3 D Smart HR นวัตกรรมการดำเนินการย้ายข้าราชการครูด้วยความถูกต้อง โปร่งใส โรงเรียนได้ครู นักเรียนเรียนดี มีความสุข
การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ถือเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบบริหารงานบุคคล เพราะเมื่อครูเข้ามาปฏิบัติงานไปช่วงเวลาหนึ่งอาจมีความจำเป็นต้องขอย้ายตามความจำเป็นเหมาะสมของบุคคล หรือย้ายเพื่อประโยชน์ทางราชการ เพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาย้ายสถานศึกษาในการปฏิบัติงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวนักเรียน
อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ปัจจุบัน ตามหลักเกณฑ์การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู
1. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.4/ว18 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
2. หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ ศธ 04007/ว7467 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2566 เรื่อง การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การย้ายกรณีปกติ) ประจำปี พ.ศ.2567
3. หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0206.4/ว3 ลงวันที่ 5 มกราคม 2567
เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการย้ายสับเปลี่ยนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ
โดยการยื่นคำร้องขอย้ายและรอบการพิจารณาย้ายให้มีการยื่นคำร้องขอย้ายปีละ ๒ ครั้ง และพิจารณาย้ายได้ ๒ รอบ คือ
๑ การยื่นคำร้องขอย้ายรอบที่ ๑ ให้ยื่นในเดือนมกราคมของทุกปี เป็นเวลา ๑๕ วันทำการตามปฏิทินการย้ายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี กำหนด ทั้งนี้ ให้มีผลวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 โดยในรอบการย้ายอาจพิจารณาย้ายมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้
2. การยื่นคำร้องขอย้ายครั้งที่ ๒ ให้ยื่นในเดือนกรกฎาคมของทุกปี เป็นเวลา ๑๕ วันทำการ ตามปฏิทินการย้ายที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือส่วนราชการอื่น แล้วแต่กรณี กำหนด
ทั้งนี้ คำร้องขอย้ายให้นำมาใช้พิจารณาย้ายรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 5-26 กรกฎาคม 2567 โดยในรอบการย้ายอาจพิจารณาย้ายมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้ หากคำร้องขอย้ายตามข้อ ๑ หรือข้อ ๒ แล้วแต่กรณี ไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติหรือพ้นกำหนดการพิจารณาย้ายตามระยะเวลาในรอบที่กำหนด ให้ถือว่าคำร้องขอย้ายนั้นเป็นอันยกเลิก และหากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ผู้ใดประสงค์จะขอย้ายให้ยื่นคำร้องขอย้ายใหม่ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างเคร่งครัดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
วิธีการดำเนินงาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ได้ดำเนินการงานย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ดำเนินการอย่างมีขั้นตอนกระบวนการ ได้แก่
1. ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งว่างพร้อมข้อมูลอัตรากำลังครูและสาขาวิชาเอกที่ต้องการของแต่ละสถานศึกษา ให้ข้าราชการครูทราบ ข้อมูลประกอบด้วย 1) สภาพอัตรากำลังข้าราชการครู ขาด/เกิน
ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ.กำหนดของสถานศึกษาทุกโรงเรียนในสังกัด 2) ตำแหน่งว่างของสถานศึกษา โดยระบุความต้องการครูตามความสำคัญจำเป็นของสถานศึกษา
2.ข้าราชการครูยื่นคำร้องขอย้าย พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาผ่านผู้บังคับบัญชา
3.สถานศึกษารวบรวมคำร้องขอย้ายและเอกสารประกอบการพิจารณาพร้อมความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/การระบุวิชาเอกที่ต้องการทดแทนตามความต้องการจำเป็นของสถานศึกษาส่งมายังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒
๔.สถานศึกษาที่ผู้ประสงค์ขอย้ายระบุ ส่งความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
๕.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒ จัดทำข้อมูลตามองค์ประกอบการย้ายที่ ก.ค.ศ.กำหนดและรายละเอียดตัวชี้วัดที่ สพฐ.กำหนด เพื่อเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการย้าย และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามลำดับ
๖.ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 ออกคำสั่งย้ายและแต่งตั้ง ตามมติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
๗.ส่งแต่งตั้ง (ย้าย) ไปยัง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวข้อง
๘.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒ แจ้งคำสั่งไปยังกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษาในสังกัด และ สพท.ที่เกี่ยวข้องที่มีข้าราชการครูได้รับการพิจารณาแต่งตั้ง(ย้าย) ทราบ
๙.ให้สถานศึกษา (กรณีย้ายภายในเขตพื้นที่การศึกษา) แจ้งคำสั่งย้ายให้ข้าราชการครูในสังกัดทราบ พร้อมทั้งให้ส่งมอบงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้เรียบร้อย ส่งตัวข้าราชการครูเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ยังสถานศึกษาแห่งใหม่ที่รับย้าย ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง และรายงานให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัดทราบ 1๐.ให้สถานศึกษา (กรณีย้ายไปต่างเขตพื้นที่การศึกษา) แจ้งคำสั่งย้ายให้ข้าราชการครู
ในสังกัดทราบ พร้อมทั้งให้ส่งมอบงานในหน้าที่ความรับผิดชอบให้เรียบร้อย ส่งตัวข้าราชการครูไปยัง
สพท.ต้นสังกัดเพื่อให้ส่งต่อ ไปยัง สพท.แห่งใหม่ และส่งตัวไปปฏิบัติหน้าที่ยังสถานศึกษาแห่งใหม่ที่รับย้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับทราบคำสั่ง โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมาย ทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนด เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก ที่จะต้องมีความความถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และให้บริการที่ดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใส ฉับไวบริการ เอาใจใส่งาน ส่งผลให้ผู้รับบริการพอใจ
3 D Smart HR Model
นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู
ด้วยความถูกต้อง โปร่งใส คุณภาพคู่คุณธรรม ดำเนินงานฉับไว เต็มใจบริการ
โรงเรียนได้ครู นักเรียนเรียนดี มีความสุข
HR : Human Resource
D : Digital นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการดำเนินงาน
D : Data ข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
D : development การพัฒนาการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กคศ. กำหนด
S : Standard มุ่งตามมาตรฐาน M : Management การบริหารจัดการที่ดี
R :Realistic ใช้ข้อมูลตามสภาพจริงเพื่อพัฒนา A : Achievement มุ่งผลสัมฤทธิ์
T: Teamwork เน้นการทำงานร่วมกันและ PLC (งานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง งานอัตราและกำหนดตำแหน่ง และคณะกรรมการดำเนินงาน)
แนวความคิด การบริหารจัดการกลุ่มบริหารบุคคล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๒ ดำเนินการ สามารถปรับ เปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ โดยการนำเทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยให้การทำงานมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มากยิ่งขึ้น ซึ่งการนำ ๓ D-SMRT HR โมเดลมาใช้นั้นก็ต้องนำวงจร PDCA มาเป็นแนวทางในการตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานอย่างละเอียดและถี่ถ้วน ด้วยการ
P=plan วางแผน หมายถึง การวางแผนการดำเนินงานอย่างรอบคอบครอบคลุม
1. ลักษณะงาน
1.1 ความยุ่งยากของงาน
1.2 ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการปฏิบัติงาน 1.3 ระยะเวลาในการดำเนินการ
2 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการ/ผู้รับบริการ
2.1 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2.๒ ส่วนราชการอื่น 2.๓ บุคคลภายนอก
3 การดำเนินการภายหลังสิ้นสุดกระบวนการ/ขั้นตอน
3.1 การจัดเก็บเอกสาร 3.2 รายงานผล/สรุปผล/ติดตามการประเมินผล 3.3 สำรวจความคิดเห็น/ความพึงพอใจ
D=do ขั้นตอนการดำเนินงาน หมายถึง การลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานที่กำหนดไว้โดยมีผู้รับผิดชอบ
ในแต่ละกระบวนการ ขั้นตอนการดำเนินการลงมือปฏิบัติงานตามแผน ในขั้นนี้หัวหน้างานเป็นผู้ตรวจสอบติดตามการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำระหว่างปฏิบัติพร้อมทั้งสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
C=check ตรวจสอบ ขั้นประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน หมายถึง การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผน หรือกระบวนการที่กำหนดหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร รวมถึงวิธีการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร สมควรที่จะนำไปใช้เป็นตัวอย่างหรือมาตรฐานในการปฏิบัติงานต่อไป
A = Action ปรับปรุงแก้ไข ขั้นพัฒนาและปรับปรุง หมายถึง การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการดำเนินการให้เหมาะสมตามผลการประเมินโดยรวบรวมข้อมูลจากการตรวจสอบวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข ทำให้ทราบว่าปฏิบัติใด้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากที่สุด ก็ควรจัดทำเป็นมาตรฐาน หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ก็ต้องพัฒนาหาวิธีการปฏิบัติใหม่เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรในกลุ่มงานนำไปใช้การปฏิบัติงาน
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการวางแผนขั้นตอนกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการยกระดับการบริหารงานบุคคลให้มีคุณภาพคือ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือสื่อดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน ซึ่งข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่างานบริหารงานบุคคลเนื่องเหนือจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์แล้ว จะต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลควบคู่ไปด้วย หากองค์กรมีการพัฒนาคนโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับครูและบุคลากรที่มีอยู่อย่างมากมายได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ทุกอย่างก็จะมีความชัดเจน ถูกต้อง เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดมากยิ่งขึ้น เป็นการวางรากฐานการพัฒนาบุคลากร
ทางการศึกษาใหม่ โดยนำแนวคิดการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 มาใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่ง ๓ D-SMRT HR โมเดล ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่นำมาปรับใช้ในการทำงานอย่างเกิดประโยชน์ส่งผลให้งานมีคุณภาพมายิ่งขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ครูและบุคลากรทางการศึกษารับรู้ เข้าใจข้อมูล หลักเกณฑ์ ตัวชี้วัด ในการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูอย่างชัดเจน มีการจัดทำรูปเล่มเพื่อพิจารณาอย่างมีคุณภาพ
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัย สืบค้นได้ง่าย เรียกใช้ได้ทุกเมื่อ และเปิดโอกาสให้ครูได้เขาถึงข้อมูลอย่างง่ายดาย
3. การดำเนินการย้ายครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู ไม่มีความผิดพลาดและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด
4. ครูสามารถใช้เทคโนโลยีในการดำเนินการด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
5. ครูมีความพึงพอใจ และเชื่อมั่นในการดำเนินงานการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
เชิงคุณภาพ ผลการดำเนินงาน การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู จากการนำนวัตกรรม ๓ D-SMRT HR มาใช้ไม่มีความผิดในข้อมูล และมีประสิทธิภาพในทุกมิติ
เชิงปริมาณ 1. ร้อยละความสำเร็จของกการดำเนินงาน การย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู
2. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง/ผู้รับบริการ ต่อการปฏิบัติงานของกลุ่มบริหารงานบุคล
กลุ่มเป้าหมายและความคาดหวัง
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูที่ขอย้ายสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ทุกรายได้รับบริการ การดำเนินการย้ายฯ อย่างมีคุณภาพ มีความถูกต้องครบถูกด้านข้อมูล ยึดหลักความ โปร่งใส มีคุณธรรม โดยผู้รับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและมีความเสียสละ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญต่อการมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน สามารถบริหารจัดการการใช้ชีวิตและการทำงานได้อย่างลงตัว และสามารถสร้างประโยชน์ ให้แก่นักเรียนได้มากที่สุด