ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานผลการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

รายงานผลการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สุนันทา ศรีจันทร์

รูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบ

รูปแบบการสอนแบบสืบสอบเป็นการสอนที่เน้นการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธี การฝึกให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางความคิด หาเหตุผลจนค้นพบความรู้หรือแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคำถามประเภทกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดหาวิธี การแก้ปัญหาได้เอง และสามารถนำวิธีการแก้ปัญหานั้นมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

วิธีการสอนแบบสืบสอบ ผู้สอนจะต้องจัดสร้างสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ หรือสิ่งเร้าต่าง ๆที่เป็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ฝึกสังเกต เปรียบเทียบ จนเห็นปัญหาและเกิดความสงสัยใคร่รู้ แล้วครูกระตุ้นให้ผู้เรียน หาสาเหตุของปัญหาด้วยการใช้คำถาม จากนั้นให้มีการตั้งสมมติฐานเชิงทำนายแล้วพิสูจน์ ต่อมาให้ผู้เรียนช่วยกันสรุป ในที่สุดครูส่งเสริมให้ผู้เรียนนำหลักการและกฎเกณฑ์ที่ค้นพบไปใช้ในการแก้ปัญหาเพื่อให้ เกิดการควบคุม และสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในสภาพการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบ

วิธีสอนแบบสืบสอบเป็นที่รู้จักกันหลายชื่อ เช่นวิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน วิธีสอนแบบสอบสวน วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มาจากภาษาอังกฤษว่า Inquiry Method และให้ความหมายไว้ต่างกัน ดังนี้

ชาตรี เกิดธรรม (2542: 76) กล่าวว่า วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นวิธีสอนที่ฝึกให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผล จะค้นพบความรู้หรือแนวทางที่ถูกด้วยตนเอง โดยผู้สอนตั้งคำถามประเภทกระตุ้นให้นักเรียนใช้ความคิดหาวิธีการแก้ปัญหาได้เอง และสามารถ นำการแก้ปัญหามาใช้ในชีวิตประจำวันได้

ภพ เลาหไพบูลย์ (2542: 123) กล่าวว่าการสอนแบบสืบเสาะความรู้เป็นการสอนที่เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้ที่ช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบความจริงต่างๆ ด้วยตนเอง ให้นักเรียนมีประสบการณ์ตรง ในการเรียนรู้เนื้อหา

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ (2544: 56) ให้ความหมายวิธีสอนแบบสืบสอบ หมายถึง การจัดการเรียน การสอนโดยวิธีให้นักเรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูเป็น ผู้อำนวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียนบรรลุเป้าหมาย วิธีสืบสอบความรู้จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ การเรียน

ทิศนา แขมมณี (2551: 141) กล่าวว่าการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการการสืบสวนสอบสวน (Inquiry Instrution) หมายถึง การดำเนินการเรียนการสอนโดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิด และลงมือเสาะแสวงหาความรู้เพื่อนำมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง โดยที่ผู้สอนช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ให้แก่ผู้เรียน เช่น ในด้านการสืบค้นหาแหล่งความรู้ การศึกษาข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุปข้อมูล การอภิปรายโต้แย้งทางวิชาการและการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ราชบัณฑิตยสถาน (2551: 255) กล่าวว่ากระบวนการสืบสอบเป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนที่มุ่งพัฒนาทักษะและความสามารถในการสืบสอบหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการโดยการใช้สถานการณ์ปัญหา กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใฝ่รู้ดำเนินการแสวงหาข้อมูลทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้และสรุปหาคำตอบ

จากความหมายของวิธีสอนแบบสืบสอบ สรุปได้ว่า วิธีสอนแบบสืบสอบเป็นวิธีการจัดการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการทางความคิด ค้นพบความรู้หรือแนวทางแก้ปัญหาได้เองและสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่วนครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก

วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสอบ

รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาทักษะในการสืบสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจโดยอาศัยกลุ่มซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมช่วยกระตุ้นความสนใจหรือความอยากรู้ และช่วยดำเนินการแสวงหาความรู้หรือคำตอบที่ต้องการ

กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบการสืบสอบ

วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542: 17) กล่าวถึง ขั้นตอนกระบวนการสืบสวนสอบสวน(Inquiry process) ไว้ 5 ขั้น ดังนี้

1. กำหนดปัญหา

- จัดสถานการณ์หรือเรื่องราวที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน สังเกต สงสัยในเหตุการณ์หรือเรื่องราว

- กระตุ้นให้ผู้เรียนระบุปัญหาจากการสังเกตว่าอะไรคือปัญหา

2.กำหนดสมมติฐาน

- ตั้งคำถามให้ผู้เรียนร่วมกันระดับความคิด

- ให้ผู้เรียนสรุปสิ่งที่คาดว่าจะเป็นคำตอบของปัญหานั้น

3.รวบรวมข้อมูล

- มอบหมายให้ผู้เรียนไปค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสารหรือแหล่งข้อมูลต่างๆ

- ให้ผู้เรียนวิเคราะห์และประเมินว่า ข้อมูลนั้นมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือไม่ มีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงใด

4.ทดสอบสมมติฐาน

- ให้ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปรายเพื่อสนับสนุนสมมติฐาน

5.สร้างข้อสรุป

-ให้ผู้เรียนสรุปว่าปัญหานั้นมีคำตอบหรือข้อสรุปอย่างไร อาจสรุปในรูปของรายงานหรือเอกสาร

ไสว ฟักขาว (2544: 102-104) กล่าวถึงขั้นตอนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนไว้ 6 ขั้น ดังนี้

1. ขั้นนำเสนอสถานการณ์หรือสิ่งที่เป็นปัญหา โดยครูอาจเล่าเรื่องโดยใช้สื่อหรืออุปกรณ์ภาพประกอบหรือนำของจริงมาแสดงก็ได้

2. ขั้นสังเกต ครูให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งที่ครูเสนอโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรืออาจใช้เครื่องมือบางอย่างช่วยก็ได้

3. ขั้นอธิบาย ครูให้ผู้เรียนคิดสาเหตุของปัญหาแล้วตั้งสมติฐานเกี่ยวกับปัญหานั้นจากความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน

4. ขั้นทดสอบ ครูให้ผู้เรียนช่วยกันตั้งคำถามเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาให้มากที่สุดเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยครูจะไม่พยายามตอบคำถามในลักษณะที่จะอธิบายคำตอบของปัญหา แต่อาจตอบเพียง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เท่านั้น นอกจากการถามแล้ว ครูอาจให้ผู้เรียนศึกษาหรือทำการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานด้วยก็ได้ในกรณีที่เรื่องไม่ยุ่งยากและใช้เวลาไม่มาก

5.ขั้นสรุป ครูให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้จากขั้นทดสอบเพื่ออธิบายคำตอบของปัญหา

6.ขั้นนำความรู้ไปใช้ ครุกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ทิศนา แขมมณี (2545: 246- 248) กล่าวว่ารูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ที่ชวนให้งุนงงสงสัย

ปัญหาหรือสถานการณ์ที่ใช้ในการกระตุ้นความสนใจและความต้องการในการสืบสอบและแสวงหาความรู้ต่อไปนั้น ควรเป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน และจะต้องมีลักษณะที่ชวนให้งุนงงสงสัย เพื่อท้าทายความคิดและความใฝ่รู้ของผู้เรียน

ขั้นที่ 2 ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาหรือสถานการณ์นั้น

ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และพยายามกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งหรือความแตกต่างทางความคิดขึ้น เพื่อท้าทายให้ผู้เรียนพยายามหาทางเสาะแสวงหาข้อมูลหรือวิธีการพิสูจน์ทดสอบความคิดของตน เมื่อมีความแตกต่างทางความคิดเกิดขึ้น ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนที่มีความคิดเห็นเดียวกันรวมกลุ่มกัน หรืออาจรวมกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มมีสมาชิกที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันก็ได้

ขั้นที่ 3 ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนในการแสวงหาความรู้

เมื่อกลุ่มมีความคิดเห็นแตกต่างกันแล้ว สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนว่า จะแสวงหาข้อมูลอะไร กลุ่มจะพิสูจน์อะไร จะตั้งสมมติฐานอะไร กลุ่มจำเป็นต้องมีข้อมูลอะไร และจะไปแสวงหาที่ไหน หรือจะได้ข้อมูลนั้นมาได้อย่างไร จะต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว จะวิเคราะห์อย่างไร และจะสรุปผลอย่างไร ใครจะช่วยทำอะไร จะใช้เวลาเท่าใด ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการสืบสอบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการกลุ่ม ผู้สอนทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการทำงานให้แก่ผู้เรียน รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผน แหล่งความรู้ และการทำงานร่วมกัน

ขั้นที่ 4 ให้ผู้เรียนดำเนินการแสวงหาความรู้

ผู้เรียนดำเนินการเสาะแสวงหาความรู้ตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ ผู้สอนช่วยอำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำและติดตามการทำงานของผู้เรียน

ขั้นที่ 5 ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูล นำเสนอและอภิปรายผล

เมื่อกลุ่มรวบรวมข้อมูลได้มาแล้ว กลุ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ต่อจากนั้นจึงให้แต่ละกลุ่มนำเสนอผล อภิปรายผลร่วมกันทั้งชั้น และประเมินผลทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการเรียนรู้ที่ได้รับ

ขั้นที่ 6 ให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการสืบเสาะหาคำตอบต่อไป

การสืบสอบและเสาะแสวงหาความรู้ของกลุ่มตามขั้นตอนข้างต้นช่วยให้กลุ่มได้รับความรู้ ความเข้าใจ และคำตอบในเรื่องที่ศึกษา และอาจพบประเด็นที่เป็นปัญหาชวนให้งุนงงสงสัยหรืออยากรู้ต่อไป ผู้เรียนสามารถเริ่มต้นวงจรการเรียนรู้ใหม่ ตั้งแต่ขั้นที่ 1 เป็นต้นไป การเรียนการสอนตามรูปแบบนี้ จึงอาจมีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ตามความสนใจของผู้เรียน

จิตรลดา แสงปัญญา (2555:232-233) ได้ระบุขั้นตอนการสอนแบบการฝึกกระบวนการสืบสอบ(Inquiry Training) ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.ขั้นเผชิญกับปัญหาที่น่าฉงนสงสัย

ผู้สอนเป็นฝ่ายเริ่มการสอนด้วยการเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหา และอธิบายกระบวนการสืบสอบอันได้แก่ จุดมุ่งหมายและกระบวนการของคำถามประเภทตอบรับหรือปฏิเสธ เช่น เพราะเหตุใดวันทองจึงไม่ยอมตัดสินใจที่จะเลือกไปอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งระหว่างขุนแผน ขุนช้าง และจมื่นไวยวรนารถ หรือ การที่พระเวสสันดรชาดกยกกัณหา-ชาลี ให้แก่ ชูชก แสดงว่าพระเวสสันดรรักพระองค์มากกว่ารักโอรสธิดา จริงหรือไม่

2.ขั้นรวบรวมข้อมูล

ในขั้นนี้ผู้เรียนจะพยายามรวบรวมข้อมูลจากจุดมุ่งหมาย จากเงื่อนไขต่าง ๆและจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของสถานการณ์ที่เป็นปัญหา เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสืบสวนหาความรู้ข้อมูลนี้อาจได้ จากการศึกษารายละเอียด จากการสังเกต หรือจากประสบการณ์ เช่น การรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบปัญหาเรื่องนางวันทอง ในขั้นนี้ ผู้เรียนต้องศึกษาภูมิหลังของนางวันทองตั้งแต่การได้รับการอบรมเลี้ยงดู พฤติกรรมขุนแผน ขุนช้างที่แสดงต่อนาง ค่านิยมของสังคมสมัยอยุธยา ฯลฯ

3.ขั้นรวบรวมข้อมูลเพื่อการทดสอบ

ในขั้นนี้ผู้เรียนจะวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นที่ 1 และแสวงหาลักษณะข้อมูลที่เหมือนและต่างกันเพื่อใช้เป็นข้อสังเกตและข้อสรุปนำไปสู่การตั้งสมมติฐาน

4.ขั้นประมวลความคิดเพื่อให้คำอธิบาย

ผู้เรียนจะต้องพยายามสร้างกฎและประมวลคำอธิบายจากข้อมูลต่าง ๆที่รวบรวมได้ในขั้นที่ 1,2,3 เพื่อตอบหรืออธิบายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น

5.ขั้นการวิเคราะห์กระบวนการสืบสอบ ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์กระบวนการและกลวิธีในการสืบสอบของแต่ละคน และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาวิธีการที่น่าพึงพอใจขึ้นกว่าเดิม

การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีนี้ ผู้สอนจะมีบทบาทมากในขั้นที่ 1-3 เพื่อควบคุมชั้นเรียนให้ดำเนินไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้ โดยเฉพาะในขั้นที่ 2 ผู้สอนจะต้องคอยช่วยเหลือผู้เรียนเน้นคำถามของผู้เรียนให้เป็นคำถามประเภทตอบรับหรือปฏิเสธเท่านั้น และถ้าจำเป็นผู้สอนจะต้องรู้รายละเอียดใหม่ๆ หรืออาจตั้งคำถามที่เหมาะสมเพื่อเน้นตัวปัญหาให้ชัดขึ้น สำหรับผู้เรียนมีหน้าที่ในการเสาะแสวงหาความรู้ด้านการสอบถามข้อมูล การอภิปรายในระหว่างกลุ่มผู้เรียน หรืออภิปรายกับผู้สอน การรวบรวมข้อมูลเพื่อตั้งสมมติฐานและการทดสอบข้อมูลจนได้ผลสรุปในที่สุด

จากขั้นตอนการเรียนการสอนแบบสืบสอบ สรุปได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.ขั้นสังเกต เป็นขั้นที่ผู้สอนสร้างสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและตั้งคำถามต่าง ๆจากสถานการณ์นั้น เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตและประเมินสถานการณ์ทีได้รับ เป็นการกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน

2.ขั้นอธิบาย เป็นขั้นที่ผู้สอนกระตุ้นความคิดของผู้เรียนโดยการตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนพยายามหาคำอธิบาย หาสาเหตุของปัญหาหรือตอบโจทย์จากคำถามในขั้นแรก โดยพยายามให้ผู้เรียนนำความรู้ประสบการณ์เดิมและข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นการฝึกความคิดของผู้เรียนจากเหตุไปสู่ผลและจากผลไปสู่เหตุ

3.ขั้นทำนายและทดสอบ เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำข้อมูลทั้งหมดร่วมกันอภิปรายความเป็นไปได้ของคำตอบและทดลองหาคำตอบของปัญหาจากวิธีการทั้งหมดที่คาดคะเนไว้เพื่อดูว่าวิธีการใดจะสามารถแก้ปัญหาได้ดีที่สุด โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาเมื่อนักเรียนต้องการ

4.ขั้นนำไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปปรับใช้กับสถานการณ์หรือปัญหาใหม่ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

ผู้เรียนจะสามารถสืบสอบและเสาะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เกิดความใฝ่รู้และมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มขึ้น และได้พัฒนาทักษะการสืบสอบ (inquiry skill) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (scientific process skill) และทักษะการทำงานกลุ่ม (group work skill)

การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ หลักการและแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนการสอนภาษา ทฤษฎีของรูปแบบกระบวนการสืบสอบ

หลักการและแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนการสอนภาษา รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ

รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ(Process Skill)ที่เกี่ยวข้องกับวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นกระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ ปัจจุบันการศึกษาให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญในการดำรงชีวิต

จอยส์และวีล (ทิศนา แขมมณี. 2545 : 246- 248 ; อ้างอิงจาก จอยซ์และวีล, 1996 : 80 - 88) เป็นผู้พัฒนารูปแบบนี้จากแนวคิดหลักของเธเลน(Thelen) 2 แนวคิด คือ แนวคิดเกี่ยวกับการสืบเสาะแสวงหาความรู้ (inquiry) และแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ (knowledge) เธเลนได้อธิบายว่า สิ่งสำคัญที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกหรือความต้องการที่จะสืบค้นหรือเสาะแสวงหาความรู้ก็คือ ตัวปัญหา แต่ปัญหานั้นจะต้องมีลักษณะที่มีความหมายต่อผู้เรียนและท้าทายเพียงพอที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการแสวงหาคำตอบ นอกจากนั้นปัญหาที่มีลักษณะชวนให้เกิดความงุนงงสงสัย (puzzlement) หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิด จะยิ่งทำให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเสาะแสวงหาความรู้หรือคำตอบมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมนุษย์อาศัยอยู่ในสังคม ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม เพื่อสนองความต้องการของตนทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม ความขัดแย้งทางความคิดที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหรือในกลุ่ม จึงเป็นสิ่งที่บุคคลต้องพยายามหาหนทางขจัดแก้ไขหรือจัดการทำความกระจ่างให้เป็นที่พอใจหรือยอมรับทั้งของตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนในเรื่อง “ความรู้” นั้น เธเลนมีความเห็นว่า ความรู้เป็นเป้าหมายของกระบวนการสืบสอบทั้งหลาย ความรู้เป็นสิ่งที่ได้จากการนำประสบการณ์หรือความรู้เดิมมาใช้ในประสบการณ์ใหม่ ดังนั้น ความรู้จึงเป็นสิ่งที่ค้นพบผ่านทางกระบวนการสืบสอบ (inquiry) โดยอาศัยความรู้และประสบการณ์

เหตุผลที่เลือกรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบ

รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับ การสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้หาข้อมูล เก็บข้อมูล ใช้ความคิด ตั้งคำถาม ตอบคำถาม อย่างอิสระทำให้ผู้เรียนได้ฝึกแก้ไขปัญหา ใช้ความคิดและเป็นวิธียั่วยุความสนใจให้ผู้เรียนอยากติดตาม เพื่อค้นหาความจริงต่อไปเรื่อยๆ ทั้งนี้หากผู้สอนจัดลำดับเนื้อหาและกิจกรรมต่างๆไว้เป็นอย่างดี จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดี และช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้าน 1) ทักษะทางปัญญาโดยผู้เรียนได้ใช้ความคิดและสติปัญญาในการหาข้อมูลแสดงเหตุผลอย่างอิสระ นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาการตัดสินใจของผู้เรียนอย่างมีเหตุผล 2) ทักษะทางสังคม ทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่น ในเหตุผล กล้าที่จะนำเอาความเข้าใจของตนมาใช้ปฏิบัติจริงได้ กล้าคิดกล้าแสดงออก หรือรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 3)ทักษะทางการปฏิบัติ เป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มีความรอบคอบ รู้จักการสังเกตตั้งคำถามและแสวงหาข้อเท็จจริง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยไม่ได้ตรวจสอบก่อนซึ่งสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีในรายวิชาภาษาไทย ที่เน้นในด้านภาษา คือการพิจารณาวรรณคดีในแง่ของเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสื่อความหมาย หรือสื่อสารทางภาษา อาจเน้นพัฒนาการ ทางภาษาที่ปรากฏในวรรณคดี ศิลปะการใช้ภาษา หรือศึกษาในแง่ภาษาศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบการสอนที่เน้นด้านพัฒนาการของผู้เรียนสามารถทำได้โดยการปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดความรัก สนุกสนานในการอ่านวรรณคดี มีนิสัยรักการอ่าน จึงทำให้ผู้รายงานมีความสนใจที่จะศึกษาและเลือกรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบเพื่อนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป

บรรณานุกรม

จิตรลดา แสงปัญญา. (2555). “เทคนิคการสอนแบบการฝึกกระบวนการสืบสอบ (Inquiry Training) ” ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิชาภาษาไทย หน่วยที่ 4 กรุงเทพมหานคร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชาตรี เกิดธรรม. (2542). การสอนวิทยาศาสตร์เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ: บริษัทเซ็นเตอร์ดิสคัฟเวอร์จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

____________. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ:แนวคิดวิธีและเทคนิคการสอน 1. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาตร์.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ อักษร A-Lฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: แอล.ที. เพลส.

ไสว ฟักขาว (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

โพสต์โดย นันทา : [18 มี.ค. 2567 (12:08 น.)]
อ่าน [1943] ไอพี : 182.232.176.202
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 38,056 ครั้ง
5คำแนะนำป้องกันครูจากการเป็นหนี้
5คำแนะนำป้องกันครูจากการเป็นหนี้

เปิดอ่าน 15,831 ครั้ง
วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย หลังเดินทาง
วิธีแก้อาการอ่อนเพลีย หลังเดินทาง

เปิดอ่าน 11,632 ครั้ง
ปลาชะลอสมองเสื่อม
ปลาชะลอสมองเสื่อม

เปิดอ่าน 2,374 ครั้ง
ศาสนา เรื่องที่ไม่เคยรู้ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้ตามหลักศาสนาพุทธ  เรื่อง การถวายสังฆทาน
ศาสนา เรื่องที่ไม่เคยรู้ ตอนที่ 1 สาระน่ารู้ตามหลักศาสนาพุทธ เรื่อง การถวายสังฆทาน

เปิดอ่าน 18,784 ครั้ง
การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์
การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

เปิดอ่าน 14,213 ครั้ง
เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย
เรื่องของวันหยุดยาวในเดือนเมษายน กับการเปิด-ปิดเทอมของมหาวิทยาลัย

เปิดอ่าน 18,585 ครั้ง
ผักที่ห้ามในเทศกาลกินเจ
ผักที่ห้ามในเทศกาลกินเจ

เปิดอ่าน 24,800 ครั้ง
รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ
รู้ไหม? ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ

เปิดอ่าน 1,682 ครั้ง
อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา
อานิสงค์ของการถวายเทียนพรรษา

เปิดอ่าน 10,799 ครั้ง
จุดกำเนิดของ Google.com
จุดกำเนิดของ Google.com

เปิดอ่าน 25,512 ครั้ง
แห่กดไลค์ ด.ญ.จิตราภา พูดอังกฤษหน้าชั้น ผู้ใหญ่ยังอาย
แห่กดไลค์ ด.ญ.จิตราภา พูดอังกฤษหน้าชั้น ผู้ใหญ่ยังอาย

เปิดอ่าน 53,196 ครั้ง
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาของไทย

เปิดอ่าน 146,845 ครั้ง
นิยามทางการศึกษา
นิยามทางการศึกษา

เปิดอ่าน 10,809 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44
จดหมายฉบับที่ 57 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จุดเด่นการใช้มาตรา 44

เปิดอ่าน 8,091 ครั้ง
จัดอันดับทุนมนุษย์
จัดอันดับทุนมนุษย์

เปิดอ่าน 27,608 ครั้ง
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
เปิดอ่าน 5,983 ครั้ง
ติดฟิล์มรถยนต์ราคาถูก ติดรุ่นไหนดี ควรเลือกอย่างไร ?
ติดฟิล์มรถยนต์ราคาถูก ติดรุ่นไหนดี ควรเลือกอย่างไร ?
เปิดอ่าน 12,359 ครั้ง
ขอบพระคุณคอลัมน์ "คลิกเฮียร์" หนังสือพิมพ์"เดลินิวส์"
ขอบพระคุณคอลัมน์ "คลิกเฮียร์" หนังสือพิมพ์"เดลินิวส์"
เปิดอ่าน 10,735 ครั้ง
แนะนำแอพลิเคชัน escivocab : พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สสวท.
แนะนำแอพลิเคชัน escivocab : พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี สสวท.
เปิดอ่าน 31,504 ครั้ง
การจัดลำดับอาวุโสในราชการ
การจัดลำดับอาวุโสในราชการ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ