ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาทักษะการอ่านบัญชีคำพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

กิตติกรรมประกาศ

รายงานวิจัยฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงได้เพราะได้รับความกรุณาและสนับสนุนจาก ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคำเตย ซึ่งผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบคุณคณะครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนบ้านคำเตย ทุกๆ ท่านที่ให้ความ ช่วยเหลือ และให้กำลังใจแก่ผู้วิจัยด้วยดีตลอดมาที่ให้คำแนะนำสำหรับการวิจัยในครั้งนี้

ทัศนีย์ สีส่วน

สารบัญ

บทที่ หน้า

1 ที่มาและความสำคัญ................................................................................................................................... 1

จุดมุ่งหมายในการวิจัย...................................................................................................................... 2

ขอบเขตของการวิจัย......................................................................................................................... 2

นิยามศัพท์เฉพาะ.............................................................................................................................. 2

สมมติฐานในการวิจัย........................................................................................................................ 3

2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ................................................................................................................ 4

การอ่าน ........................................................................................................................................... 4

การเขียน ......................................................................................................................................... 7

การฝึกทักษะ .................................................................................................................................... 9

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .......................................................................................................................... 13

3 วิธีดำเนินการวิจัย ..................................................................................................................................... 15 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง .......................................................................................... 15 การกำหนดเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย .................................................................................................. 15 การกำหนดระยะเวลาในการวิจัย ................................................................................................... 15

การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย .................................................................................................. 16

การกำหนดแบบแผนการวิจัย ......................................................................................................... 17

การเก็บรวบรวมข้อมูล .................................................................................................................... 17

4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล .............................................................................................................................. 18 สัญลักษณ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล .................................................................................................... 18

5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ...................................................................................................... 20

สรุปผลการวิจัย .............................................................................................................................. 20 อภิปรายผลการวิจัย ....................................................................................................................... 20 ข้อเสนอแนะ .................................................................................................................................. 20 บรรณานุกรม

บทที่ 1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

กระบวนการรับรู้แล้วแปลความหมายจากตัวอักษร โดยใช้ทักษะใน กระบวนการคิด วิเคราะห์ ตีความแล้วทำความเข้าใจกับข้อความในขณะที่อ่าน เพื่อให้สามารถรับรู้ สารที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อได้อย่างถูกต้องหรือได้รับรสความบันเทิงใจตรงตามจุดประสงค์ของ ผู้เขียนและนำ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต ทั้งนี้กระบวนการการอ่านต้องอาศัยการฝึกฝน การพัฒนาและการขัดเกลาอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ การอ่านยังต้องการความคิด สร้างสรรค์และการวิเคราะห์วิจารณ์ (critical analysis)

การเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เราที่ต้องอาศัยความพยายาม การเขียนเป็นการแสดง ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ที่อ่าน เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้ เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สีพู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียน จะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นความสามารถของนักเรียนในด้านต่างๆ ซึ่งเกิดจากนักเรียนได้รับประสบ การณ์จากกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยครูต้องศึกษาแนวทางในการวัดและประเมินผล การสร้าง เครื่องมือวัดให้มีคุณภาพนั้น ได้มีผู้ให้ความหมายของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ดังนี้ สมพร เชื้อพันธ์ (2547, หน้า 53) สรุปว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หมายถึงความสามารถ ความสำเร็จและ สมรรถภาพด้านต่างๆ ของผู้เรียนที่ได้จากการเรียนรู้อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน การฝึกฝนหรือ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งสามารถวัดได้จากการทดสอบด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับ พิม พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2548, หน้า 125) กล่าวว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมายถึงขนาด ของความสำเร็จที่ได้จากกระบวนการเรียนการสอน จึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลที่เกิด จากกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยการ แสดงออกมาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย

จากหลักการที่กล่าวมา ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนจึงสนใจที่จะศึกษาการฝึกทักษะการอ่านและการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย ที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนช่วยพัฒนาคุณภาพการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์การวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

1. เพื่อพัฒนาทักษะ ด้านการอ่าน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

2. เพื่อพัฒนาทักษะ ด้านการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

3. เพื่อศึกษาผลคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ ประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คนซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มเดียวกัน

เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ใช้เนื้อหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ คำในบัญชีคำ พื้นฐานภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการทดลองใน ปีการศึกษา 2566

ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่

1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ แบบฝึกทักษะ คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

2. ตัวแปรตาม ได้แก่

2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.2 ทักษะการอ่านและการเขียน

นิยามศัพท์เฉพาะ

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบความคิด เป็นข้อสอบที่ครูผู้สอนสร้างขึ้น

2. การอ่าน หมายถึง การแปลความหมายของตัวอักษรที่อ่านออกมาเป็นความรู้ความคิด และเกิด ความเข้าใจเรื่องราวที่อ่านตรงกับเรื่อราวที่ผู้เขียนเขียน ผู้อ่านสามารถนำความรู้ ความคิด หรือสาระจาก เรื่องราวที่อ่านไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

3. การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็น สัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของ การเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบ

สมมติฐานในการวิจัย

1. นักเรียนมีทักษะ ด้านการอ่าน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

2. นักเรียนมีทักษะ ด้านการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. นักเรียนมีผลคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องของ เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนจากคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อดังนี้

1. การอ่าน

2. การเขียน

3. การฝึกทักษะ

4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การอ่าน

ความหมายการอ่าน

การอ่านเป็นทักษะที่สำคัญในการสอนภาษาไทย เป็นความสามารถของมนุษย์ที่เข้าใจการสื่อ ความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ เข้าใจในเนื้อเรื่อง และแนวความคิดจากสิ่งที่อ่าน ดังนั้นจึงได้มีนักการ ศึกษา และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการอ่าน ทั้งชาวไปและต่างประเทศได้ให้ความหมายของการอ่านดังนี้ การอ่าน หมายถึง การเสาะแสวงหาความรู้ การอ่านทำให้เป็นบุคคลมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทำให้เกิด กระบวนการและทักษะในการดำเนินชีวิต ความหมายของการอ่านนั้นได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายอย่างดังนี้ การอ่าน คือ ว่าตามตัวหนังสือ ถ้าออกเสียงด้วย เรียกว่า อ่านออกเสียง ถ้าไม่ต้องออกเสียง เรียกว่า อ่านในใจ สังเกตหรือพิจารณาดูเพื่อให้เข้าใจ เช่น อ่านสีหน้า อ่านริมฝีปาก อ่านในใจ ตีความ เช่น อ่านรหัส อ่านลายแทง คิด นับ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 : 1364)

สุนันทา มั่นเศรษฐ์วิทย์ (2540, : 2) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่าการอ่านหมายถึง การเสาะ แสวงหาความรู้นอกเหนือจากการสอนในห้องเรียนที่ครูให้และตัวของผู้อ่านนั้นได้มีการจดจำในเรื่องราวที่ อ่านและนำมาคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ออกมาตามความเข้าใจของผู้อ่าน ถ้าพิจารณาในลักษณะของ กระบวนการ การอ่านคือลำดับขั้นที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจความหมายของกลุ่มคำ ประโยค ข้อความและเรื่องราวของสารที่ผู้อ่านสามารถบอกความหมายได้ แต่ถ้าพิจารณาในลักษณะของกระบวนการ ที่ซับซ้อนแล้วก็จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลายอย่างได้แก่ จิตวิทยาพัฒนาการ ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา การศึกษา และวิชาการศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาพัฒนาการนั้น หมายความว่า ครูสอนอ่านจะต้อง เข้าใจหลักจิตวิทยา

ประภัสสร ปันสวน (2547 : 6 ) ได้มีความเห็นถึงความหมายของการอ่าน ว่าการอ่านเป็นความสามารถที่จะเข้าใจความหมายที่เขียนมาแต่ละบรรทัดซึ่งผู้อ่านไม่ต้องไปสนใจกับรายละเอียดแต่จะต้อง จับใจความสำคัญจากกลุ่มซึ่งสื่อความหมาย

จิราพร คำด้วง (2546 : 7) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่านเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ ยั่งยืนที่สุด การอ่านทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้ปรับตัวเข้ากับสังคมเปลี่ยนแปลงได้อย่าง รวดเร็ว

วาสนา บุญสม (2541 : 12) และกัลยา ยวนมาลัย (2539 : 8) ได้ให้ความหมายของการอ่านใน แนวใกล้เคียงว่า คือ การพยายามทำความเข้าใจความหมายของตัวอักษร ถ้อยคำเครื่องหมายต่าง ๆ ออกมา เป็นความคิดความเข้าใจแล้วนำความคิดความเข้าใจมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ดังนั้นหัวใจของการอ่านอยู่ที่การ ทำความเข้าใจความหมายของคำ

นิตยา ประพฤติกิจ (2532 : 1) ได้ให้ความหมายของการอ่านไว้ว่า การอ่านเป็นพื้นฐานที่สำคัญใน การศึกษาทุกสาขาวิชาและการอ่านจะทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียน

บันลือ พฤษะวัน (2532 : 2) ได้ให้ความหมายการอ่านไว้ดังนี้

1. การอ่าน เป็นการแปลสัญลักษณ์ออกมาเป็นคำพูด โดยการผสมเสียงเพื่อใช้ในการ ออกเสียงให้ตรงกับคำพูด การอ่านแบบนี้มุ่งให้สะกดตัวผสมคำอ่านเป็นคำ ๆ ไม่สามารถใช้สื่อความโดยการ ฟังได้ทันที เป็นการอ่านเพื่อการอ่านออก มุ่งให้อ่านหนังสือได้แตกฉานเท่านั้น

2. การอ่าน เป็นการใช้ความสามารถในการผสมผสานของตัวอักษร ออกเสียงเป็นคำ หรือเป็นประโยค ทำให้เข้าใจความหมายในการสื่อความโดยการอ่าน หรือฟังผู้อื่นอ่านแล้วรู้เรื่องเรียกว่า อ่านได้ ซึ่งมุ่งให้อ่านแล้วรู้เรื่องสิ่งที่อ่าน

3. การอ่าน เป็นการสื่อความหมายที่จะถ่ายโยงความคิดความรู้จากผู้เขียน ถึงผู้อ่าน การ อ่านลักษณะนี้เรียกว่า อ่านเป็น ผู้อ่านย่อมเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน โดยอ่านแล้วสามารถ ประเมินผลของสิ่งที่อ่านได้

สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์( 2538 : 8 ) กล่าวว่า การอ่าน คือ การับรู้ความหมายจากถ้อยคำ ที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์ หรือ หนังสือ โดยผู้อ่านรับรู้ว่าผู้เขียนได้ส่งสารอะไรมายังผู้อ่านทั้งในด้านความคิด ความรู้ ความหมาย ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นว่าผู้เขียนตั้งใจจะแสดงความคิดอย่างไร มีความหมายว่ากระไร เกี่ยวข้องถึงอะไรบ้าง ลำดับขั้นของการอ่านจะเริ่มต้นตั้งแต่การทำความเข้าใจในถ้อยคำแต่ละคำ กลุ่มคำแต่ ละกลุ่ม และเรื่องราวแต่ละเรื่องราวที่เรียงรายต่อเนื่องกันอยู่ในย่อหน้าหนึ่ง หรือในตอนหนึ่ง หรือในเรื่อง หนึ่ง ซึ่งผู้อ่านต้องทำความเข้าใจไปทีละตอนเป็นลำดับ

ประเทิน มหาขันธ์(2530 : 13) ได้ให้ความหมายการอ่านไว้ว่า เป็นกระบวนการในการแปล ความหมายของตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่มีการจดบันทึกไว้ การอ่านที่แท้จริงผู้อ่านจะต้องเข้าใจความหมาย ของเรื่องที่อ่าน ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานด้วย

ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน์ (2535 : 3) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า เป็นการคิดที่สามารถเข้าใจ ในเรื่องที่อ่านได้ดี ย่อมน าไปสู่การคิดที่ดี เพราะผู้อ่านจะได้ทราบแนวคิดต่าง ๆ จากเรื่องที่อ่าน เกิดความรู้ จากเรื่องที่อ่านนำมาจัดแยกแยะตีความหมาย ก่อนที่จะเกิดเป็นแนวคิดของตนเอง

สมพร วัฒนศิริ(2538 : 9 – 10 ) กล่าวว่า การอ่านเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารความคิดจาก ผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน เป็นการแปลความหมายตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นสื่อกลางใช้แทนคำพูดให้ได้ความ แจ่มแจ้งชัดเจนและเข้าใจความหมายสิ่งที่อ่าน โดยสัมพันธ์กับประสบการณ์เกิดของผู้อ่าน

บัวแก้ว บัวเย็น (2539 : 15 ) กล่าวว่า การอ่านคือ การถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรหรือ ภาพเป็นความคิดความเข้าใจของผู้อ่านและนำความคิดนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านเอง ทัศนีย์ ศุภเมธี (2542 : 24) กล่าวว่า การอ่าน คือ การแปลสัญลักษณ์ที่เขียนหรือพิมพ์ให้มี ความหมายออกมา สัญลักษณ์ในภาษาไทย คือ ค า ข้อความ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการสอนอ่านเพื่อ นักเรียนจะต้องเข้าใจความหมายและนำไปใช้ในการฟัง พูด และเขียนได้อย่างถูกต้อง

ประสารพร ชนะศักดิ์ (2542 : 10) กล่าวว่า การอ่าน คือ กระบวนการในการถ่ายทอดความรู้สึก นึกคิด ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยใช้สัญลักษณ์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และ การที่ผู้อ่านจะเข้าใจเรื่องราวตามเจตนารมณ์ของผู้เรียนเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถทางภาษา ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม และทัศนคติของผู้อ่าน

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์ (2542 : 1 ) กล่าวว่า การอ่าน คือ ความเข้าใจสัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร คำและข้อความที่พิมพ์หรือเขียนขึ้นมา

แลปป์ ( Lapp, 1968 : 463) ได้ให้ความหมายของการอ่านว่า การอ่านเป็นกระบวนการรับรู้อักษร ความหมายของคำ ตีความของข้อเขียนมาเป็นความเข้าใจ ขั้นตอนแรกของการอ่าน คือ เพื่อสื่อความหมาย กระบวนการของการอ่าน คือ รับรู้ตัวอักษะ รู้จุดมุ่งหมาย สามารถสื่อความหมายของข้อความนั้น และสร้าง ปฏิกิริยาตอบสนองกับความรู้ใหม่ที่ได้จากข้อเขียนซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้อ่าน

ดี แลบ และเจ ฟลอด (D. Lapp and J. Flood, อ้างถึงใน สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์,2537 : 2 ) ให้ คำจำกัดความของการอ่านว่า เป็นกระบวนการที่ผู้อ่านแปลความ ค า หรือสัญลักษณ์ที่เป็นตัวอักษรให้เข้าใจ ซึ่งขั้นตอนของกระบวนการนี้มี 3 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 การรับรู้ตัวอักษร คำ ประโยค และข้อความ

ระดับที่ 2 การแปลความหมายของคำ ประโยคและข้อความ

ระดับที่ 3 การทำความคุ้นเคยกับข้อมูลที่ได้ใหม่ โดยใช้ประสบการณ์เดิมหรือ ความรู้เดิมช่วยใน การตัดสินใจ

ชำเรือง พัชทรชนม์ (2525 : 11 ) มีความเห็นในความหมายของการอ่านว่า การอ่านเป็นกระบวน การที่ซับซ้อนและมีความสำคัญต่อการพัฒนาถาวร และความอยู่รอดของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรฝึก ทักษะและกระบวนการอ่าน

จากความคิดดังกล่าวสรุปได้ว่าการอ่านนั้น หมายถึง กระบวนการตีความหมายลายลักษณ์อักษร จากการที่ผู้เขียนได้มีการถ่ายทอดมาให้แล้วนำมาแปรเป็นความคิด ทำให้มีความเข้าใจ มีความรู้จากการอ่าน และสามารถนำประโยชน์ที่ได้จากการอ่านมาใช้ในการดำรงชีวิต

การเขียน

ความหมายและความสำคัญของการเขียน

การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้อื่นโดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดการเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอด ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าใน การบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน

การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของบุคคลออกมาเป็น สัญลักษณ์ คือ ตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ จากความข้างต้น ทำให้มองเห็นความหมายของ การเขียนว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น นักเรียน ใช้การเขียนบันทึก ความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบบุคคลทั่วไป ใช้การเขียนจดหมาย สัญญา พินัยกรรมและค้ำประกัน เป็น ต้น พ่อค้า ใช้การเขียนเพื่อโฆษณาสินค้า ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จ รับเงิน แพทย์ ใช้บันทึกประวัติคนไข้ เขียนใบสั่งยาและอื่นๆ เป็นต้น

ลักษณะผู้เขียน ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคิด ของผู้เขียนเป็น จุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวถึง ลักษณะของผู้เขียน ได้ดังนี้

1) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการ

2) มีความรอบรู้ เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ

3) เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา

4) หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็น ที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน

5) ลักษณะท่าทาง ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถบุคลิกลักษณะ ท่าทางใน การนั่ง การวางมือ การจับปากกาดินสอ ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง

6) ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน

7) จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท เช่น การให้เกียรตินักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เรา ลอกหรือเอาแนวคิดของ เขามาทุกครั้ง

การเขียน คือ การสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็น การแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้ เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา สีพู่กัน กระดาษ กระดาน ฯลฯ การเขียน จะต้องเขียนเป็นภาษา ซึ่งอาจเขียนเป็นภาษาเดียวหรือหลายภาษาก็ได้

จุดประสงค์ของการเขียน การเขียนทั่วไปมีจุดประสงค์ดังนี้

1. เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เช่น เหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ

2. เพื่ออธิบายความหรือคำ เช่น การออกก าลังกาย การทำอาหาร ค่านิยามต่างๆ ฯลฯ 03. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น โฆษณาสินค้า ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ

4. เพื่อปลุกใจ เช่น บทความ สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ

5. เพื่อแสดงความคิดเห็น

6. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น เรื่องสั้น นิยาย นวนิยาย ฯลฯ

7. เพื่อล้อเลียน เช่น บทความการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ

8. เพื่อประกาศแจ้งให้ทราบ เช่น ประกาศของทางราชการ ประกาศรับสมัครงาน ฯลฯ

9. เพื่อวิเคราะห์ เช่น การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์วรรณกรรม ฯลฯ

10. เพื่อวิจารณ์ เช่น วิจารณ์การท างานของรัฐบาล วิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์หนังสือ ฯลฯ

11. เพื่อเสนอข่าวสารและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ

12. เพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น จดหมาย ธนาณัติ การกรอกแบบรายการ ฯลฯ

จุดประสงค์ของการเขียนคือสิ่งที่ผู้เขียนต้องคำนึงว่า ในการเขียนงานเขียนแต่ละครั้งนั้นต้องการ เขียนเพื่อสื่อเรื่องใด โดยผู้เขียนต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งหลักการเขียนประกอบการเขียน เพื่อให้การเขียนเพื่อการสื่อสารนั้นๆบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

หลักการเขียน

เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้

1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์

3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย

4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมาย ลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน

5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน

6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอัน เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่งคือกระบวกการ คิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราว ตลอดจนประสบการณ์ต่างๆไปสู้ผู้อื่นโดย

ใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอด การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการ บันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน

หลักการเขียน

เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้

1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ

2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์

3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย

4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมาย ลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน

5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน

6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอัน เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่ง คือกระบวกการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน เพื่อที่จะทำให้สามารถ เขียนได้ดียิ่งขึ้น ทักษะการเขียน

ชนิดา ภูมิสถิต ได้กล่าวถึง ทักษะการเขียนว่าการเขียนเป็นระบบการสื่อสาร หรือบันทึกถ่ายทอด ภาษาเพื่อแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด ความรู้สึก และอารมณ์โดย ใช้ตัวหนังสือ และเครื่องหมายต่างๆเป็น สื่อ ดังนั้น การเขียนจึงเป็นทักษะการใช้ ภาษา แทนคำพูดที่สามารถสื่อความหมายให้เป็นหลักฐานปรากฏได้ นานกว่าการพูด การเขียนที่เป็น เรื่องราวเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความมุ่งหมายของผู้เขียนนั้น จะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนมีทักษะในการใช้ภาษาเขียนได้ดีเพียงใด ทักษะ การใช้ภาษาเขียน ต้องอาศัย พื้นฐานความรู้จากการฟัง การพูด และการอ่าน เพราะจากพื้นฐานดังกล่าว จะ ทำให้มีความรู้ มีข้อมูล และมี ประสบการณ์เพียงพอที่จะให้เกิดความคิด ความสามารถในการเรียบเรียงและ ถ่ายทอดความคิดออกมา สื่อสารกับผู้อ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะในการเขียน : ศาสตร์และศิลป์แห่งการใช้คำ

การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายเป็นศาสตร์ที่ผู้ใช้ต้องรู้จักคำและเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสม ตรง ความหมาย ตรงราชาศัพท์ เหมาะกับกาลเทศะ ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน รู้จักหลบคำโดยไม่เกิดความกำกวม และใช้ คำให้เกิดภาพพจน์ ในการนำคำที่เลือกแล้วมาเรียบเรียงเป็นประโยค เป็นข้อความ ถือเป็นศิลป์แห่งการใช้ คำ ที่มิใช่เพียงแต่สื่อความรู้ความเข้าใจเท่านั้น หากยังสามารถก่อให้เกิดภาพ เสียง และความรู้สึกได้อีกด้วย

∙ คำและความหมายของคำ คำในภาษาไทยมีหลายลักษณะ เช่น คำเดี่ยว คำประสม คำสมาส คำสนธิ นอกจากนี้ยังมีหลายประเภท เช่น คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำสันธาน และคำบุพบท

∙ คำบัญญัติคือ การสร้างคำหรือกำหนดคำใหม่ขึ้นใช้ในภาษาไทย เนื่องจากความเจริญก้าวหน้า ทางวิชาการหรือประดิษฐกรรมใหม่ ทำให้เกิดคำศัพท์ที่มักใช้ในวงวิชาชีพ จึงมีความจำเป็นในการ ใช้ศัพท์บัญญัติเพื่อสื่อความเข้าใจให้ตรงกัน เช่น

- การบัญญัติศัพท์โดยคิดคำไทยขึ้นใหม่ ได้แก่ adapt = ดัดแปลง change = เปลี่ยนแปลง - การบัญญัติศัพท์โดยการทับศัพท์ตามหลักการออกเสียงของเจ้าของภาษา ได้แก่ Computer = คอมพิวเตอร์ Al Queda = อัล กออิดะห์

- หลักเกณฑ์การเขียนค าทับศัพท์ จะไม่ใส่วรรณยุกต์เพราะค าภาษาต่างประเทศ ถ้าถอดค าตาม ตัวอักษรจะไม่เหมือนการออกเสียง ได้แก่ FORD = ฟอร์ด OTOP = โอท็อป

∙ ราชาศัพท์คือ คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ต่อมาจึงใช้รวมถึงพระสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชน ราชาศัพท์เป็นภาษาที่มีแบบแผนการใช้ นอกจากจะแปรไปตามระดับ ฐานะของบุคคลแล้วยังแปรไปตามประเภทของคำทางไวยากรณ์อีกด้วย การใช้ราชาศัพท์ยังมี ข้อยกเว้นอยู่มาก บางครั้งเป็นพระราชนิยมที่โปรดให้ใช้ในแต่ละยุคสมัย ราชาศัพท์ที่ใช้บ่อย ได้แก่ - ทรง เช่น ทรงกราบ ทรงบาตร ทรงพระราชนิพนธ์ คำที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ใช้ ทรง นำหน้า - เป็น เช่น เป็นพระราชอาคันตุกะ คำนามราชาศัพท์ ไม่ต้องมี ทรง ซ้อนข้างหน้า ทรงเป็นประธาน ค านามสามัญ ต้องมี ทรง ซ้อนข้างหน้า

- เสด็จ เช่น รับเสด็จ ส่งเสด็จ เป็นคำราชาศัพท์ หมายความว่า ท่าน เสด็จพระราชดำเนินไป เป็น คำกริยา ราชาศัพท์ หมายความว่า ไป

- ถวาย เช่น ถวายพระพร ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เป็นคำกริยา หมายความว่า ให้ มอบให้ - องค์ เช่น พระบรมราโชวาท 2 องค์ พระที่นั่งองค์ใหม่ เป็นลักษณะนาม ราชาศัพท์ใช้เรียก อวัยวะ สิ่งของ คำพูด หรือสิ่งที่เคารพบูชาในศาสนา

- พระองค์ เช่น พระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ รู้สึกพระองค์ พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน ระบอบ ประชาธิปไตย - โอกาส เช่น ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ประทานพระวโรกาสให้เข้าเฝ้า โอกาส ใช้ได้ 2 กรณีเท่านั้น คือ ขอโอกาสและให้โอกาส

∙ ลักษณะนาม คือ คำที่แสดงลักษณะของสิ่งของต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์กำหนดว่าคำนามใดต้องใช้ ลักษณะนามอย่างใด เช่น จังหวัด 3 จังหวัด ยังไม่ได้รับงบประมาณ ทั้งนี้ คำที่มีความหมายเฉพาะ บางคำนำลักษณะนามมาใช้ในรูปคำนามวลีจะใช้ตัวอักษรแทนตัวเลข เช่น สามจังหวัดนี้ยังไม่ได้รับ งบประมาณ สี่กระทรวงหลัก สินค้าห้าดาว ∙ การเขียนคำย่อ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

- การย่อคำให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำหลักเป็นตัวย่อ รวมแล้วไม่เกิน 4 ตัวอักษร ใส่ จุดกำกับหลังอักษรตัวสุดท้าย เช่น กกต. = คณะกรรมการการเลือกตั้ง ขสมก. = องค์การขนส่ง มวลชนกรุงเทพ

ทั้งนี้ คำย่อที่ใช้กันมาก่อนอาจไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เช่น พ.ร.บ. = พระราชบัญญัติ พ.ศ. = พุทธศักราช

- การใช้คำย่อในงานเขียน ให้ใส่วงเล็บคำย่อไว้หลังคำเต็มในการอ้างถึงคำนั้นครั้งแรก และให้ใช้ คำ ย่อเมื่อต้องการกล่าวถึงคำนั้นในครั้งต่อๆไป

- การอ่านคำย่อ ให้อ่านคำเต็ม ยกเว้น คำย่อที่คนทั่วไปรู้จักดีแล้ว เช่น ปตท. อ่านว่า ปอ-ตอ-ทอ ก.พ. อ่านว่า กอ-พอ

∙ สำนวนไทย คือ ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมา มักมีความหมายไม่ตรงตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เมื่อใช้ประกอบข้อความจะทำให้ข้อความนั้นมีลักษณะคมคายน่าสนใจยิ่งขึ้น สำนวนไทยมีหลายประเภท เช่น สำนวน ภาษิต คำพังเพย คำคม และคำอุปมาอุปไมย

∙ การผูกประโยค ปัญหาที่พบในการเขียนประโยค คือ การใช้ส่วนขยายผิดที่ทำให้ประโยคไม่ชัดเจน กำกวม การใช้รูปประโยคแบบภาษาอังกฤษ และการใช้คำภาษาอังกฤษแทนคำภาษาไทย ทั้งนี้ หากประโยคมีความยาวมาก หรือ ซ้ำซ้อน ควรขึ้นประโยคใหม่ ประโยคประกอบด้วย - ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีคำกริยาเดียว

- ประโยคความรวม คือ การใช้คำกริยาหลายคำซ้อนกัน

- ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีมากกว่า 1 ใจความ โดยใช้คำเชื่อม เช่น ที่ ซึ่ง อัน ว่า และ ส่วน อย่างไรก็ตามใจความที่เชื่อมกันต้องมีความสัมพันธ์กันด้วย การใช้คำเชื่อมความและเชื่อม ประโยค ได้แก่ กับ แก่ แด่ ต่อ และ หรือ และ/หรือ ที่ ซึ่ง อัน ด้วย โดย ตาม ส่วน สำหรับ เช่น เป็น ต้น ได้แก่ ต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม

∙ การเว้นวรรค คือ การเว้นช่องว่างระหว่างคำหรือข้อความ เพื่อช่วยให้เนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น การ เว้นวรรคผิดที่หรือไม่เว้นวรรคเลย นอกจากทำให้เนื้อความไม่ชัดเจนยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจ ผิดพลาดได้

∙ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ที่ใช้บ่อยได้แก่

- ทับ (/) ใช้คั่น ระหว่างคำ มีความหมายว่า ต่อ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง

- ไม้ยมก (ๆ) ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือประโยคที่เป็นคำซ้ำ เพื่อให้อ่านซ้ำ

- ยติภังค์ (-) ใช้เขียนไว้สุดบรรทัดเพื่อต่อพยางค์ของคำหลายพยางค์ ซึ่งจำเป็นต้องเขียนแยก บรรทัดกัน

∙ การย่อหน้า เป็นลักษณะของวรรคตอนอย่างหนึ่ง ใช้เมื่อขึ้นต้นเรื่อง ข้อความใหม่ และใช้เมื่อ ข้อความนั้นต้องจำแนกแจกแจงหัวข้อเป็นหมวดหมู่เป็นขั้น ๆ ลงไป ซึ่งมักใช้ตัวเลขหรือตัวอักษร กำกับ ลักษณะย่อหน้าที่ดี คือ ต้องมีใจความสำคัญเพียงเรื่องเดียว ในแต่ละย่อหน้าต้องมีส่วนขยาย หรือใจความประกอบเพื่อช่วยให้ใจความสำคัญมีความชัดเจนขึ้นและที่สำคัญ คือ จำกัดความยาว ของย่อหน้าให้พอเหมาะ ทักษะในการสรุปเรื่องและ/หรือสรุปประเด็น : ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม

การสรุปสาระสำคัญ มี 3 ขั้นตอน คือ

∙ อ่านทั้งเรื่องให้เข้าใจแจ่มแจ้ง อย่าอ่านผ่าน ๆ อ่านให้จบ อ่านให้ละเอียด ทำความเข้าใจทั้งหมด

∙ จับใจความสำคัญของเรื่อง ต้องรู้ว่าอะไรเป็นสาระหลัก อะไรเป็นรายละเอียดประกอบ

∙ สรุปความ ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม

การบันทึกความเห็น

∙ ศึกษาเรื่อง ว่าเป็นเรื่องประเภทใด ขออนุมัติ หรือเสนอเพื่อทราบ ต้องตีความประเด็น ปัญหา ความเป็นมา ข้อเท็จจริง ตลอดจนแนวปฏิบัติ

∙ จับประเด็นเรื่อง ว่าเป็นเรื่องอะไร มีจุดประสงค์อย่างไร

∙ วิเคราะห์เรื่อง พิจารณาหลักเกณฑ์ เหตุผล ข้อดีข้อเสีย เสนอความเห็นคาดการณ์ล่วงหน้า พร้อม ทั้งแนวทางป้องกัน

∙ วินิจฉัยเรื่อง ประเมินคุณค่าทางเลือกแต่ละทาง เลือกทางที่เป็นคุณมากที่สุด มีความเสี่ยงน้อย ที่สุด

ทักษะในการเขียนหนังสือราชการ

การเขียนหนังสือราชการ เป็นการเขียนที่มีรูปแบบตามระเบียบงานสารบรรณของสำนัก นายกรัฐมนตรี และ อาจมีรายละเอียดเพิ่มเติมตามที่แต่ละหน่วยงานกำหนดขึ้นใช้เป็นการภายใน ทักษะจะ เกิดขึ้นได้จากการ ฝึกฝน ไม่ใช่จากการฝึกอบรมเพียงอย่างเดียว รูปแบบ ส่วนหัวเรื่อง

∙ ส่วนอ้างอิง : เป็นการบอกว่าหนังสือมาจากส่วนราชการใด

∙ ชื่อเรื่อง : เป็นการบอกเนื้อเรื่องโดยสรุป

∙ คำขึ้นต้น : เป็นการบอกว่าหนังสือฉบับนี้ทำถึงใคร

ส่วนเนื้อเรื่อง

∙ ความนำ : เป็นข้อมูลเบื้องต้น

∙ เนื้อความ : เป็นสาระสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ อย่างไร

- คำชี้แจง

- ข้อเท็จจริง

- ข้อพิจารณา

- ข้อยุติ

∙ จุดประสงค์: เป็นการสรุปตอนท้ายว่าหนังสือฉบับนี้ต้องการให้มีการอนุมัติ หรือรับทราบ หรือ ดำเนินการส่วนท้าย

∙ คำลงท้าย : เป็นไปตามระเบียบงานสารบรรณ

∙ การลงชื่อ : ต้องรู้ตำแหน่ง ยศ ฐานันดรศักดิ์

ภาษา คือ การนำถ้อยคำมาเรียบเรียงเป็นประโยคที่มีรูปประโยคเป็นภาษาไทยและถูกต้องตามแบบแผน ของภาษา กรณีใดควรใช้ภาษาแบบแผน ภาษากึ่งแบบแผน หรือภาษาปาก

∙ ถูกต้อง ถูกทั้งความหมาย ราชาศัพท์ ตลอดจนความหลากหลายของคำ เลือกให้เหมาะกับกาลเทศะ ∙ ชัดเจน

∙ กระจ่างในวัตถุประสงค์ ใช้ภาษาที่กระชับ ชัดเจน ใช้คำที่สั้น ตรงจุดมุ่งหมาย ใช้คำหรือวลี ช่วย กระชับความ

∙ รัดกุมไม่คลุมเครือ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่สร้างความกำกวม ใช้คำที่มีความหมายกว้างแทน การแจก แจง

∙ สละสลวยการวางส่วนขยายให้อยู่ติดกับคำที่จะขยาย ใช้คำที่เป็นภาษาระดับเดียวกัน ลำดับความ ก่อนหลังให้ถูกต้อง จัดข้อความที่ต้องการเน้นให้อยู่ในตำแหน่งที่มีน้ำหนัก ใช้คำซ้ำหรือคำคล้องจอง ช่วย สร้างความสละสลวย ใช้คำโน้มน้าวชักนำ ฯลฯ

∙ มีภาพพจน์ ใช้ข้อความที่ขัดแย้งกัน สัมพันธ์กัน เกินจริง หรือเหน็บแนม มาเปรียบเทียบให้ผู้อ่านนึก เห็นภาพ ใช้ประโยคสั้น มีการลำดับเนื้อความก่อนหลัง

∙ บรรลุจุดประสงค์และเป็นผลดี เขียนให้ผู้รับหนังสือเข้าใจว่า ผู้มีหนังสือไปต้องการอะไร จะให้ผู้รับ หนังสือปฏิบัติอย่างไร และ โน้มน้าวจูงใจให้ผู้รับหนังสือปฏิบัติตาม โดยเป็นผลดีไม่มีผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์อันดี หรือไม่ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้รุนแรง

เนื้อหา

∙ แบบต่อเนื่อง : เขียนเป็นย่อหน้า หน้าละใจความ

∙ แบบลำดับตัวเลข : ลำดับขั้น ตอนการดำเนินงาน/การปฏิบัติงาน

∙ แบบลำดับกระบวนการ : เรียงลำดับเป็นหัวข้อตามเนื้อเรื่อง อย่างไรก็ตาม การเขียนเอกสารแต่ละประเภท จะมีรูปแบบและวิธีการในการนำเสนอแตกต่างกัน ออกไป ซึ่ง ผู้เขียนจำเป็นต้องมีทักษะในการเลือกใช้ และทักษะเกิดได้จากการอ่านมาก ฟังมาก และเขียน มาก ซึ่ง จะต้องฝึกฝนอยู่เสมอ จึงจะเขียนให้สื่อสารกันอย่างประสบผลสำเร็จได้

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ด้านจินตนาการและพัฒนาการเด็กร่วมกับจิตวิทยาด้านการอ่านออกเสียง ของเด็กใน แต่ละวัยตามที่ บันลือ พฤกษะวัน (2521 ,หน้า 24 -25 ,134-136) ดังนี้

1) อายุ 6-12 ปี

1.1) อายุ 6-7 ปี สนใจนิทานสัตว์ และต้นไม้พูดได้

1.2) อายุ 8 ปี สนใจเทพนิยาย สภาพการดำรงชีวิต การเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ

1.3) อายุ 9 ปี สนใจเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตจริง สนใจเรื่องธรรมชาติแปลก ๆ ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

1.4) อายุ 10 ปี สนใจเรื่องผจญภัย เรื่องต่างแดน การท่องเที่ยว และชีวประวัติบุคคล สำคัญ เด็กชายบางคนเริ่มสนใจเครื่องยนต์กลไก การประดิษฐ์ ต านานและนิทาน เกี่ยวกับอภินิหาร

1.5) อายุ 11 ปี เริ่มสนใจเรื่องลึกลับ ผสมการผจญภัย

1.6) อายุ 12 ปี สนใจเรื่องชีวประวัติของครอบครัว ประวัติโรงเรียน ท้องถิ่น เรื่องที่เต็ม ไปด้วย ความตื่นเต้น เด็กผู้หญิงจะสนใจนิยายแบบผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น

2) อายุ 13-18 ปี

2.1) อายุ 13 ปี เริ่มสนใจอ่านหนังสือที่เป็นนิยายแบบผู้ใหญ่ นิยายเชิงประวัติศาสตร์ชีวประวัติ บุคคลที่สำคัญ การโลกโผนผจญภัย

2.2) อายุ 14 ปี สนใยสารคดีท่องเที่ยวในต่างแดน การดำเนินชีวิตที่มีความแตกต่าง ด้านวัฒนธรรม และความรู้รอบตัวต่าง ๆ

2.3) อายุ 15 ปีสนใจอ่านหนังสือเริงรมย์ที่ยาวขึ้น การแข่งขัน ตำนาน อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ

2.4) อายุ 16 ปี สนใจข่าวคราวเหตุการณ์ และคอลัมน์เฉพาะเรื่อง

2.5) อายุ 17-18 ปี สนใจเรื่องราวเฉพาะประเภทที่ตนนิยม

ณรงค์ ปานทอง (2526 , หน้า 32-36) ได้ให้หลักสำคัญในการสอนอ่านต่อไปนี้

1. ความพร้อมของเด็ก การเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านนั้น จะเกิดผลดีต่อเมื่อนักเรียนมีความพร้อม ความพร้อมในการอ่านของเด็กเกิดจากปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็ก และปัจจัยที่ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวเด็กประกอบด้วย ความพร้อมทางด้านร่างกาย สมอง อารมณ์และ ความ พร้อมทางวิชาการ

1.2 ปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น อาชีพของบิดามารดา บุคคลแวดล้อม สภาพสังคมที่ อาศัย การ สะสมหนังสือ เพื่อนคนใกล้ และตัวครูผู้สอนด้วย การอ่านของเด็กจะมีประสิทธิภาพดี ก็เนื่องจากความ พร้อมในด้านต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนและผู้ปกครองจะช่วยเหลือให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการอ่านที่ดี

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2. การกำหนดเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย

3. การกำหนดระยะเวลาในการวิจัย

4. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

5. การกำหนดแบบแผนการวิจัย

6. การเก็บรวบรวมข้อมูล

7. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ใช้ประชากร เป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling ) จำนวนนักเรียน 16 คน

2. การกำหนดเนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ใช้เนื้อหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การฝึกทักษะการอ่านและการเขียน คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี

3. การกำหนดระยะเวลาในการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการทดลองใน ปีการศึกษา 2566

4. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย

1. แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

1. แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย มีขั้นตอนการสร้างดังนี้

1.1 ขั้นเตรียม

1.1.1 ศึกษาหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร จุดประสงค์สาระการเรียนรู้และขอบข่าย เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับ ประถมศึกษาตอนปลาย

1.1.2 ศึกษารายละเอียด หลักการและแนวคิด รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก ทักษะ

1.1.3 ศึกษารายละเอียดเนื้อหาวิชาภาษาไทย เรื่อง การอ่านออกเสียงและการเขียน

1.1.4 วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มโนมติ เนื้อหาวิชา และกิจกรรม การเรียนการสอน

1.2 ขั้นสร้าง

สร้างแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี โดยจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีส่วนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ และความเชี่ยวชาญ ชำนาญการ มี ความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สามารถหาคำตอบได้อย่างถูกต้อง

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิชาภาษาไทย เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย มีขั้นตอนดังนี้

2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล และการสร้างข้อสอบ

2.2 ศึกษาจุดประสงค์ และเนื้อหากลุ่มสาระและมาตรฐานการเรียนรู้

2.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

-แบบทดสอบการอ่านออกเสียง และการเขียนคำ

2.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง

5. การกำหนดแบบแผนการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการ วิจัย One Group Pretest - Posstest Design ดังแสดงในตาราง 1

ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัย One Group Pretest - Posstest Design ก่อนเรียน หลังเรียน

ทดลอง

X

Pr Po

Pr แทน การทดสอบก่อนการทดลอง

Po แทน การทดสอบหลังการสอบ

X แทน แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย

6. การเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

1. ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. ดำเนินการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาวิชาภาษาไทย เรื่อง คำ ในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทย

3. นำผลคะแนนจากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์ โดยใช้ วิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานต่อไป

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

จากการประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียนการทำแบบทดสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 คน

สัญลักษณ์ที่ใช้นำเสนอข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลจากสูตรที่ใช้

N = แทนจำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

X = แทนคะแนนเฉลี่ย

ตารางที่ 1 ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง เรื่องคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 คน

ลำดับที่ รายชื่อ แบบทดสอบ

การอ่านและเขียนก่อนเรียน

( 1-100 คำ ) แบบทดสอบ

การอ่านและเขียนหลังเรียน

( 1-100 คำ )

1 เด็กหญิงสุกัญญา แดงอาจ 80 100

2 เด็กชายจิรเดช คืนดี 56 80

3 เด็กชชายรัชชานนท์ สุภี 71 90

4 เด็กชายวีระวัฒน์ ปานศักดิ์ 78 100

5 เด็กชายวุฒิภัทร วัฒนราษฎร์ 83 100

6 เด็กหญิงกัลยาณี สุภโกศล 50 80

7 เด็กหญิงกตัญฑิตา ศิวะสัตยา 83 98

8 เด็กหญิงจิตติมา ผาหยาด 61 80

9 เด็กหญิงดวงมีแวว เครื่องหอม 60 83

10 เด็กหญิงพิชญาธิดา สุโภภาค 65 94

11 เด็กหญิงราตรี กิ่งทอง 43 64

12 เด็กหญิงอภิญญา แสงคำ 57 79

13 เด็กหญิงอรพันธ์ สายงาม 67 83

14 เด็กหญิงนิภาภรณ์ วงษ์แดง 50 80

15 เด็กหญิงธนิษฐา แสวงทรัพย์ 74 93

16 เด็กชายณัฐชนนท์ อรอินทร์ 70 94

คะแนนรวม 997 1398

คะแนนเฉลี่ย 62.31 87.37

ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3

การทดสอบ N คะแนน X

ก่อนเรียน 16 997 62.31

หลังเรียน 16 1398 87.37

จากตารางที่ 2 ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาภาษาไทยของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดย เฉลี่ยเท่ากับ 25.26

บทที่ 5

สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนจากคำพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

สรุปผลการวิจัย

การฝึกทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย เรื่องคำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี สรุปผลได้ดังนี้ 1.) คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ แบบฝึกทักษะเรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 997 คิดเป็นร้อยละ 62.31 ส่วนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 1398 คิดเป็นร้อยละ 87.37ตามลำดับ 2.) คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้

อภิปรายผลการวิจัย

จากการศึกษาการฝึกทักษะการอ่านและการเขียนวิชาภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำในบัญชีคำพื้นฐานภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคำเตย อำเภอตาลสุม จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมุ่งเน้นให้นักเรียนได้มี โอกาสศึกษาและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการอ่านซ้ำๆ และการเขียนซ้ำๆ จนเกิดการจดจำ

ข้อเสนอแนะ

1.) ครูควรอธิบายแนะนำขั้นตอน ประโยชน์และความสำคัญของการทำแบบฝึกทักษะให้นักเรียน ได้รับทราบ พร้อมทั้งอธิบายถึงความสำคัญของทักษะหรือคุณสมบัติของผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาควบคู่ไปกับ การพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกัน

2.) การเรียนการสอนจะสำเร็จได้ด้วยดี ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังนั้นการทำข้อตกลง กันอย่างชัดเจนถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ เป็นเรื่องสำคัญเพราะจะไปสู่การจัดการเรียนการสอนที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด

บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ.(2545) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ องค์การรับส่ง สินค้าและ พัศดุภัณฑ์ .

ปราณีกองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการ คิดเลขใน ใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิด เลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(หลักสูตรและการ สอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ถ่าย เอกสาร.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2548). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แบเนจเม็นท์.

สมพร เชื้อพันธ์. (2547). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกับการจัดการ เรียนการสอนตามปกติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม (หลักสูตรและการสอน).พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร

เสนีย์ วิลาวรรณ ( สนพ. วพ. ) หน้า 156 -159 การเขียนของหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ” พัฒนา ทักษะภาษา” เล่ม 3 ( กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 ตาม หลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 )

 

ภาคผนวก

โพสต์โดย K : [18 มี.ค. 2567 (16:35 น.)]
อ่าน [1027] ไอพี : 223.205.225.93
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,251 ครั้ง
เงินตราของเวียดนามตอนที่ 1
เงินตราของเวียดนามตอนที่ 1

เปิดอ่าน 13,107 ครั้ง
ไฟหมุนร้านตัดผมมีที่มาอย่างไร
ไฟหมุนร้านตัดผมมีที่มาอย่างไร

เปิดอ่าน 14,014 ครั้ง
ไม่ใช่แค่ไอคิว!! สร้างเด็กไทยพันธุ์ใหม่ "เก่ง-ฉลาด-ดี" ต้อง "ฝึกทักษะสมอง EF"
ไม่ใช่แค่ไอคิว!! สร้างเด็กไทยพันธุ์ใหม่ "เก่ง-ฉลาด-ดี" ต้อง "ฝึกทักษะสมอง EF"

เปิดอ่าน 22,201 ครั้ง
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560
พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560

เปิดอ่าน 14,328 ครั้ง
เฮ ! ปรับลดค่าไฟลงอีก 1.05 สตางค์/หน่วย เริ่มพฤศจิกายนนี้
เฮ ! ปรับลดค่าไฟลงอีก 1.05 สตางค์/หน่วย เริ่มพฤศจิกายนนี้

เปิดอ่าน 9,950 ครั้ง
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว
หมดยุคหลอดไฟของ"โทมัส เอดิสัน"แล้ว

เปิดอ่าน 13,198 ครั้ง
เย็นกายเย็นใจเมื่อตั้งครรภ์
เย็นกายเย็นใจเมื่อตั้งครรภ์

เปิดอ่าน 59,713 ครั้ง
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก

เปิดอ่าน 7,986 ครั้ง
School Change Maker festival พลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี
School Change Maker festival พลิกโฉมโรงเรียน ป.1 อ่านออกเขียนได้ใน 1 ปี

เปิดอ่าน 16,373 ครั้ง
เหล็กปลอม ดูกันชัดๆ มันเป็นยังไง (ชมคลิป)
เหล็กปลอม ดูกันชัดๆ มันเป็นยังไง (ชมคลิป)

เปิดอ่าน 20,406 ครั้ง
คุณครูหายไปไหนครับ?
คุณครูหายไปไหนครับ?

เปิดอ่าน 83,465 ครั้ง
ที่มาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนในภาษาอังกฤษ
ที่มาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือนในภาษาอังกฤษ

เปิดอ่าน 8,890 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)
ปฏิรูปการศึกษาไทย พายเรือในอ่าง (1)

เปิดอ่าน 9,519 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์
ปฏิรูปการศึกษาสิงคโปร์

เปิดอ่าน 24,244 ครั้ง
AutoPlay Media Studio
AutoPlay Media Studio

เปิดอ่าน 12,464 ครั้ง
ไอพ่นเกือบยิงจานผีร่วง เครื่องบินขับไล่อังกฤษกระหน่ำจานบิน
ไอพ่นเกือบยิงจานผีร่วง เครื่องบินขับไล่อังกฤษกระหน่ำจานบิน
เปิดอ่าน 78,193 ครั้ง
Parts of Speech    Sentence   Phrase   Clause
Parts of Speech Sentence Phrase Clause
เปิดอ่าน 25,685 ครั้ง
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง
รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา 4.0 ที่มีประสิทธิผลต่อการเป็นองค์กรคุณภาพของสถานศึกษาเข้มแข็ง
เปิดอ่าน 14,553 ครั้ง
เชื้อรา และผื่นเรื่องต้องระวังเมื่อถึงหน้าร้อน
เชื้อรา และผื่นเรื่องต้องระวังเมื่อถึงหน้าร้อน
เปิดอ่าน 12,201 ครั้ง
ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?
ทำไมต้องอ้วนเพราะเบียร์ ?

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ