ผู้วิจัย นางสาวพิมลพรรณ เฮ็งเส็ง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม)
เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
ปีวิจัย ปีการศึกษา 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) 2) พัฒนาการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) และ 3) ศึกษาผลการใช้ การบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี ประชากร/กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 36 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 9 คน และคณะกรรการประเมินมาตรฐานการศึกษาของเทศบาล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพการบริหารงานวิชาการ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .96 แบบประเมินความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .95 แบบประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบประเมินประสิทธิผล เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .94 และแบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการบรรยาย
สรุปผลการวิจัย
1. สภาพการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) พบว่า โดยรวมมีสภาพการบริหารงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง และทุกด้านของสภาพการบริหาร งานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง โดยสูงสุด คือ ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้กับด้านการบริหารการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ รองลงมาคือ ด้านการบริหารหลักสูตร ต่อมาคือ ด้านการบริหารการนิเทศภายในกับด้านการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษา ตามลำดับโดยทุกข้อของสภาพการบริหาร งานวิชาการแบบทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก มีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 3.14 3.63
2. การบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน การบริหารงานวิชาการ ด้านการดำเนินการบริหารงานวิชาการ ด้านการติดตามและทบทวนการทำงาน และด้านการประเมินผลการบริหารงานวิชาการ ผลการประเมินความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ โดยผู้บริหารโรงเรียนพบว่า โดยรวมการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมฯ มีความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และทุกด้านมีความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านการดำเนินการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการวางแผนการบริหารงานวิชาการ ลำดับต่อมาคือ ด้านการติดตามและทบทวนการทำงาน กับด้านการประเมินผลการบริหารงานวิชาการ ตามลำดับ และทุกข้อขององค์ประกอบมีความเหมาะสมนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.56 5.00
3. ผลการใช้การบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) เทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี มีดังนี้
3.1 การประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) โดยคณะกรรมการประเมินมาตรฐานการศึกษาของเทศบาลเมืองสระบุรี มีผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาในปีการศึกษา 2566 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม สูงกว่าปีการศึกษา 2565 (อยู่ในระดับดี เท่ากับ 1.08 โดยทุกมาตรฐานการศึกษาปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.89 1.20
3.2 การประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีม ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) พบว่า โดยรวมประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด และทุกด้านมีประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการทำงานเป็นทีม ลำดับต่อมา คือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียน การสอน ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ และทุกข้อมีประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการฯ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.59 4.88
3.3 ความพึงพอใจของครูในโรงเรียนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีม ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) พบว่า โดยรวมครูในโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด และทุกข้อครูในโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการแบบทำงานเป็นทีมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.69 4.92