ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน
โรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ผู้ศึกษา นางแสงดาว ถิ่นนคร
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเมือง สวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ปีการศึกษา 2565 ครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,954 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก จำนวน 48 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 946 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 946 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 608 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก จำนวน 48 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง นักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 273 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 273 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม จำนวน 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ใช้สูตรของครอนบาร์ค
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด ( = 4.74 , S.D. = 0.52)
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด ( = 4.72 , S.D. = 0.53)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับ มากที่สุด ( = 4.75 , S.D. = 0.50)
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.48 , S.D. = 0.68)
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.49 , S.D. = 0.62)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 กิจกรรมเรื่องเล่าเช้านี้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
( = 4.42 , S.D. = 0.67)
4.2 กิจกรรมตอบปัญหาทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.43 , S.D. = 0.64)
4.3 กิจกรรมสุดยอดนักอ่าน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
( = 4.54 , S.D. = 0.56)
4.4 กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
( = 4.38 , S.D. = 0.69)
4.5 กิจกรรมแฟนพันธุ์แท้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
( = 4.72 , S.D. = 0.47)
4.6 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่า
ความพึงพอใจของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.49 , S.D. = 0.63)
4.7 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.49 , S.D. = 0.63)
4.8 ระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ความพึงพอใจของครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.49 , S.D. = 0.63)