บทสรุปของผู้บริหาร
ชื่อวิจัย ความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ)
ผู้วิจัย นายนิพนธ์ บรรเทากุล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2566
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิธีผสมผสาน (Mixed Method Research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงาน ตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบันของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เปรียบเทียบสภาพที่พึงประสงค์ของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 4) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา และ 5) ศึกษาแนวทางความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของเคซีและมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 53 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 11 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านบทบาทที่สมดุล 2) ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย 3) ด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า 4) ด้านการสนับสนุนและการไว้วางใจต่อกัน 5) ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง 6) ด้านการปฏิบัติงานที่ขัดเจน 7) ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม 8) ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ 9) ด้านการพัฒนาตนเอง 10) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มและ 11) ด้านการสื่อสารที่ดี มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .947 และ .926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ที่มีความอิสระต่อกัน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 11 ด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 11 ด้าน และสภาพที่พึงประสงค์ของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบทบาทที่สมดุล ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม และด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า
2. ครูที่มีตำแหน่งต่างกันและอยู่ในกลุ่มสาระที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน
3. ครูที่มีตำแหน่งต่างกันและอยู่ในกลุ่มสาระที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพที่พึงประสงค์ของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน
4. ความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา พบว่า ครูมีความต้องการจำเป็นของการสร้างทีมด้านบทบาทที่สมดุลมากที่สุด รองลงมา ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย ด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า ด้านการสนับสนุนและการไว้วางใจต่อกัน ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ด้านการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม และด้านที่มีความต้องการจำเป็นของการสร้างทีมงานลำดับสุดท้าย คือ ด้านการสื่อสารที่ดี ตามลำดับ
5. แนวทางความต้องการจำเป็นและแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษา ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางไว้ดังนี้ ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย ครูให้ผู้เกี่ยวข้องในการสร้างทีมงานได้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ครูผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการระดมความคิดและแนวทางปฏิบัติงานร่วมกัน ด้านการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครูผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ารับการอบรมวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ตามต้องการอย่างต่อเนื่อง ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม ครูผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เป็นที่ยอมรับในด้านความรู้ความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ครูผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ารับการอบรมการนำเสนอผลการสรุปวิเคราะห์เพื่อระดมความคิดในการแก้ปัญหา และด้านการสื่อสารที่ดี ครูควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับข้อมูลข่าวสารที่สำคัญในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง