ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นายสุรัตน์ชัย พรมเท้า
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาคณิตศาสตร์2 เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น โดยใช้ชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1-4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 109 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 3 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์2 ค30202 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนา ขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.81/86.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมนำความรู้สู่การคิดสร้างสรรค์ ตามกระบวนการ GPAS 5 Steps เรื่อง วิธีการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ และความน่าจะเป็น รายวิชา คณิตศศาสตร์ 2 ค30202 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีระดับความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ค่าเฉลี่ย = 4.20 , S.D. = 0.60)