ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเชิงรุก โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS 5 STEPs เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านคิดวิเคราะห์ เรื่อง บทพากย์เอราวัณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึ

แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชาภาษาไทย ๖ รหัสวิชา ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ วิจักษณ์วรรณคดีไทยในบทพากย์เอราวัณ เวลาเรียนทั้งหมด ๑๐ ชั่วโมง

เรื่อง บทพากย์เอราวัณ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านคิดวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน

ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS 5 STEPs

ผู้สอน นางอมรา ศรีบุญเรือง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

๑. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง

สาระที่ ๑ สาระการอ่าน

กลุ่มที่ ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง

มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

มาตรฐาน ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

๒ ท ๑.๑ ม.๓/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ

บทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน ท ๑.๑ ม.๓/๓ ระบุใจความสําคัญ

และรายละเอียดของข้อมูลที่สนับสนุนเรื่องที่อ่าน

ท.๑.๑ ม.๓/๔ อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน

บันทึก ย่อความและรายงานแก้ปัญหาในชีวิต

ท ๕.๑ ม.๓/๑ สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้นในชีวิตจริง

ท ๕.๑ ม.๓/๓ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อนําไปประยุกต์ใช้

๓ ท ๑.๑ ม.๓/๙ ตีความและประเมินคุณค่าและแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนําไปใช้ ท ๑.๑ ม.๓/๕ วิเคราะห์ วิจารณ์

และประเมินเรื่อง ที่อ่านโดยใช้

กลวิธีการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่าน

เข้าใจได้ดีขึ้น

ท ๕.๑ ม.๓/๒ วิเคราะห์วิถีไทย และคุณค่าจากวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่าน

สาระที่ ๒ การเขียน

กลุ่มที่ ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง

มาตรฐาน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ

เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

๔ ท ๒.๑ ม.๓/๙ เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงาน ท ๒.๑ ม.๓/๒ เขียนข้อความโดยใช้ถ้อยคําได้ถูกต้องตามระดับภาษา

สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด

กลุ่มที่ ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง

มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึก

ในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

๕ ท ๓.๑ ม.๓/๓ พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา ท ๓.๑ ม.๓/๔ พูดในโอกาสต่าง ๆ

ได้ตรงตามวัตถุประสงค์

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม

กลุ่มที่ ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง

มาตรฐาน ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึก

ในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

๑๐ - ท ๕.๑ ม.๓/๔ ท่องจําและบอก

คุณค่าบทอาขยานตามที่กําหนด

และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตาม

ความสนใจและนําไปใช้อ้างอิง

๒. ตัวชี้วัด

ท ๑.๑ ม.๓/๑ อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน

ท.๑.๑ ม.๓/๔ อ่านเรื่องต่าง ๆ แล้วเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด สนับสนุนจากเรื่องที่อ่าน

ท ๕.๑ ม.๓/๑ สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านในระดับที่ยากขึ้นในชีวิตจริง

ท ๕.๑ ม.๓/๓ สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อนําไปประยุกต์ใช้

ท ๑.๑ ม.๓/๙ ตีความและประเมินคุณค่าและแนวคิดที่ได้จากงานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนําไปใช้

บันทึก ย่อความและรายงานแก้ปัญหาในชีวิต

ท ๕.๑ ม.๓/๒ วิเคราะห์วิถีไทย และคุณค่าจากวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่าน

ท ๒.๑ ม.๓/๙ เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงาน

ท ๓.๑ ม.๓/๓ พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา

๓. จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

๑. นักเรียนสามารถอธิบายสรุปเนื้อหาเรื่องบทพากย์เอราวัณในระดับที่ยากขึ้นในชีวิตจริงได้

๒. นักเรียนสามารถสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเรื่องบทพากย์เอราวัณเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ได้

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

๓. นักเรียนสามารถตีความและประเมินคุณค่า แนวคิดที่ได้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณได้

๔. นักเรียนสามารถเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิดได้

๕. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้

๖. นักเรียนสามารถเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงานได้

ด้านคุณลักษณะ (A)

๗. มีความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม

๔. สาระสำคัญ

บทพากย์เอราวัณ เป็นผลงานของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก

“รามายณะ” ของอินเดีย ต้องการสื่อให้เห็นโทษของความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสจะนำมาซึ่งความประมาทอันเป็นเหตุแห่งหายนะ เช่น พระลักษมณ์และไพร่พลวานรที่มัวแต่เพ่งดูเทวดา(แปลง) อย่างเพลิดเพลิน จนต้องศรของอินทรชิตในที่สุดเนื้อหาของเรื่องพรรณนาถึงความยิ่งใหญ่ งดงามของกระบวนทัพของอินทรชิตซึ่งแปลงตัวเป็นพระอินทร์ ช้างเอราวัณและเหล่าเทวดา

๕. สาระการเรียนรู้

บทพากย์เอราวัณ

การอ่านออกเสียงร้อยกรองทำนองเสนาะ

เขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงานได้

๖. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ความสามารถในการคิด

ความสามารถในการสื่อสาร

๗. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

ใฝ่เรียนรู้

มีวินัย

รักความเป็นไทย

๘. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (แนวคิดวรรณคดีเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS 5 STEPs เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์)

ชั่วโมงที่ ๑

๑. นักเรียนและครูกล่าวทักทายกัน ทบทวนบทเรียนที่เรียนไปในชั่วโมงที่ผ่านมา

๒. นักเรียนรับฟังเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้จากครู

๓. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่องบทพากย์เอราวัณ จำนวน ๒๐ ข้อ เพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียนจากนั้นเมื่อนักเรียนทำเสร็จเรียบร้อยให้นักเรียนเก็บรวบรวมแบบทดสอบก่อนเรียนส่งคืนครู

ขั้นที่ ๑ ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering)

๔. ให้นักเรียนร่วมกันสนทนา โดยครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียน ดังนี้

-ช้างเอราวัณเป็นพาหนะของใคร (พระอินทร์)

-นักเรียนเคยเห็นสถาปัตยกรรม หรือจิตรกรรมเกี่ยวกับช้างเอราวัณหรือไม่ (ตัวอย่างคำตอบ เคยเห็น สถาปัตยกรรมที่พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ)

๕. นักเรียนศึกษาบัตรความรู้ เรื่อง บทพากย์เอราวัณ จากชุดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดี เรื่อง บทพากย์เอราวัณ

๖. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณที่ได้เรียนในคาบเรียนนี้

ชั่วโมงที่ ๒

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา ทบทวนเนื้อหาจากบทพากย์เอราวัณจากชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นที่ ๑ ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering)

๒. นักเรียนอ่านบทพากย์เอราวัณ โดยอ่านอย่างละเอียด

๓. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำกิจกรรมจากบัตรกิจกรรมที่ ๑ รวบรวมข้อมูล โดยให้นักเรียนอ่าน บทพากย์เอราวัณอย่างละเอียด ทำกิจกรรม ถอดความบทพากย์เอราวัณ (ตามกลุ่มที่จับสลากคำประพันธ์ได้) และบันทึกความรู้ลงในบัตรกิจกรรมที่ ๑ (ชิ้นงานกลุ่มนักเรียนอาจเขียนหรือพิมพ์ส่งเป็นชิ้นงานได้)

๔. นักเรียนนำเสนองานกลุ่มหน้าชั้นเรียน

๔. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณที่ได้เรียนในคาบเรียนนี้

ชั่วโมงที่ ๓

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา ทบทวนเนื้อหาบทพากย์เอราวัณจากชั่วโมงที่ผ่านมา

ขั้นที่ ๒ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๒. นักเรียนทำกิจกรรมจากบัตรกิจกรรมที่ ๒ วิเคราะห์และสรุปความ โดยให้นักเรียนตอบคำถามจากการอ่านเรื่องบทพากย์เอราวัณ

๓. นักเรียนช่วยกันตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่อง บทพากยเอราวัณ โดยครูเป็นผู้แนะนำ เช่น

-อินทรชิตมีความพร้อมในการจัดทัพอย่างไร

-ในบทพกย์เอราวัณ เมื่อพระรามตื่นบรรทมบรรยายถึงสัตว์ชนิดต่าง ๆ ว่าอย่างไรบ้าง

-มีการพรรณนาความยิ่งใหญ่ของกองทัพพระรามอย่างไรบ้าง

๔. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณที่ได้เรียนในคาบเรียนนี้

ชั่วโมงที่ ๔

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา แสดงความคิดเห็นในความยิ่งใหญ่ของช้างเอราวัณ

ขั้นที่ ๒ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๒. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายคุณค่าของวรรณคดีด้านต่าง ๆ (ประกอบด้วย ๓ ด้าน

คือ ๑. คุณค่าด้านเนื้อหา ๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๓. คุณค่าด้านสังคม)

๓. ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียน ดังนี้

- นักเรียนชอบตัวละครใดมากที่สุด และตัวละครนั้นมีคุณธรรมใดที่น่ายึดถือเป็นแบบอย่าง

(แนวคำตอบ : ชอบสุครีพมากที่สุด เพราะสุครีพเป็นทหารที่ฉลาดและช่างสังเกต อีกทั้งยังไม่ตั้งอยู่ในความประมาท สังเกตได้จากตอนที่สุครีพได้ซอง และบอกกับพระเมื่อเห็นทัพของพระอินทร์ว่าน่าจะมีอะไรไม่ชอบมาพากล)

- นักเรียนคิดว่าการที่พระลักษมณ์เพลี่ยงพล้ำให้แก่อินทรชิต เนื่องมาจากสาเหตุใดและจะมีวิธีป้องกันความผิดพลาดในครั้งนี้อย่างไร

(แนวคำตอบ : ความหลงใหลในรูปภายนอก และความประมาทว่าสิ่งสวยงามจะไม่เป็นพิษเป็นภัย การแก้ปัญหา คือ พระลักษมณ์ควรมีสติอยู่ตลอดเวลา อย่าประมาทให้สิ่งมามอมเมาเราได้ง่าย ๆ จะทำอะไรก็ควรรอบคอบ ไม่ประมาท)

- จากบทบรรยายกองทัพในบทพากย์เอราวัณ แสดงให้เห็นความแตกต่างของทัพฝ่ายพระรามกับฝ่ายอินทรชิตอย่างไรบ้าง นักเรียนคิดว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

(แนวคำตอบ : พรรณนากองทัพพระอินทร์แปลง แสดงถึงความมีอำนาจยิ่งใหญ่ ทัพหน้า คือ เทพารักษ์ ทับหลัง คือ ครุฑ กินนร นาค ปีกขวา คือ คนธรรพ์ ปีกซ้าย คือ วิทยาธร ทหารแปลงกาย ทุกนายล้วนถืออาวุธ คือ โตมร ศร พระขรรค์ คทา พรรณนากองทัพพระราม พระลักษมณ์ว่ามีความงามยิ่งใหญ่ เมื่อเคลื่อนขบวน แผ่นดินสะเทือน เลื่อนลั่น บรรดาสัตว์ต่างตกใจวิ่งหนี แม้แต่นกหัสดีลิงค์ที่คาบช้างมาก็ปล่อยให้ช้างหลุดจากปาก)

๔. นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่อง ความรู้และข้อคิดในบทพากย์เอราวัณ โดยให้นักเรียนเขียนความรู้และข้อคิดในบทพากย์เอราวัณ ลงในสมุดภาษาไทย

๕. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้

ความรู้ที่ได้จากบทพากย์เอราวัณ

(๑) ได้รับความรู้เกี่ยวกับลักษณะของช้างเอราวัณตามจินตนาการของกวี

(๒) ได้รับความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของราชรถว่ามี ดุม วง เพลา กำ กง

(๓) ได้รับความรู้เกี่ยวกับตอนหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ คือ ศึกอินทรชิต และความรู้ประกอบ เช่น คนธรรพ์ นาค ครุฑ วิทยาธร

ชั่วโมงที่ ๕

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากเรื่องบทพากย์เอราวัณ

ขั้นที่ ๒ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๒. นักเรียนเลือกบทประพันธ์ที่มีศิลปะการประพันธ์โดดเด่น คนละ ๑ บท อธิบายเหตุผลที่เลือกคำประพันธ์นั้น คนสุ่มถามนักเรียนทีละคน แล้วให้เพื่อน ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น

๓. นักเรียนศึกษาแนวทางการประเมินคุณค่าวรรณคดีจากบทวิเคราะห์ แล้วร่วมกันประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์จากบทพากย์เอราวัณ (สรุปแนวคิด บทพากย์เอราวัณมีความโดนเด่นที่บทพรรณนาช้างเอราวัณ บทพรรณนากองทัพของพระราม บทพรรณนาความงามของธรรมชาติ ใช้ถ้อยคำภาษาให้เกิดจินตนาการด้วยการใช้ คำสั้น ๆ แต่ได้ความหมาย และมีการใช้ภาพพจน์ทำให้เกิดภาพ)

๔. นักเรียนศึกษาแนวทางการประเมินคุณค่าวรรณคดีจากบทวิเคราะห์ แล้วร่วมกันประเมินคุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรมจากบทพากย์เอราวัณ (สรุปแนวคิด บทพากย์เอราวัณมีแสดงให้เห็นคุณค่าด้านของศิลปวัฒนธรรมไทยในด้านการแสดง เช่น โขน หนังใหญ่ สะท้อนความเชื่อในเรื่องเทพ และการจัดทัพตามตำราพิชัยสงคราม)

ขั้นที่ ๓ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge)

๕. นักเรียนทำกิจกรรมจากบัตรกิจกรรมที่ ๓ โดยนำความรู้และข้อคิดที่ได้จากการตีความและประเมินคุณค่าแนวคิด ที่ได้จากจากการอ่านบทพากย์เอราวัณ มาสรุปเป็นหลักการเขียนบันทึกการเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ

๖. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้และข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงดังนี้

ข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง

(๑) คนที่มีคุณธรรมอย่างพระราม พระลักษมณ์ แม้แต่เทวดาก็สรรเสริญยกย่องคนดี

(๒) เมื่อมีอำนาจวาสนา หรือฤทธิ์เดชอย่างอินทรชิตก็ไม่ควรเหิมเกริม ใช้อำนาจในการสู้รบหรือทำลายผู้อื่น

(๓) ธรรมะย่อมชนะอธรรม

(๔) อย่าประมาท หรือลุ่มหลง อาจทำให้ชีวิตผิดพลาดได้

ชั่วโมงที่ ๖

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากเรื่องบทพากย์เอราวัณ

ขั้นที่ ๒ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๒. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา ทบทวนเนื้อหาสาระการเรียนรู้จากชั่วโมงที่ผ่านมา

๓. นักเรียนทำกิจกรรม วนให้ครบจบแล้วจำ ก่อนการเรียน กติกาคือ ให้นักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลม แล้วครูสุ่มเลือกนักเรียนเพื่อเป็นคนแรกในการเริ่มกิจกรรม โดยให้คนแรกพูดชื่อตัวละครในวรรณคดีเรื่องใดก็ได้ แล้วคนที่อยู่ทางด้านขวามือ ก็พูดชื่อของคนที่อยู่ซ้ายมือพร้อมชื่อที่ตนคิด ทำแบบนี้จนเวียนมาครบที่คนแรกอีกครั้ง เช่น คนที่ ๑ อินทรชิต คนที่สอง อินทรชิต เอราวัณ คนที่สาม อินทรชิต เอราวัณ พระลักษมณ์

ขั้นที่ ๓ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge)

๔. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ ๕ คน ทำกิจกรรมจากบัตรกิจกรรมที่ ๔ โดยให้สมาชิกปรึกษา และทบทวนความรู้เรื่องบทพากย์เอราวัณ แล้วช่วยกันเสนอความคิดข้อสรุป จากเรื่อง เช่น ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เรื่องย่อ คุณค่าและข้อคิด เป็นต้น

๕. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับกระดาษชาร์ท เพื่อนำไปทำเป็นผังความคิดสรุปความรู้เรื่องบทพากย์เอราวัณ

๖. สมาชิกแต่ละกลุ่มระดมความคิด ช่วยกันลงมือทำผังความคิด เรื่อง บทพากย์เอราวัณ(ระหว่างการทำงานกลุ่ม ครูเปิดวิดีทัศน์ เรื่อง บทพากย์เอราวัณ เพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ควบคู่การทำผังความคิด)

ขั้นที่ ๔ ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill)

๗. แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

ขั้นที่ ๕ ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า (Self-Regulating)

๘. นักเรียนรวบรวมผลงานผังความคิด เรื่องบทพากย์เอราวัณของทุกกลุ่มนำไปจัดแสดงผลงานในป้ายนิเทศในชั้นเรียน

๙. นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับหลักการเขียนผังความคิด (เก็บสะสมคะแนน)

๑๐. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละกลุ่ม

ชั่วโมงที่ ๗

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากเรื่องบทพากย์เอราวัณ

ขั้นที่ ๑ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๒.นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นโดยครูใช้คำถาม ดังนี้

- การท่องจำบทอาขยานมีความสำคัญอย่างไร

(แนวคำตอบ เป็นคติเตือนใจ แฝงข้อคิดที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้

ขั้นที่ ๒ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๓. นักเรียนฟังตัวอย่างการอ่านทำนองเสนาะ พร้อมตั้งคำถามว่า เป็นการบทประพันธ์ชนิดใด

๔. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน ๕ คน โดยแบ่งตามความสมัครใจ ท่องจำบทประพันธ์จากบัตรความรู้ที่ ๒จากนั้นช่วยกันวิเคราะห์บทประพันธ์ที่ได้ฟังข้างต้น แล้วเสนอความคิดเห็นของตนว่าเป็นบทประพันธ์ชนิดใด เพราะเหตุใด

ขั้นที่ ๓ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge)

๕. นักเรียนฟังตัวอย่างการอ่านทำนองเสนาะบทประพันธ์แม่บท เรื่อง บทพากย์เอราวัณที่ครูจัดเตรียมไว้

๖. นักเรียนทุกคนอ่านบทประพันธ์แม่บทพร้อมกัน ดังนี้

๏ อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองค์อมรินทร์

ทรงคชเอราวัณ

๏ ช้างนิรมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ

สีสังข์สะอาดโอฬาร์

๏ สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา

ดั่งเพชรรัตน์รูจี

๏ งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี สระหนึ่งย่อมมี

เจ็ดกออุบลบันดาล

๏ กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน

มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา

๏ กลีบหนึ่งมีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา

แน่งน้อยลำเพานงพาล

๏ นางหนึ่งย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์

ล้วนรูปนิรมิตมายา

๏ จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองหางตา

ทำทีดังเทพอัปสร

๏ มีวิมานแก้วงามบวร ทุกเกศกุญชร

ดังเวไชยันต์อมรินทร์

๗. นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน ๕ คน โดยแบ่งตามความสมัครใจ ฝึกซ้อมท่องอาขยานบทประพันธ์แม่บท เรื่อง บทพากย์เอราวัณ จากนั้นมาสอบในคาบถัดไป

๘. นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับคุณค่าบทประพันธ์ที่กำหนด (เก็บสะสมคะแนน)

๙. นักเรียนและครูร่วมกันท่องอาขยานบทประพันธ์แม่บทเรื่อง บทพากย์เอราวัณพร้อมกันอีกครั้ง

ชั่วโมงที่ ๘

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากเรื่องบทพากย์เอราวัณ

ขั้นที่ ๔ ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill)

๒. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาท่องบทอาขยานบทประพันธ์แม่บทเรื่อง บทพากย์เอราวัณ หน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินความถูกต้อง

ขั้นที่ ๕ ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า (Self-Regulating)

๓. นักเรียนนำบทอาขยานที่ท่องจำไปท่องให้สมาชิกในครอบครัวฟัง และนำไปท่องผ่านกิจกรรมเสียงตามสายของโรงเรียนเพื่อเป็นการเผยแพร่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

๔. นักเรียนรวบรวมผลงาน จากบัตรกิจกรรมต่าง ๆ จัดแสดงผลงานในป้ายนิเทศในชั้นเรียน และนำเสนอผลงานในกระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละห้องเรียน (Application Padlet)

๕. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณ

ชั่วโมงที่ ๙

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากเรื่องบทพากย์เอราวัณ

ขั้นที่ ๑ ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering)

๒. นักเรียนร่วมกันสนทนาโดยตอบคำถาม ดังนี้

-การเขียนรายงานทั่วไปแตกต่างจากการเขียนรายงานโครงงานอย่างไร

(ตัวอย่างคำตอบ การเขียนรายงานโครงงานเป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง อาจเป็น การสำรวจทดลอง แล้วนำข้อมูลมาจัดทำเป็นรายงานตามขั้นตอนการทำโครงงาน ส่วนการเขียนรายงานทั่วไปเป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ แล้วนำมาเขียนรายงาน)

๓.นักเรียนศึกษาบัตรความรู้ที่ ๓ เรื่อง การเขียนรายงานโครงงาน แล้วร่วมกันสนทนาเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมกลุ่มต่อไป

ขั้นที่ ๒ ขั้นวิเคราะห์และสรุปความรู้ (Processing)

๔. นักเรียนร่วมกันเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับโครงงานที่นักเรียนเคยทำว่ามีลักษณะอย่างไรบ้างการทำโครงงานนั้นมีจุดประสงค์อย่างไรเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

๕. นักเรียนดูตัวอย่างโครงงานหลาย ๆ ประเภทแล้วร่วมกันวิเคราะห์ประเภทของโครงงาน

๖. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕-๖ คน ทำกิจกรรมกลุ่ม บัตรกิจกรรมที่ ๖ โครงงานภาษาไทย ให้นักเรียนทำโครงงานเกี่ยวกับภาษา วรรณคดี วรรณกรรมท้องถิ่น บุคคลสำคัญในท้องถิ่น

ขั้นที่ ๓ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge)

๗. นักเรียนเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงและลงมือทำโครงงานตามแผนที่วางไว้แล้วเขียนรายงานโครงงานจัดทำเป็นรูปเล่มรายงานให้สมบูรณ์พร้อมกับจัดแผงโครงงานเพื่อใช้ประกอบการนำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียน

๘. นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน ดังนี้

การเขียนรายงานโครงงาน เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากการสำรวจ การทดลอง การประดิษฐ์ ผลงานการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบของเอกสารเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบที่มารายละเอียดของข้อมูลต่าง ๆ ขั้นตอนการปฏิบัติงานผลที่เกิดขึ้นของโครงงานนั้น จะต้องศึกษาหัวข้อในการเขียนให้ชัดเจนเขียนให้ถูกต้องตามรูปแบบ เรียบเรียงข้อมูล และใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้มาศึกษา (เตรียมนำเสนอโครงงานคาบต่อไป)

๙. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้จากเรื่อง การเขียนรายงานโครงงาน

ชั่วโมงที่ ๑๐

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากเรื่องการเขียนโครงงาน

๒. นักเรียนรับฟังเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้จากครู

ขั้นที่ ๓ ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge)

๓. นักเรียนและครูร่วมกันสนทนา โดยให้นักเรียนตอบคำถาม ทบทวนเนื้อหาจากชั่วโมงที่ผ่านมา

-การเขียนรายงานโครงงานมีประโยชน์ต่อการนำเสนอผลงานอย่างไร

(ตัวอย่างคำตอบ สามารถนำเสนอข้อมูลและสรุปผลจากการทำโครงงานนั้นได้อย่างเป็นระบบเป็นการขยายความรู้ความคิดให้กับตนเองและผู้อื่นนำไปเป็นแนวทางในการจัดทำโครงงานต่อไป)

ขั้นที่ ๔ ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill)

๔. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานกลุ่มชั้นเรียน นักเรียนและครูร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

ขั้นที่ ๕ ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่า (Self-Regulating)

๕. นักเรียนรวบรวมผลของทุกกลุ่มนำไปจัดแสดงผลงานในป้ายนิเทศในชั้นเรียน และนำเสนอผลงานในกระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละห้องเรียน (Application Padlet)

๖. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง บทพากย์เอราวัณ

๙. สื่อและแหล่งการเรียนรู้

๙.๑ หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

๙.๒ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดี เรื่อง บทพากย์เอราวัณ

๑๐. การวัดและประเมินผล

๑๐.๑ การวัดผล

จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีวัด เครื่องมือ เกณฑ์การวัด

๑. สามารถอธิบาย สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องบทพากย์เอราวัณในระดับที่ยากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ (K) -ประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๑

แบบประเมินบัตรกิจกรรมที่๑ ได้คะแนนคุณภาพระดับ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๒. สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเรื่องบทพากย์เอราวัณเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ได้ (K) ประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๒ แบบประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๒ ได้คะแนนคุณภาพระดับ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๓. นักเรียนสามารถตีความและประเมินคุณค่าและแนวคิดที่ได้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณได้ (P) ประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๓ แบบประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๓ ได้คะแนนคุณภาพระดับ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๔. นักเรียนสามารถเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิดได้ (P)

ประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๔ แบบประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๔ ได้คะแนนคุณภาพระดับ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๕. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง บทร้อยกรองได้ (ท่องอาขยาน) (P) ประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๕ แบบประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๕ ได้คะแนนคุณภาพระดับ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๖. นักเรียนสามารถเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงานได้

ประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๖ แบบประเมินบัตรกิจกรรมที่ ๖ ได้คะแนนคุณภาพระดับ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๗. มีความสามัคคีในการทำงาน กลุ่ม (A) สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มได้ระดับคุณภาพ ๓ ขึ้นไปถือว่าผ่านเกณฑ์

๑๐.๒ การประเมินผล

เกณฑ์การประเมิน ระดับคุณภาพ

๔ (ดีมาก) ๓ (ดี) ๒ (พอใช้) ๑ (ปรับปรุง)

๑. สามารถอธิบาย สรุปความรู้และข้อคิดจากเรื่องบทพากย์เอราวัณในระดับที่ยากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ (K) ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๑ ๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๑ ๗–๘ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๑ ๕-๖ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๑ ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๒. สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเรื่องบทพากย์เอราวัณเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ได้ (K) ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๒ ๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๒ ๗–๘ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๒ ๕-๖ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๒ ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๓. นักเรียนสามารถตีความและประเมินคุณค่าและแนวคิดที่ได้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณได้ (P) ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๓ ๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๓ ๗–๘ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๓ ๕-๖ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๓ ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๔. นักเรียนสามารถเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิดได้ (P) ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๔ ๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๔ ๗–๘ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๔ ๕-๖ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๔ ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๕. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียง บทร้อยกรองได้ (P) ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๕ ๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๕ ๗–๘ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๕ ๕-๖ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๕ ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๖. นักเรียนสามารถเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงานได้ (P)

ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๖ ๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๖ ๗–๘ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๖ ๕-๖ คะแนน ได้คะแนนจากการประเมินชิ้นงานบัตรกิจกรรมที่ ๖ ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๗. มีความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม (A) ได้คะแนนจาก

การประเมินพฤติกรรมกลุ่ม

๙-๑๐ คะแนน ได้คะแนนจาก

การประเมินพฤติกรรมกลุ่ม

๘ – ๙ คะแนน ได้คะแนนจาก

การประเมินพฤติกรรมกลุ่ม

๕ – ๗ คะแนน ได้คะแนนจาก

การประเมินพฤติกรรมกลุ่ม

ต่ำกว่า ๕ คะแนน

๑๑. บันทึกผลการตรวจ/นิเทศ/ติดตาม ข้อเสนอแนะของหัวหน้า/รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

ได้ตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้ของ นางอมรา ศรีบุญเรือง วิชา ภาษาไทย ๖

รหัสวิชา ท๒๓๑๐๒ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หน่วยที่ ๓ เรื่อง วิจักษณ์วรรณคดีไทยในบทพากย์เอราวัณ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง บทพากย์เอราวัณ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านคิดวิเคราะห์โดยใช้แนวคิดวรณคดีเป็นฐาน

ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการ GPAS ๕ STEPs ดังนี้

๑. ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้

 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 ไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๒. องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้

 ครบถ้วน

 ไม่ครบถ้วน ระบุ...................................................................

๓. ความสอดคล้องขององค์ประกอบในการจัดการเรียนรู้

 สอดคล้อง

 ไม่สอดคล้อง ระบุ.................................................................

๔. ความสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

 มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม

 ไม่มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ระบุ.............................................

๕. ความเหมาะสมในการทำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้สอนจริง

 นำไปใช้สอนได้จริง

 ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้สอน ระบุ............................................................

ลงชื่อ.................................................ผู้ตรวจ

(นางอัจฉรา สีสืบวงษ์)

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

๑๒. บันทึกผลการตรวจ/นิเทศ/ติดตาม/ข้อเสนอแนะ ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

.............เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้สอนได้...................................................................................................

...........................................................................................................................................................................

ลงชื่อ.................................................ผู้ตรวจ

(นางอรุณธดี คำดี)

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

๑๓. บันทึกผลหลังการสอน

๑. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ด้านความรู้ (K)

๑. นักเรียนสามารถอธิบายสรุปเนื้อหาเรื่องบทพากย์เอราวัณในระดับที่ยากขึ้นในชีวิตจริงได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๙๑

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดี ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๔.๐๐

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

โดยมีผลรวมคะแนน ๓๘๕ คะแนน ค่าเฉลี่ย ๘.๗๕ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๗.๕๐

๒. นักเรียนสามารถสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเรื่องบทพากย์เอราวัณเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๙๐

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดี ๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๐๙

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

โดยมีผลรวมคะแนน ๔๑๘ คะแนน ค่าเฉลี่ย ๙.๕๐ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๙๕.๐๐

ด้านทักษะกระบวนการ (P)

๓. นักเรียนสามารถตีความและประเมินคุณค่า แนวคิดที่ได้จากเรื่องบทพากย์เอราวัณได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๙.๐๙

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดี ๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๙๐

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

โดยมีผลรวมคะแนน ๓๗๙ คะแนน ค่าเฉลี่ย ๘.๖๑ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๘๗.๕๐

๔. นักเรียนสามารถเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิดได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๒๗

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดี ๑๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๗๒

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

โดยมีผลรวมคะแนน ๔๐๖ คะแนน ค่าเฉลี่ย ๙.๒๓ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๙๒.๒๗

๕. นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงบทร้อยกรองได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๗๗.๗๒

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดี ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๒๗

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

โดยมีผลรวมคะแนน ๔๐๒ คะแนน ค่าเฉลี่ย ๙.๑๗ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๙๑.๓๖

๖. นักเรียนสามารถเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และโครงงานได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๓๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๐๙

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดี ๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๙๐

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

โดยมีผลรวมคะแนน ๓๙๗ คะแนน ค่าเฉลี่ย ๙.๒๐ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๙๐.๒๓

ด้านคุณลักษณะ (A)

๗. นักเรียนมีความสามัคคีในการทำงานกลุ่มได้ พบว่า

นักเรียนมีผลการประเมินในระดับคุณภาพ ดีมาก ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

สรุปนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐

๒. ปัญหา/อุปสรรค

๑. นักเรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่ทันตามกำหนดเวลาในคาบเรียน จึงมอบหมายให้ทำเป็นการบ้าน

๒. การจัดการเรียนการสอนเรื่องโครงงานต้องมีการวางแผนการทำงานและกำหนดเวลาให้ชัดเจน

๓. ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข

๑. ได้จัดกิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อเป็นตัวเลือกให้นักเรียนเลือกทำชิ้นงานคือ การจัดทำคลิปนำเสนองานผลการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติสถานที่ ประวัติบุคลสำคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจจัดทำผลงานนำเสนอได้เป็นอย่างดี

ลงชื่อ.................................................ผู้สอน

(นางอมรา ศรีบุญเรือง)

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

โพสต์โดย ครูอมรา : [21 มี.ค. 2567 (13:01 น.)]
อ่าน [504] ไอพี : 61.19.112.11
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 13,693 ครั้ง
ปลูกฝังทักษะสมองอย่างไรให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในอนาคต
ปลูกฝังทักษะสมองอย่างไรให้เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

เปิดอ่าน 18,084 ครั้ง
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์
แหล่งกำเนิดพลังงานของดวงอาทิตย์

เปิดอ่าน 18,693 ครั้ง
การรักษาโต๊ะคอมให้ใช้งานได้ยาวนาน
การรักษาโต๊ะคอมให้ใช้งานได้ยาวนาน

เปิดอ่าน 13,970 ครั้ง
พัฒนาทักษะสมองอย่างไรให้เป็นคนที่สำเร็จในอนาคต
พัฒนาทักษะสมองอย่างไรให้เป็นคนที่สำเร็จในอนาคต

เปิดอ่าน 12,300 ครั้ง
แนะปรับกระจก-ท่านั่งเหมาะสม ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ
แนะปรับกระจก-ท่านั่งเหมาะสม ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ

เปิดอ่าน 42,714 ครั้ง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 (ฉบับที่ 2)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 (ฉบับที่ 2)

เปิดอ่าน 12,176 ครั้ง
โรคหอบจากอารมณ์...อันตรายที่คาดไม่ถึง
โรคหอบจากอารมณ์...อันตรายที่คาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 81,474 ครั้ง
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล

เปิดอ่าน 14,839 ครั้ง
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2553
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2553

เปิดอ่าน 18,102 ครั้ง
กินปลาจะช่วยป้องกันรักษาชีวิต สกัดหลอดเลือดตีบตัน
กินปลาจะช่วยป้องกันรักษาชีวิต สกัดหลอดเลือดตีบตัน

เปิดอ่าน 1,291 ครั้ง
ความหวาน มีประโยชน์หรือโทษขึ้นอยู่กับปริมาณ
ความหวาน มีประโยชน์หรือโทษขึ้นอยู่กับปริมาณ

เปิดอ่าน 36,327 ครั้ง
ข้าวหอมมะลิไทยได้แชมป์ข้าวโลก
ข้าวหอมมะลิไทยได้แชมป์ข้าวโลก

เปิดอ่าน 32,196 ครั้ง
มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย
มหาลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย

เปิดอ่าน 7,885 ครั้ง
เล่นหมากล้อม สามารถพัฒนาผลการเรียนคณิตศาสตร์ได้!
เล่นหมากล้อม สามารถพัฒนาผลการเรียนคณิตศาสตร์ได้!

เปิดอ่าน 18,152 ครั้ง
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอื่นนอกเหนือจากแบบเลือกตอบ
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอื่นนอกเหนือจากแบบเลือกตอบ

เปิดอ่าน 12,275 ครั้ง
แบบตรวจสอบการเรียนผ่านเครือข่าย
แบบตรวจสอบการเรียนผ่านเครือข่าย
เปิดอ่าน 12,791 ครั้ง
5 ปัญหาการเงิน เลี่ยงซะก่อนชีวิตคู่จะพัง
5 ปัญหาการเงิน เลี่ยงซะก่อนชีวิตคู่จะพัง
เปิดอ่าน 11,149 ครั้ง
5 ข้อง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ทำก็หายเครียด
5 ข้อง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ทำก็หายเครียด
เปิดอ่าน 20,268 ครั้ง
10 วิธีเจ๋งๆ ในการฝึกภาษาอังกฤษ ให้เก่งได้ด้วยตัวเอง !!
10 วิธีเจ๋งๆ ในการฝึกภาษาอังกฤษ ให้เก่งได้ด้วยตัวเอง !!
เปิดอ่าน 1,904 ครั้ง
เว็บไซต์หางาน กับ บริษัทจัดหางาน ครูต่างชาติ
เว็บไซต์หางาน กับ บริษัทจัดหางาน ครูต่างชาติ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ