การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการงานอาชีพ2 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 43 คน ในรายวิชาการงานอาชีพ2โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 43 คน จำนวนทั้งหมดได้มาจากการซุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
1. ตอนที่ 1 แผนการสอน เรื่อง แนวทางการเลือกอาชีพ จำนวน 1 ชุด เวลา 1 ชั่วโมง
2. ตอนที่ 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบบูรณาการ
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน T-test for dependent Samples เปรียบเทียบผล
การทดสอบก่อนและหลังเรียน โดยใช้สูตร
; df = n - 1
เมื่อ S แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง
µ แทน เกณฑ์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 60 คิดเป็น 12 คะแนน)
แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
N แทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ผลสัมฤทธิ์วิชาการงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนโดยการทดสอบค่า
(t-test)
; df = n-1
เมื่อ แทน ค่าสถิติที่ใช้เปรียบเทียบค่าวิกฤต
แทน ผลต่างระหว่างของคะแนนข้อมูลแต่ละคู่
แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง
แทน ผลรวมทั้งหมดของผลต่างของคะแนนก่อนและหลัง
แทน ผลรวมของกำลังสองของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบูรณาการ
มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 ซึ่งเป็น
ไปตามสมมติฐาน เนื่องจากการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคบูรณาการ เป็นการเรียนที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น โดยทดสอบจากแบบทดสอบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากความรู้สึกไปถึงการคิดไตร่ตรองและเรียนรู้ตามความต้องการตามทฤษฎีการแบบบูรณาการ และสอดคล้องกับงานวิจัยของ มณฑา ชุ่มสุคนธ์ (2558) ที่กล่าวว่า การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีลักษณะเป็นการบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline) และดำเนนิกระบวนการวิจัยแบบ Deming Cycle มี 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan) โดยผู้สอนใน 2 รายวิชาร่วมกันกำหนดหัวข้อ ความคิดรวบยอด เนื้อหา ปัญหา และเกณฑ์การตัดสิน จัดทำ แผนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ขั้นที่ 2 การลงมือทำ (Do) โดยพัฒนาแผนและกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ นำไปทดลองใช้จัดการเรียนการสอน
จากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นข้อสนับสนุนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบูรณาการ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน