ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร
ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น
ผู้วิจัย อรนรินทร์ มุกดา
ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร 3) เพื่อประเมินความเป็นนวัตกรหลังการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร 4) เพื่อประเมินความสามารถในการสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร และ5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ซึ่งนักเรียนในแต่ละห้องมีนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน คละกันไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน 3) แบบประเมินความสามารถในการเป็นนวัตกร 4) แบบประเมินความสามารถในการสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ 5) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ และและวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยโดยใช้ T-Test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น มีชื่อว่า PS-Based Learning Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมสมอง (Preparation Stages : P) ขั้นที่ 2 การนำเสนอสถานการณ์ใหม่เพื่อสร้างความสนใจ (Acquisition Stages : A) ขั้นที่ 3 การตระหนักถึงปัญหาและสิ่งที่ควรเรียนรู้ (Identity and Challenger Stages : I) ขั้นที่ 4 การศึกษาข้อมูลรอบด้านที่เกี่ยวข้อง (Explore Ideas Stages : E) ขั้นที่ 5 การวางแผนและพัฒนา (Plan and Develop Stages : P) ขั้นที่ 6 การปฏิบัติการเพื่อการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluate Stages : T) และขั้นที่ 7 การนำเสนอผลลัพธ์และการประยุกต์ใช้ (Present the Solution and Application : P) 4) การประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ และ 6) เงื่อนไข ที่สำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.52/85.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความเป็นนวัตกรหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น อยู่ในระดับมาก
4. ความสามารถในการสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร อยู่ในระดับดีมาก
5. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการร่วมกับ STEAM Education เพื่อส่งเสริมการเป็นนวัตกร อยู่ในระดับมากที่สุด