ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566

พงษ์ตะวัน แสงทอง

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4, 1/7, 1/10 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสันกำแพง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

2) แบบทดสอบ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก จำนวน 20 ข้อ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3.48 คะแนน (คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน = 4.44, คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน = 7.92)

คำสำคัญ: ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถสนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้ดีผู้สอนควรจัดการเรียนสอนให้ผู้เรียนได้เรียนองค์ความรู้ต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการลงมือ ปฏิบัติจริง เพราะการเรียนรู้วิทยาศาสตร์นั้น ไม่ใช่แค่การเรียนเนื้อหาเพื่อการท่องจำ แต่ผู้เรียนต้องมีบทบาทสำคัญในการลงมือเรียนรู้ปฏิบัติจริง มีการค้นคว้าหาความรู้อย่างมีระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวิชามาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดในชีวิตประจำวัน (นัสรินทร์ บือซา. 2558: 15

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จัดเป็นสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่ผลิตขึ้นมาอย่างมีระบบมีความสอดคล้องกับเนื้อหา และวัตถุประสงค์ สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นนวัตกรรมทางการเรียนรูปแบบหนึ่งที่เน้นการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถและความสนใจ ทุกคนมีโอกาสใช้ความคิดอย่างเต็มที่ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งชุดกิจกรรมการเรียนรู้จะใช้เวลาน้อยในการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนเป็นอิสระ สามารถประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้จากคำแนะนำที่ปรากฎอยู่ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนด้วยตนเอง และชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีผลต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้และหาคำตอบของปัญหาได้ด้วยตนเอง รู้จักคิด และแสวงหาความรู้เพื่อเชื่อมโยงความคิดไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาและสร้างสิ่งใหม่ ๆ

จากความเป็นมาของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้เล็งเห็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก จากการจัดการเรียนการสอนด้วยตนเอง พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เนื่องจากเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเข้าใจในทฤษฎีและการเชื่อมโยงที่ทำให้เห็นภาพกว้าง ๆ ทำให้ผู้เรียนทำความเข้าใจ และจินตนาการตามเนื้อหาได้ยาก เป็นผลให้นักเรียนมีปัญหาในการเรียนเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนผู้วิจัยจึงสนใจที่จะใช้ชุดกิจกรรม มาใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เป็น พื้นฐานในการพัฒนาต่อยอดการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในหัวข้ออื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2 ว21102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพให้สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

3. ขอบเขตของการวิจัย

3.1 ประชากร

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสันกำแพง

3.2 กลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4, 1/7, 1/10 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสันกำแพง

3.3 ระยะเวลาในการวิจัย

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

3.4 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

- ตัวแปรต้น/ตัวแปรอิสระ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

- ตัวแปรตาม

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

4. นิยามศัพท์เฉพาะ

4.1 นักเรียน หมายถึง นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/4, 1/7, 1/10 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสันกำแพง

4.2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

5.1 หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2561)กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2551 (ปรับปรุง

พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งสรุปรายละเอียด ดังนี้

2.1.1 จุดมุ่งหมายของวิทยาศาสตร์

มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอน มีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลายเหมาะสมกับระดับชั้นโดยกำหนดสาระสำคัญ ดังนี้

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับ ชีวิตในสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์การดำรงชีวิตของพืช พันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต วิทยาศาสตร์กายภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับ ธรรมชาติของสาร การเปลี่ยนแปลงของสารการเคลื่อนที่ พลังงาน และคลื่นวิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ เรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของเอกภพ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ เทคโนโลยีอวกาศ ระบบโลก การเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ และผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การออกแบบและเทคโนโลยี เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อชีวิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

2. วิทยาการคำนวณ เรียนรู้เกี่ยวกับ การคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.2 ทฤษฎีกรวยประสบการณ์ของเอดการ์ เดล (Edgar Dale)

การจัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างโสตทัศนูปกรณ์ และแสดงเป็นขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สื่อ นำมาสร้างเป็น "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience (ดวงฤดี ราษีบุษย์, 2556) แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1) ประสบการณ์ตรง ซึ่งเป็นขั้นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากของจริง สถานที่จริง

2) ประสบการณ์รอง ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงกับความจริงที่สุด

3) ประสบการณ์นาฎกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติ

4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือกระทำประกอบคำอธิบาย

5) การศึกษานอกสถานที่ ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภายนอกที่เรียน

6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ

7) โทรทัศน์ การสอนจะเป็นการสอนสดหรือบันทึกลงบนวีดีทัศน์

8) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง เป็นการฟังหรือดูภาพโดยไม่ต้องอ่าน

9) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ

10) วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือ เสียงพูด

การใช้กรวยประสบการณ์ของเคลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตุในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่าง ๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

5.3 ความหมายของชุดกิจกรรมการเรียนรู้

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นนวัตกรรมที่ครูใช้ประกอบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยผู้เรียนศึกษาและ ใช้สื่อต่าง ๆ ในชุดกิจกรรมที่ผู้สอนสร้างขึ้นซึ่งเป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน (กัณฐาภรณ์ พานเงิน, 2559 อ้างอิงจาก สุคนธ์ สินธ พานนท์, 2542)

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นน วัตกรรมทางการศึกษาที่ครูใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นชุดของสื่อประสม มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่องที่สอน มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ทั้งค้านวิธีการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผลโดยจัดไว้เป็นชุด ๆ เพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ (กัณฐาภรณ์ พานเงิน, 2559)

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ สื่อการเรียนที่จัดลำดับขั้นตอนของเนื้อหาและกิจกรรมให้เป็นระบบรัดกุม กำหนดจุดประสงค์ของกิจกรรม กำหนดกิจกรรม เวลา และสื่อการสอนไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้ผู้เรี ยนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสั้น (วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล, 2560)

จากที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง นวัตกรรมทางการศึกษาที่ผู้วิจัยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิทางการเรียนในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกสูงขึ้น โดยรูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกนั้นจำเป็นต้องมี ชื่อกิจกรรม คำชี้แจง จุดประสงค์ของกิจกรรม และเนื้อหาของกิจกรรมที่ผู้เรียนจำเป็นที่ต้องทราบ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่สร้างขึ้นมาเองนั้นจะต้องตรงตามตัวชี้วัด และสอดคล้องกับเนื้อหา รวมทั้งเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน

5.4 การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

1. กิจกรรมของมนุษย์ได้ทำให้ชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และพื้นโลกร้อนขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเป็นวงในบริเวณกว้างทั้งในชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร ภาคพื้นที่เป็นหิมะและน้ำแข็ง รวมถึงชีวมณฑล

2. ระบบภูมิอากาศของโลกระดับกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงในระดับที่ที่กำลังเกิดขึ้นกับ

ระบบภูมิอากาศของโลกเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อนในช่วงหลายร้อยจนถึงหลายพันปี การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างต้องใช้เวลาจำนวนมากไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกตินานนับร้อยจนถึงพันปีกว่าที่จะกลับสู่สภาพเดิมได้ โดยเฉพาะกับมหาสมุทร พืดน้ำแข็ง และระดับน้ำทะเลทั่วโลก

3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ส่งผลกระทบไปทั่วทุก

ภูมิภาคมีหลักฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกับคลื่นความร้อนที่รุนแรง ฝนตกหนักความแห้งแล้ง และพายุหมุนเขตร้อน

4. อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงกลางศตวรรษเป็นอย่างน้อย หาก

เราไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังไม่ลดลงจนถึงระดับที่เหมาะสมให้เหลือน้อยที่สุดในไม่กี่ศตวรรษข้างหน้า ภาวะโลกร้อนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศจะยิ่งรุนแรงขึ้น

5. เมื่อยิ่งโลกร้อนขึ้น การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิอากาศก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะ

เป็นความร้อนสุดขั้วที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น คลื่นความร้อนในมหาสมุทร ฝนตกหนัก ความแห้งแล้งทางการเกษตรและระบบนิเวศน์ในบางภูมิภาคประสบภัยแล้ง อัตราส่วนการเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรง ตลอดจนปริมาณการลดลงของน้ำแข็งในทะเล หิมะปกคลุม และชั้นดินเยือกแข็งคงตัวบริเวณขั้วโลกเหนือที่ลดลง

6. ภาวะโลกร้อนที่อย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้วัฏจักรของน้ำทั่วโลกเปลี่ยนแปลงทวีความรุนแรง

ผลที่ตามมาคือวัฏจักรนี้และแปรปรวนมากขึ้น รวมถึงเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนช่วงมรสุมและความรุนแรงของเหตุการณ์เกี่ยวกับน้ำและความแห้งแล้งก็จะทวีคูณขึ้น

7. เมื่อมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ความสามารถของมหาสมุทรและผืนดินใน

การจะดูดซับและชะลอการสะสมของก๊าซนี้ในชั้นบรรยากาศจะลดได้น้อยลง

8. หากเมื่อภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงต่อไป ทุกภูมิภาคจะพบความเปลี่ยนแปลงของ

ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อด้านสภาพอากาศก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นในทุกภูมิภาค เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลในวงกว้างขึ้นที่ 2 องศาเซลเซียส ปัจจัยเหล่านี้จะขยายตัวกว้างขึ้นเมื่อเทียบกับ 1.5 องศาเซลเซียส และผลกระทบจะยิ่งกว้างมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

9. แม้ว่าการพังทลายของพืดน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของกระแสน้ำการ

ไหลเวียนของน้ำในมหาสมุทร อย่างฉับพลัน และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าระดับที่คาดคะเน อาจจะไม่เกิดขึ้นแต่ก็ใช่ว่าผลกระทบเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้

10. เราสามารถแก้ไขการควบคุมภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ด้วยการต้องทำโดยการ

จำกัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสม และลดให้ปริมาณสุทธิเหลือศูนย์เป็นอย่างน้อย นอกจากนี้ยังต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน ให้เหลือน้อยที่สุดด้วย

11. หากสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือน้อยหรือน้อยมากได้ ภายในเวลาไม่กี่

ปี เราจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกและละอองลอย รวมถึงคุณภาพอากาศภายในไม่กี่ปี และจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแตกต่างของอุณหภูมิพื้นผิวโลกในระยะเวลาประมาณ 20 ปี

6. วิธีดำเนินการวิจัย

6.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

6.1.1 ชุดกิจกรรมเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

6.1.2 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน

6.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

6.3 การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูล โดยนำผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาหาค่าเฉลี่ยและส่วน

เบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการเปรียบเทียบ

7. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

7.1 สรุปผลการวิจัย

จากการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเพื่อพัฒนา

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเก็บคะแนนก่อนเรียนของนักเรียนแต่ละห้องเป็นคะแนน 10 คะแนน ก่อนชุดกิจกรรม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก นักเรียนทุกห้องได้คะแนนเฉลี่ย 4.44 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.78 คะแนนของนักเรียนเฉลี่ยทุกห้องหลังการใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ได้คะแนนเฉลี่ย 7.92 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.81

7.2 อภิปรายผล

จากผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่เรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เนื่องจาก ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ผู้วิจัยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีประสิทธิทางการเรียนในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกสูงขึ้น โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกที่สร้างขึ้นมาเองนั้นมีเนื้อหาที่ถูกต้องตามตัวชี้วัด และสอดคล้องกับเนื้อหา รวมทั้งเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน

7.3 ข้อเสนอแนะ

ในการจัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งต่อไป ผู้วิจัยควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในการทำชุดกิจกรรม

8. บรรณานุกรม

กัณฐาภรณ์ พานเงิน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีวิจารญาณ เรื่องชุมชนริมน้ำจันทบูร กลุ่มสารการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการาสอน). จันทบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ดวงฤดี ราศีบุษย์. (2554). กรวยประสบการณ์ของ เอ็ดการ์ เดล. โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2561.หน้า 102. (อติรัตน์ โรจนเสถียร และบุญอนันท์ นทกุล, 2561)

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แมน เชื้อบางแก้ว และพัสวี สละชีพ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เคมีอินทรีย์สำหรับรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี. วารสารราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. 19(2), 20-30.

วิชัย แก้วแตง. (2535). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับบปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ครั้งที่พิมพ์ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

โพสต์โดย T.Balloon : [10 มี.ค. 2567 (19:26 น.)]
อ่าน [2617] ไอพี : 49.228.238.146
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 27,682 ครั้ง
การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย
การนำรูปเรขาคณิตมาวางเรียงกันทำให้เกิดลวดลาย

เปิดอ่าน 52,724 ครั้ง
เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง
เคล็ดลับการเรียนเก่งด้วยตัวเอง

เปิดอ่าน 133,836 ครั้ง
รวมพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษา
รวมพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษา

เปิดอ่าน 9,789 ครั้ง
เคล็ดลับขายของออนไลน์อย่างไรไม่ขาดทุน
เคล็ดลับขายของออนไลน์อย่างไรไม่ขาดทุน

เปิดอ่าน 574 ครั้ง
5 เทคนิคเลือกใช้บริการขนย้ายของที่ปลอดภัยและคุ้มค่า
5 เทคนิคเลือกใช้บริการขนย้ายของที่ปลอดภัยและคุ้มค่า

เปิดอ่าน 746 ครั้ง
เตรียมพร้อม... เมื่อเข้าสตรีวัยทอง
เตรียมพร้อม... เมื่อเข้าสตรีวัยทอง

เปิดอ่าน 5,396 ครั้ง
คุณหมอญี่ปุ่นแนะนำ! วิธีสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม
คุณหมอญี่ปุ่นแนะนำ! วิธีสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม

เปิดอ่าน 34,616 ครั้ง
รู้จัก "อีบิดดิ้ง-อีมาร์เก็ต" ระบบจัดซื้อ "พันธุ์ใหม่"
รู้จัก "อีบิดดิ้ง-อีมาร์เก็ต" ระบบจัดซื้อ "พันธุ์ใหม่"

เปิดอ่าน 56,523 ครั้ง
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง

เปิดอ่าน 37,262 ครั้ง
ทำไมพระเรียกผู้หญิงว่า "สีกา"
ทำไมพระเรียกผู้หญิงว่า "สีกา"

เปิดอ่าน 17,248 ครั้ง
Microsoft Office สำหรับไอแพด
Microsoft Office สำหรับไอแพด

เปิดอ่าน 16,743 ครั้ง
 สะพานซังฮี้  ซังฮี้แปลว่าอะไร?
สะพานซังฮี้ ซังฮี้แปลว่าอะไร?

เปิดอ่าน 9,848 ครั้ง
คนนอนกรนไม่ต้องกลัวเป็นโรคหัวใจไม่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด
คนนอนกรนไม่ต้องกลัวเป็นโรคหัวใจไม่เกี่ยวพันกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

เปิดอ่าน 18,200 ครั้ง
เงินเดือนออก..ใช้อย่างไรให้ถึงเดือนหน้า
เงินเดือนออก..ใช้อย่างไรให้ถึงเดือนหน้า

เปิดอ่าน 22,450 ครั้ง
คลิปรายการ "เปิดปม" กรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย รีบดูครับ
คลิปรายการ "เปิดปม" กรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย รีบดูครับ

เปิดอ่าน 12,467 ครั้ง
ไปรษณีย์ไทย ยัน แสตมป์เซเว่น ใช้ส่งจดหมายไม่ได้
ไปรษณีย์ไทย ยัน แสตมป์เซเว่น ใช้ส่งจดหมายไม่ได้
เปิดอ่าน 130,000 ครั้ง
รวมคลิปสุดแสบ ในการ "ปลุก" ภาวนาอย่ามีเพื่อนแบบนี้เลย
รวมคลิปสุดแสบ ในการ "ปลุก" ภาวนาอย่ามีเพื่อนแบบนี้เลย
เปิดอ่าน 13,855 ครั้ง
อาหารมงคลรับปีใหม่-สมุนไพรไล่หนาว
อาหารมงคลรับปีใหม่-สมุนไพรไล่หนาว
เปิดอ่าน 3,733 ครั้ง
คนกินเค็มต้องระวัง "โซเดียมในเลือดสูง"
คนกินเค็มต้องระวัง "โซเดียมในเลือดสูง"
เปิดอ่าน 19,981 ครั้ง
น้องอันดา ควีโยมี น่ารักสุดๆไปเลย
น้องอันดา ควีโยมี น่ารักสุดๆไปเลย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ