ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง ๒
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ผู้เขียน นายธวัชชัย เนตินิธิวัฒนพงศ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาและปรับปรุงรูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 126 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 1 คน และครู จำนวน 24 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 13 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 38 คน และสอบถามนักเรียนที่เรียนหลักสูตรทวิศึกษา จำนวน 44 คน และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสังเคราะห์เอกสาร แบบบันทึกการประชุม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนบ้านปากช่อง 2 พบว่า ระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีระดับการปฏิบัติระดับปานกลาง ด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีระดับการปฏิบัติระดับปานกลาง และด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีระดับปฏิบัติระดับน้อย ส่วนปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีปัญหาระดับมากที่สุด ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีปัญหาระดับมาก และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีปัญหาระดับมาก ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยการศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และจากการประชุมครูและผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนารูปแบบ พบว่า การพัฒนารูปแบบมี 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกำหนดปัญหาระบุสาเหตุของปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา 2) ขั้นการเลือกแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ที่นำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษา และกำหนดเป็นองค์ประกอบของรูปแบบเพื่อยกร่างรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบตามหลักการบริหารหลักสูตร มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีจำนวน 13 ข้อ ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีจำนวน 11 ข้อ และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีจำนวน 11 ข้อ
3. ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ทำให้ได้คู่มือการสร้างชุมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และผลจากการตอบแบบสอบถามหลังการใช้รูปแบบ พบว่า คุณภาพด้านการปฏิบัติงาน การบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีการปฏิบัติระดับมากที่สุด ด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีการปฏิบัติระดับมากที่สุด และด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีการปฏิบัติระดับมาก และผลจากข้อเสนอแนะให้เพิ่มเติมอีก จำนวน 2 องค์ประกอบ คือ ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษา ข้อ 11 ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและด้าน PLC และด้านการกำกับดูแลคุณภาพ ข้อ 11 ร่วมเรียนรู้และสะท้อนคิดแนวทางการติดตามผลการจบหลักสูตรทวิศึกษา
4. ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการบริหารหลักสูตรทวิศึกษาโรงเรียนปากช่อง 2 สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการส่งเสริมสนับสนุนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และด้านการกำกับดูแลคุณภาพมีความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับมาก