ชื่อเรื่อง การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน
เทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น
ผู้ประเมิน วีระพงษ์ กองพรม
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน
ปีที่วิจัย 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี่มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษา สภาพ ปัจจัย และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 4) เพื่อประเมินผลการใช้แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยตอนที่ 1 การวิเคราะห์เอกสาร การสอบถามผู้บริหารและครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน ประธานชุมชนศรีฐาน จำนวน 100 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีจับสลากและสัมภาษณ์แนวทางการบริหาร งานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการของโรงเรียนที่มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการ 3 โรงเรียน โดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารโรงเรียนละ 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฐานโรงเรียนละ 1 คน และครูผู้สอนโรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก แนวทาง และประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน จากนั้นทำการพิจารณา ร่างแนวทางการพัฒนา ครั้งที่ 1 โดยทำการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบ แนวทาง จากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นทำการตรวจสอบร่างแนวทางการพัฒนา ครั้งที่ 2 โดยการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบแนวทาง จาก ผู้เชี่ยวชาญ นวน 5 คน และทำการสร้างคู่มือการใช้แนวทาง และแบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้แนวทาง จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้แนวทาง โดยสอบถามจากผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 35 คน และสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับคุณภาพผู้เรียน จากครูผู้สอนจำนวน 32 คน และขั้นตอนที่ 4 ทำการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพผู้้เรียนหลังจากทดลองใช้แนวทางฯ จากผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน จำแนกเป็น ผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 32 คน และผู้ปกครอง จำนวน 232 คน และการประเมินแนวทาง ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ ปัจจัย และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวม อยู่ในระดับน้อย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านงบประมาณมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และแนวทางการ บริหารงานวิชาการควรมีกระบวนการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน (Plan) 2) ด้านการปฏิบัติ (Do) 3) ด้านการตรวจสอบ (Check) และ4) ด้านการปรับปรุงแกไข (Act)
2. ผลการสร้างและตรวจสอบแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น ประกอบด้วยองค์ประกอบของแนวทาง มี 9 องค์ประกอบ 46 แนวทาง ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1) งานพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2)งานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) งานวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 4) งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) งานพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) งานพัฒนาส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ 7) งานนิเทศการศึกษา 8) งานแนะแนวการศึกษา และ 9 งานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
3. ผลการทดลองใช้แนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น พบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก คุณภาพผู้เรียนหลงัการใช้แนวทาง ฯ มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการใช้ แนวทาง ฯ
4. ผลการประเมินแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมมีประสิทธิผลของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีฐาน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น พบวา่ แนวทาง ฯ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่นระดับมากที่สุดทุกด้าน