บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวนฤมล ศรียาเทพ ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ปีที่ประเมิน : 2566
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุ (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566
2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566
3. เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566
4. เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566
ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ครูและบุคลากร จำนวน 28 คน ผู้ปกครอง จำนวน 438 คน (ผู้ปกครองซ้ำกัน 21 คน) และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 459 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 938 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลการประเมิน จำนวน 3 ฉบับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินในด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป ซึ่งมีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินที่จะดำเนินการต่อไป
2. ผลการประเมินในด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะดำเนินการต่อไป
3. ผลการประเมินในด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต(Product) ของโครงการ ประกอบด้วย 6 ประเด็น ได้แก่
4.1 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในภาพรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.60 ขึ้นไป
4.2 ผลการประเมินความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 459 คน มีความสามารถ ในการอ่านคิด วิเคราะห์ และเขียน อยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม จำนวน 388 คน คิดเป็นร้อยละ 84.53 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือ มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00 ขึ้นไป และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน
4.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 459 คน มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม จำนวน 423 คน คิดเป็นร้อยละ 92.16 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ คือ มีผล การประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 85.00 ขึ้นไป และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน
4.4 ผลการประเมินระดับคุณภาพในการดำเนินการของโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.5 ครูและบุคลากร ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป
4.6 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนเทศบาลจุ่งฮั่ว ปีการศึกษา 2566 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป