โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การจัดการศึกษาจึงเป็นกระบวนการที่สำคัญที่สุด
ในการเตรียมและพัฒนาคนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น ผู้บริหาร ครู และนักเรียนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนการสอนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงรอบตัวและทันต่อความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา
การศึกษาจะมีคุณภาพที่ดีนั้นย่อมเกิดขึ้นได้หากมีระบบการบริหารจัดการที่ดี (สำนักนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2554 : 1) ผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการมีเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา รวมทั้งโรงเรียนต้องจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ได้คุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด ภายใต้การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเป็นนักเรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ
การจัดการเรียนรู้ของครูร่วมกับการนิเทศภายในการสอนอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ มีความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด และผู้บริหารประสบผลสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ บุคลากรในโรงเรียนต้องร่วมมือกันเพื่อพิจารณาปัญหา ความจำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาการจัด
การเรียนการสอนของครูและผลการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งในด้านการบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร สื่อวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนบรรยากาศสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมในโรงเรียน
ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงได้นิเทศภายในเพื่อพัฒนาห้องเรียนให้มีคุณภาพคุณภาพโดยใช้กระบวนการนิเทศแบบ PDER เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยมุ่งพัฒนาห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนคุณภาพต่อไป
การนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PDER โรงเรียนน้ำคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร มีรายละเอียด ดังนี้
1. การวางแผน (P-Planning)
มีการวางแผนการนิเทศภายในโดยภายในของครูผู้สอนโรงเรียนน้ำคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร และข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนมาในปีการศึกษา 2565 มาจัดทำเป็นสารสนเทศ และกำหนดจุดพัฒนาโดยมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน ครู และสถานศึกษาให้เกิดคุณภาพ และจัดทำแผนการนิเทศภายใน
2. การปฏิบัติงานตามแผน (D-Doing)
ดำเนินการตามแผนงานที่ได้จัดทำไว้ โดยให้นิเทศภายในเป็นระยะ จากนั้นมีการกำกับ ติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการ PLC เพื่อประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ
3. การประเมินผลผลิตกระบวนการดำเนินงาน (E-Evaluating)
ดำเนินการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูเป็นระยะ และประเมินผลในภาพรวมโดยหลังจากการประเมินผล หากพบว่า มีปัญหาหรืออุปสรรค อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การดำเนินงานไม่ได้ผลก็สมควรจะต้องทำการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งการปรับปรุงแก้ไข เช่น ครูปรับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของตนเอง อาจทำได้โดยการให้ความรู้ในสิ่งที่ทำใหม่อีกครั้งหนึ่ง
4. การร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (R-Reflecting)
ดำเนินการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้เป็นระยะ ครูร่วมกันอภิปรายสะท้อนผล แลกเปลี่ยนกิจกรรมที่ใช้ในห้องเรียน แลกเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหาผู้เรียนโดยการ PLC หลังจากนั้นให้ครูนำเทคนิควิธีการต่าง ๆ ที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และมีการสะท้อนผลร่วมกันอีกครั้ง