ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุกใช้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องโคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน : นายสันธิเวชช์ มงคลชัย

1. ชื่องานวิจัย การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุตใช้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนยิมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ ปัญหาเป็นฐาน วิชาภาษาไทย สำหรั้บนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

2. ชื่อผู้วิจัย นายสันธิเวชช์ มงคลชัย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

3. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน จำนวน 5 คาบ

4. หลักการและเหตุผล

จากประสบการณ์สอนวิชาภาษาไทย ท 32101 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระวรรณคดีและวรรณกรรม นักเรียนยังมีความสามารถในการอ่านเพื่อควาเข้าใจในเนื้อเรื่องยังไม่ดีเท่าที่ควร ยังไม่สามารถวิเคราะห์ ตีความจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง ทั้งยังไม่สามารถสรุปข้อคิดเพื่อไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาและพบว่าการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน นักเรียนจะได้สร้างองค์ความรู้ใหม่จากปัญหาที่เกิดขึ้นรวมทั้งเป็นการฝึกทักษะการคิดหลายรูปแบบ ทั้งการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านวิเคราะห์เรื่องเพื่อเข้าใจเนื้อเรื่องมากขึ้นอีกทั้งการคิดสังเคราะห์จากการใช้ปัญหาเป็นฐานจะช่วยให้นักเรียนสังเคราะห์ข้อคิดและสรุปข้อคิดเพื่อไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุกต์ใช้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

5.มีวัตถุประสงค์การวิจัย

1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยการะบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๕/๘๕

2) เพื่อศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับใช้ในหน่วยการเรียนรู้เรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3

3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

6. ขอบเขตของการวิจัย

6.1 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในชั้นเรียน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 33 คน โรงเรียนภูเรือวิทยา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

6.2 สมมติฐานของการวิจัย

1) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุกต์ใช้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลตติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มีคุณภาพ ตามเกณฑ์ประเมินของผู้เชี่ยวชาญมีคว่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50

2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความพึงพอใจตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป

6.3 ตัวแปร ได้แก่

1) ตัวแปรต้น คือการใช้กระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุกต์ใช้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียนด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

2) ตัวแปรตาม คือความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับใช้เรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

1. แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน วิชาภาษาไทย ท 32102 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 5 คาบ

2. กระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ห มายถึง กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม โดยใช้ปัญหาเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้ และเป็นตัวกระตุ้นการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผล และการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ

3. ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับใช้ หมายถึงความสามารถของนักเรียนในการอ่านและเข้าใจเรื่องสั้น เรื่องโคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียนโดยวัดได้จากคะแนนการทำแบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 ข้อ

4. ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึง ความรู้สึกที่ดีของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วัดได้จากการตอบแบบประเมินของนักเรียน มี 5 ระดับ ความพึงพอใจตามการใช้มาตราส่วนแบบประมาณค่า (Rating Scale) ดังนี้

ระดับคะแนน 5 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด

ระดับคะแนน 4 หมายถึง พึงพอใจมาก

ระดับคะแนน 3 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง

ระดับคะแนน 2 หมายถึง พึงพอใจน้อย

ระดับคะแนน 1 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด

5. นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนภูเรือวิทยา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

8. กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม

9. แนวคิด/ทฤษฎีสนับสนุนรูปแบบการจัดการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (Context) ของการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขากลุ่มสาระที่ต้นศึกษาด้วยการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก โดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้

ขั้นที่ 1 : กำหนดปัญหา (ทุกข์)

นักเรียนร่วมกันสนทนาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทย นอกเหนือจากความนิยมในการประกอบอาชีพที่เกิดขึ้นจากเรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน จากนั้นดูวีดิทัศน์ที่สะท้อนปัญหาในสังคมไทยแล้วกำหนดปัญหาที่ต้องการศึกษา

ขั้นที่ 2 : ทำความเข้าใจกับปัญหา

นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในสังคมไทยกลุ่มละ 1 ประเด็น จากนั้นร่วมกันอภิปรายถึงปัญหาที่แต่ละกลุ่มได้เลือกว่าปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญของประเทศเช่นเดียวกับโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียนอย่างไร

ขั้นที่ 3 : ศึกษาค้นคว้า

นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา ผลกระทบของปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหาและผลที่ได้รับจากการแก้ไขปัญหา จากนั้นร่วมกันศึกษาค้นคว้าจากประเด้นปัญหาที่ได้กำหนดไว้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์

ขั้นที่ 4 : สังเคราะห์ความรู้

นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จากนั้นอภิปรายผลการศึกษาและสังเคราะห์ประเด็นปัญหาดังกล่าวให้เป็นแนวทางการรณรงค์การแก้ไขปัญหาในสังคมเช่นเดียวกันกับเรื่องโคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน จากนั้นร่วมกันเขียนแนวทางการแก้ไขปัญหาลงในกระดาษแผ่นใหญ่ ในรูปแบบของป้ายหาเสียง โดยสมมติให้แต่ละกลุ่มเป็นพรรคการเมืองที่ออกนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมจากที่ได้ศึกษาและสังเคราะห์ไว้ จากนั้นให้ติดป้ายหาเสียง ไว้ที่บริเวณหน้าห้องเพื่อให้นักเรียนห้องอื่น ๆ ได้ศึกษาและลงคะแนนเสียง

ขั้นที่ 5 : สรุปและประเมินคำตอบ

นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของกลุ่มตนเอง ประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ได้นำเสนอมีความเหมาะสมเพียงใด โดยการตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ และทุกกลุ่มร่วมกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง

ขั้นที่ 6 : นำเสนอและประเมินผลงาน

นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำเสนอผลงานการแก้ไขปัญหาสังคม กลุ่มละ 5 นาที จากนั้นนักเรียนในห้องร่วมกันประเมินผลงานและสรุปผลการศึกษาค้นคว้า

10. รูปแบบการจัดการเรียนรู้

กระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามกระบวนการของอริยสัจ

1

2

3

4

5

6

11. ระยะเวลา

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 5 ชั่วโมง

12. วิธีดำเนินการ

12.1 เครื่องมือวิจัย

1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

2) แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหน่วยการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน

3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

12.2 วิธีการสร้างเครื่องมือวิจัย

1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีขั้นตอนการสร้างดังนี้

1.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนภูเรือวิทยา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

1.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

1.3 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

1.4 ทดลองนำแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ไปใช้เพื่อปรับปรุงและพัฒนา

1.5 ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

2) แบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหน่วยการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน มีขั้นตอนการสร้างดังนี้

2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนภูเรือวิทยา อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

2.2 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ

2.3 สร้างแบบวัดความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน จำนวน 10 ข้อ

2.4 นำแบบวัดไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Validity) และขอคำแนะนำเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข โดยประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วนำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index od Item Objective Congruence: IOC) โดยกำหนดคะแนนการพิจารณาดังนี้

+1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับจุดประสงค์

0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามนั้นสอดคล้องกับจุดประสงค์

-1 หมายถึง แน่ใจว่าเกณฑ์ข้อคำถามนั้นไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

2.5 ปรับปรุงข้อคำถามตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและนำแบบวัดไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย

3 ) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใชแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีขั้นตอนการสร้างดังนี้

3.1 ศึกษาทฤษฎี แนวคิด เอกสาร และเอกสารงานาวิจัยที่เกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อเป็นแนวทางในการทำแบบประเมินความพึงพอใจ

3.2 สร้างแบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนร้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนตามแบบประเมินของลิเคอร์ทเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) ซึ่งมี 5 ระดับ ได้แก่ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย เหมาะสมน้อยที่สุด จำนวน 8 ข้อ

3.3 นำแบบประเมินมาตรวจสอบความสอดคล้อง โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน มาหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC ) โดยกำหนดคะแนนการพิจารณา ดังนี้

+1 หมายถึง แน่ใจว่าเกณฑ์การให้คะแนนสอดคล้องกับจุดประสงค์

0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าเกณฑ์การให้คะแนนสอดคล้องกับจุดประสงค์

-1 หมายถึง แน่ใจว่าเกณฑ์การให้คะแนนนั้นไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

3.4 นำแบบประเมินความพึงพอใจ มาแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้วจัดพิมพ์เป็นแบบประเมินความพึงพอใจที่สมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังจากจบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้ว

12.3 สถิติที่ใช้ในการวิจัย

1) วิเคราะห์คุณภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ตามเกณฑ์ประเมินของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย( x)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)

2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหน่วยการเรียนรู้เรื่องโคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรือง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ก่อนเรียน และหลังเรียนโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation: S.D.) และสถิติ t test แบบ dependent Sample

3) วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation: S.D.)

13. ขั้นตอนการสอน

13. ขั้นตอนการสอน

ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา

นักเรียนดูวีดีทัศน์แล้วร่วมกำหนดปัญหา

ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา

นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์คุณค่าของเรื่องโคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน จากหนังสือเรียนและวิเคราะห์ปัญหาที่เป็นอุปสรรคในสังคมไทยกลุ่มละ ๑ ประเด็น

ขั้นที่ 3 ศึกษาค้นคว้า

นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา ผลกระทบของปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหาและผลที่ได้รับจากการแก้ไขปัญหา และศึกษาค้นคว้าจากประเด็นปัญหาที่ได้กำหนดไว้จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ออนไลน์

ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้

นักเรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และร่วมกันเขียนแนวทางการแก้ไขปัญหาลงในกระดาษแผ่นใหญ่ ในรูปแบบของป้ายหาเสียง

ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินคำตอบ

นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของกลุ่มตนเองและประเมินผลงานเพื่อนร่วมชั้นเรียน

ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน

นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานการแก้ไขปัญหาสังคม

นักเรียนทำแบบทดสอบเรื่องการวิเคราะห์คุณค่าของเรื่องและสังเคราะห์ข้อคิดจากโคลนติดล้อ

ตอนความนิยมเป็นเสมียน จำนวน 10 ข้อ ผ่านโปรแกรม Kahoot

14. สรุปการวิเคราะห์ข้อมูล

1. คุณภาพการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้

รายการ x S.D. แปลผล

1. ขั้นตอนในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ไม่ซับซ้อน 4.40 0.49 มาก

2. ค่าใช้จ่ายในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ 4.80 0.40 มากที่สุด

3. ระยะเวลาในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ 4.40 0.80 มาก

4. แผนการจัดการเรียนรู้ง่ายต่อการใช้งาน 4.80 0.40 มากที่สุด

5. แผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับเนื้อหา 4.80 0.40 มากที่สุด

6. แผนการจัดการเรียนรู้กระตุ้นกระบสนการคิด 4.60 0.49 มากที่สุด

7. แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 4.60 0.49 มากที่สุด

8. แผนการจัดการเรียนรู้สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 4.40 0.49 มาก

ค่าเฉลี่ย 4.60 0.49 มากที่สุด

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การสอบ กลุ่มทดลอง(33 คน

x S.D.

ก่อนเรียน 3.58 0.88

หลังเรียน 8.20 0.98

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน

รายการ x S.D. แปลผล

1. ขั้นตอนชัดเจนลำดับจากง่ายไปยาก 4.44 0.58 มาก

2. นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน 4.53 0.65 มากที่สุด

3. วิธีการสอนเหมาะกับเนื้อหา 4.69 0.59 มากที่สุด

4. นักเรียนสามารถสร้างสรรค์งานได้เต็มศักยภาพและเกิดการเรียนรู้ 4.73 0.49 มากที่สุด

5. นักเรียนได้รับความรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4.51 0.54 มากที่สุด

6. นักเรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4.42 0.61 มากที่สุด

7. นักเรียนมีโอกาสได้สร้างผลงานและฝึกปฏิบัติจนประสบความสำเร็จได้ด้วยตนเอง 4.62 0.64 มากที่สุด

8. กิจกรรมการเรียนรู้มีความน่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ 4.60 0.53 มากที่สุด

ค่าเฉลี่ย 4.57 0.58 มากที่สุด

15. สรุปผล

15.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุกต์ใช้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของผู้เชี่ยวชาญในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60

15.2 ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหน่วยการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอนควานิยมเป็นเสมียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 3.58 คะแนน และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.20 คะแนน

15.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57

16. อภิปรายผล

16.1 รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 แก้ปัญหาการอ่านเพื่อความเข้าใจและการนำข้อคิดไปปรับประยุกต์ใช้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีคุณภาพตามเกณฑ์ประเมินของผู้เชี่ยวชาญในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากแผนการจัดการเรียนรู้ได้ออกแบบกระบวนการสอนมีความชัดเจน มีการระบุขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรมไว้ชัดเจน ส่งผลให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมได้ตามกำหนด อีกทั้งกิจกรรมเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการส่งเสริมการเรียนรู้การคิดวิเคราะห์และกระตุ้นให้นักเรียนสนใจและตั้งใจเรียนมากขึ้น

16.2 ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหน่วยการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียน ด้วยกระบวนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 3.58 คะแนน และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 8.20 คะแนน เนื่องจากการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานนักเรียนจะเป็นศูนย์ของการเรียนรู้ นักเรียนได้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลด้วยตนเอง อีกทั้งใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ และเมื่อนักเรียนได้ศึกษาเนื้อหาของโคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียน จึงทำให้สามารถเข้าใจเรื่องได้และเมื่อพิจารณาข้อมูลจากการบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้วิจัยและผลการประเมินบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจทุกระดับตั้งแต่ขั้นที่ 2 -6 ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กล่าวคือ ในขั้นที่ 2 นักเรียนมีความเข้าใจระดับข้อเท็จจริง พิจารณาจากตอนที่นักเรียนศึกษาเนื้อเรื่องโคลนติดล้อ ตอนความนิยมเป็นเสมียนแล้ว สามารถระบุลักษณะนิสัยและค่านิยมในการประกอบอาชีพเสมียนได้ถูกต้อง ส่วนในขั้นที่ 3-6 นักเรียนมีความเข้าใจ 2 ระดับ ได้แก่ 1) ความเข้าใจระดับตีความ กล่าวคือ นักเรียนสามารถระบุความประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อความนิยมเป็นเสมียนในสมัยนั้นได้ถูกต้อง รวมทั้งสรุปข้อคิดสำคัญจากเรื่องและยกตัวอย่างเนื้อเรื่องตอนที่แสดงข้อคิดได้ถูกต้อง พร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบได้ค่อนข้างชัดเจน และ 2) ความเข้าใจระดับประเมินค่า ซึ่งนักเรียนสามารถยกตัวอย่างสถานการณ์ในชีวิตจริงที่แสดงถึงการนำข้อคิดสำคัญที่ได้จากเรื่องไปใช้ได้ค่อนข้างชัดเจนทุกประเด็น

16.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โคลนติดล้อ ตอน ความนิยมเป็นเสมียนด้วยกระบวนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.57 เนื่องจากกิจกรรมดังกล่าวส่งเสริมให้นักเรียนมีการเรียนรู้แบบร่วมมือและร่วมกันคิดวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาในปัจจุบัน มีเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงชั้นของนักเรียน กระตุ้นให้นักเรียนสนใจและพึงพอใจการเรียนวิชาภาษาไทยมากยิ่งขึ้น

17. ข้อเสนอแนะการทำวิจัย

ครูควรศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่ตนสอน เพื่อประโยชน์ในการจัดกลุ่มการเรียนรู้เพราะการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานต้องจัดกลุ่มแบบคละความสามารถ เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้กระบวนการกลุ่มสำเร็จมากขึ้น และส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง และเมื่อนักเรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ควรอธิบายเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวคำตอบให้นักเรียน

18.บรรณานุกรม

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๑). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สอางค์ดำเนินสวัสดิ์และคณะ. (๒๕๔๖). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้

ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่๕. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ. สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๕๑).

พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๔๕. กรุงเทพมหานคร:

สกายบุ๊กส์ จำกัด. สำราญ คำอ้าย. (๒๕๓๙). “ผลการใช้ชุดการสอนหลักภาษาไทยตามแนว

ภาษาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

สอนภาษาไทย บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขวัญหทัย สมัครคุณ.(2541) ผลการเรียนแบบร่วมมือที่มีต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจ

และความคงทนในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี.(2556). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ประภาสินี ปิงใจ.(2555). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้โมเดลกราฟฟิติที่มีต่อ

ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการร่วมมือของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับPLC เพื่อการพัฒนา.

กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรศักดิ์ สินประกอบ.(2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับ

เทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โพสต์โดย ครูสัน : [18 มี.ค. 2567 (16:47 น.)]
อ่าน [1995] ไอพี : 49.228.177.167
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 7,703 ครั้ง
เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์
เข้าใจนวัตกรรม การศึกษาฟินแลนด์

เปิดอ่าน 56,934 ครั้ง
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย

เปิดอ่าน 10,170 ครั้ง
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว

เปิดอ่าน 10,951 ครั้ง
11พฤษภาคม " วันพืชมงคล "
11พฤษภาคม " วันพืชมงคล "

เปิดอ่าน 161,624 ครั้ง
ดาวน์โหลดที่นี่ แบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็ว  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เริ่มใช้ภาคเรียนที่ 1/2559
ดาวน์โหลดที่นี่ แบบฝึกหัดเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเลขเร็ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 เริ่มใช้ภาคเรียนที่ 1/2559

เปิดอ่าน 23,234 ครั้ง
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2557
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2557

เปิดอ่าน 13,418 ครั้ง
เทคนิคการคิดเลข 3 ตัว ที่ยังไงก็แล้วแต่ ผลลัพธ์จะได้ 1089 เสมอ
เทคนิคการคิดเลข 3 ตัว ที่ยังไงก็แล้วแต่ ผลลัพธ์จะได้ 1089 เสมอ

เปิดอ่าน 55,584 ครั้ง
มารยาทในการพูดโทรศัพท์ (Phone Manners)
มารยาทในการพูดโทรศัพท์ (Phone Manners)

เปิดอ่าน 16,733 ครั้ง
 สะพานซังฮี้  ซังฮี้แปลว่าอะไร?
สะพานซังฮี้ ซังฮี้แปลว่าอะไร?

เปิดอ่าน 17,596 ครั้ง
ทำงานมาก็หลายปีแล้ว ควรจะมีเงินเก็บเท่าไหร่กัน? ลองคำนวณดูเลย
ทำงานมาก็หลายปีแล้ว ควรจะมีเงินเก็บเท่าไหร่กัน? ลองคำนวณดูเลย

เปิดอ่าน 52,312 ครั้ง
มารยาทในการกล่าวขอโทษ (Excuse me)
มารยาทในการกล่าวขอโทษ (Excuse me)

เปิดอ่าน 59,050 ครั้ง
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ลว 2 ม.ค. 51)
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ลว 2 ม.ค. 51)

เปิดอ่าน 26,486 ครั้ง
การ์ตูนเป็ดโดนัลด์ดั๊ก อายุ 75 ปีแล้วนะ
การ์ตูนเป็ดโดนัลด์ดั๊ก อายุ 75 ปีแล้วนะ

เปิดอ่าน 16,355 ครั้ง
ลายมือนักธุรกิจเงินล้าน
ลายมือนักธุรกิจเงินล้าน

เปิดอ่าน 12,704 ครั้ง
วิธีขับสารพิษด้วยการหายใจ
วิธีขับสารพิษด้วยการหายใจ

เปิดอ่าน 17,087 ครั้ง
Download "ส.ค.ส."พระราชทาน ให้กำลังใจพสกนิกร "ตั้งอยู่ในความเพียร"
Download "ส.ค.ส."พระราชทาน ให้กำลังใจพสกนิกร "ตั้งอยู่ในความเพียร"
เปิดอ่าน 7,335 ครั้ง
"Alprazolam" ไม่ใช่ "ยาเสียสาว" เป็นยานอนหลับ แก้อาการกังวล ง่วงซึม แต่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด
"Alprazolam" ไม่ใช่ "ยาเสียสาว" เป็นยานอนหลับ แก้อาการกังวล ง่วงซึม แต่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด
เปิดอ่าน 13,196 ครั้ง
10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี
10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี
เปิดอ่าน 20,577 ครั้ง
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
เปิดอ่าน 15,946 ครั้ง
ล้างพิษด้วยตนเองใน 1 วัน‏
ล้างพิษด้วยตนเองใน 1 วัน‏

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ