บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ก่อนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ซึ่งกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน โดยเป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.29 ไม่มีนักเรียนที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ มีนักเรียนที่ได้คะแนนสูงกว่าเกณฑ์ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของนักเรียนทั้งหมด
ที่มาและความสำคัญ
การจัดการเรียนการสอนวิชากายภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง อีกทั้งเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การรักษาสมดุลของร่างกาย ระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย จากการสังเกตนักเรียนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่อง การหมุนเวียนโลหิตผ่านโครสร้างของหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนักเรียนไม่สามารถอธิบายลำดับการไหลเวียนเลือดได้ถูกต้อง ไม่สามารถบอกส่วนประกอบของเลือด อธิบายสาเหตุและกระบวนการทำให้เลือดแข็งตัวรวมทั้งการรับและการให้เลือดในระบบ ABO ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผู้เรียนมีเจตคติต่อวิชาดังกล่าวที่ไม่ดี ผู้เรียนเบื่อหน่ายในวิธีการสอนของครูผู้สอนไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนและการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่เป็นตามเป้าหมายในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
จากแนวคิดและสภาพปัญหาดังกล่าว ครูผู้สอนจึงต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ให้เป็นการเรียนการสอนเชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน สื่อการสอน กลวิธีการสอน และการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ฝึกสังเกต ฝึกตั้งคำถาม ฝึกการสื่อสาร การนำเสนอ วิเคราะห์วิจารณ์และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยมีครูผู้สอนเป็นผู้กำกับ ควบคุม ดำเนินการให้คำปรึกษาชี้แนะ ช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน และเป็นทางเลือกหนึ่งในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1) ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต
2) ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราช-วิทยาลัย บุรีรัมย์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือการวิจัย
1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องระบบหมุนเวียนโลหติ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ รวม 6 ชั่วโมง
2) แบบทดสอบก่อนเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ เวลาในการทำแบบทดสอบ 1 ชั่วโมง
3) แบบทดสอบหลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ เวลาในการทำแบบทดสอบ 1 ชั่วโมง
วิธีการดำเนินงาน
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้
1) ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต จากนั้นบันทึกคะแนนลงในแบบบันทึก
2) ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 3 แผนการเรียนรู้ ในวันจันทร์ อังคาร และศุกร์ ช่วงเวลาตามตารางเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รวมเป็นเวลา 6 ชั่วโมง
3) เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้ว ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต จากนั้นนำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการวิจัย
จากการวัดผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ก่อนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ได้ผลดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 คะแนนที่ได้จากการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ก่อนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต
กลุ่มตัวอย่าง N คะแนนเต็ม ก่อนเรียน หลังเรียน
นักเรียนคนที่ 1 24 20 10 15
นักเรียนคนที่ 2 24 20 9 17
นักเรียนคนที่ 3 24 20 5 16
นักเรียนคนที่ 4 24 20 7 14
นักเรียนคนที่ 5 24 20 6 18
นักเรียนคนที่ 6 24 20 8 19
นักเรียนคนที่ 7 24 20 11 17
นักเรียนคนที่ 8 24 20 9 15
นักเรียนคนที่ 9 24 20 14 17
นักเรียนคนที่ 10 24 20 11 15
นักเรียนคนที่ 11 24 20 12 17
นักเรียนคนที่ 12 24 20 14 16
นักเรียนคนที่ 13 24 20 10 17
นักเรียนคนที่ 14 24 20 9 18
นักเรียนคนที่ 15 24 20 9 15
นักเรียนคนที่ 16 24 20 9 14
นักเรียนคนที่ 17 24 20 12 15
นักเรียนคนที่ 18 24 20 16 19
นักเรียนคนที่ 19 24 20 3 18
นักเรียนคนที่ 20 24 20 5 16
นักเรียนคนที่ 21 24 20 6 16
นักเรียนคนที่ 22 24 20 5 15
นักเรียนคนที่ 23 24 20 8 19
นักเรียนคนที่ 24 24 20 9 18
ค่าเฉลี่ย 9.04 16.33
S.D. 3.20 1.52
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่จัดการเรียนรู้เชิงรุก(Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) กับเกณฑ์ร้อยละ 80
การทดสอบ จำนวน คะแนนเต็ม คะแนนเกณฑ์
ร้อยละ 80 ค่าเฉลี่ย S.D. ร้อยละ
ก่อนเรียน 24 20 1 9.04 3.20 5
หลังเรียน 24 20 16 16.33 1.52 80
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุปผลการวิจัย และอภิปรายผล
การวิจัยในครั้งนี้ สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน(Inquiry-Based Learning) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.29 มีนักเรียนที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ มีนักเรียนที่ได้คะแนนสูงกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ของนักเรียนทั้งหมด
ประโยชน์ที่ได้รับ
1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนเรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิตที่สูงขึ้น
2) เป็นแนวทางในการพัฒนาพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และการจัดทำแผนการสอนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์ของครู
3) เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์และวิชาอื่น ๆ ต่อไป
ข้อเสนอแนะ
1) เมื่อพบว่านักเรียนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนครูควรจะอธิบายเพิ่มเติม หรือซ่อมเสริม เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้กับนักเรียนในทันที หากปล่อยทิ้งไว้จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
2) ควรมีการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และทำชุดแบบฝึกทักษะเรื่องระบบหมุนเวียนโลหิต
3) ควรมีการจัดกิจกรรมบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น แล้วนำไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป
4) ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถและความถนัดที่แตกต่างกัน บางคนไม่สามารถลงมือปฏิบัติได้ แต่ผู้เรียนก็มีความพยายามที่จะเรียนรู้และอาสาทำหน้าที่อื่น ๆ เพื่อให้การเรียนรู้สมบูรณ์ เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกฝน มีการช่วยเหลือ แบ่งปัน และสามารถนำไปใช้ในการศึกษาต่อในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. (2560). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตาม
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานครฯ: องค์การรับส่งสินค้า
และพัสดุภัณฑ์
รณรงค์ ขันแข็ง. (2560). การบูรณาการแบบแทรก เรื่อง เวกเตอร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ธนบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า.
วรรณภา สายมาตย์. (2560). การปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อพัฒนาความคงทนใน
การเรียนรู้ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาจะ
หลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรม
หาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี