ผู้วิจัย นายพงษ์เดช เสริฐศรี
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการ ผู้ให้ข้อมูล คือ 1) ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิในตรวจสอบรูปแบบ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ จำนวน 9 คน ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผล เชิงทฤษฎีและความสอดคล้องของร่างรูปแบบ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ครูผู้สอนระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 12 คน ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 2) แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 3) แบบประเมินผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียนและขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบ โดยประเมินผลรูปแบบ 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้องครอบคลุม โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งครอบคลุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 12 คน
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย สรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการในการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1.1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ การพัฒนาศักยภาพครู ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ มีดังนี้ 1) แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบ การพัฒนารูปแบบ การตรวจสอบรูปแบบ 2) แนวคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาศักยภาพครู ประกอบด้วย ความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพครู หลักการพัฒนาศักยภาพครู แนวทางการพัฒนาศักยภาพครู กระบวนการพัฒนาศักยภาพครู 2) แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย ความสำคัญของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ระดับของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ แนวทาง การเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ประกอบด้วย ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
1.2 สภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า
1) การจัดการเรียนรู้ของครูยังยึดติดกับตำราเรียน ใช้หนังสือสอนตามกรอบเนื้อหาในหนังสือเรียน เน้นการป้อนเนื้อหาให้ผู้เรียน ใช้การสอนแบบเดิม ๆ คือ เน้นการบรรยายและการสาธิตให้ดู นักเรียนขาดการลงมือปฏิบัติ ขาดการส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดแก้ปัญหา ครูขาดทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ขาดการประยุกต์ใช้รูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ ขาดความสอดคล้องกับเนื้อหาและตัวชี้วัด
2) สื่อการเรียนรู้ไม่เพียงพอและไม่มีความหลากหลาย สื่อการเรียนรู้ที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ หนังสือเรียนและแบบฝึกหัดจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ การใช้วิดีทัศน์ และวีดีโอการสอนจากอินเตอร์เน็ต เวปไซด์ต่าง ๆ
3) การจัดและประเมินผลการเรียนรู้ พบว่า ครูใช้การทดสอบความรู้ด้วย การใช้แบบทดสอบ เน้นการจัดพฤติกรรมด้านความรู้ ความเข้าใจเป็นหลัก ไม่ครอบคลุมพฤติกรรม อื่น ๆ เช่น การนำไปใช้ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ การประเมินผลด้านทักษะและความสามารถของนักเรียนครูยังขาดการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
1.3 ความต้องการของครู พบว่า ครูต้องการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายมากขึ้น ใช้เทคนิควิธีการใหม่มาประยุกต์ใช้ ในการสอน นำรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มาใช้ในการพัฒนาครูในโรงเรียนให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในโรงเรียน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย
2.1 รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า มีชื่อว่า BLADP Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการพัฒนา ซึ่งกระบวนการพัฒนาครูตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครู โดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มี 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การระดมความคิดเห็น (Brainstorm Ideas : B) ขั้นที่ 2 การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study : L) ขั้นที่ 3 การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : A) ขั้นที่ 4 การอภิปรายสะท้อนผล (Discussion and Reflection : D) ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ขยายผล (Publish and Expand results : P) 4) ระบบสนับสนุน 5) เงื่อนไขความสำเร็จ และ 6) การประเมินผล
2.2 ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย มีดังนี้
3.1 ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย ตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย พบว่า มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ผลประเมินการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย ตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย พบว่า มีผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ผลประเมินผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย ตามรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย พบว่า มีผลการประเมิน โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในโรงเรียนเทศบาลธาตุ สังกัดเทศบาลตำบลธาตุ จังหวัดเลย พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด