ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
โดยใช้ SMART MODEL โรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม ปีการศึกษา 2565-2566
ผู้วิจัย นายเกรียงไกร ป้องศรี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2565-2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SMART MODEL โรงเรียนม่วงมิตรวิทยาคม ปีการศึกษา 2565-2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาระดับทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 218 คน ครู จำนวน 20 คน ผู้ปกครอง จำนวน 218 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 4 ฉบับ มีการตรวจคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค (Cronbach Alpha Coefficient)
ระหว่าง 0.825-0.949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม หลังการพัฒนาตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅=3.47, S.D.=0.59) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับ มากที่สุด (X ̅=4.64, S.D.=0.51) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
2. ระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม หลังการพัฒนาตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับ ปานกลาง (X ̅=3.44, S.D.=0.54) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.69, S.D.=0.47) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3. ระดับทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม ตามองค์ประกอบ ตัวชี้วัด และพฤติกรรมบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ประเมินโดยครู และผู้ปกครอง พบว่า ปีการศึกษา 2565 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับ ปานกลาง (X ̅=3.22, S.D.=0.43) ปีการศึกษา 2566 มีคุณภาพอยู่ในระดับ มากที่สุด (X ̅=4.60, S.D.=0.45) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
4. ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนด้วยการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม หลังการพัฒนาตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับ มาก (X ̅=3.53, S.D.=0.61) ปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับ มากที่สุด (X ̅=4.63, S.D.=0.47) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
คำสำคัญ: ทักษะชีวิต; การพัฒนาทักษะชีวิต; การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม