ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี เทศบาลนครอุดรธานี
ผู้รายงาน นางสาวอภิญญา พลบูรณ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี เทศบาลนครอุดรธานี ด้านสภาวะแวดล้อม, ด้านปัจจัยเบื้องต้น, ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 479 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Sampling) จำแนกตามสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม มีการกำหนดขนาด ของกลุ่มผู้ประเมิน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี เทศบาล นครอุดรธานี ก่อนการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม) ประกอบด้วย แบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม จำนวน 11 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.90 (2) แบบสอบถามการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ ที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี เทศบาลนครอุดรธานี ก่อนการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น) ประกอบด้วยแบบสอบถาม ด้านปัจจัยเบื้องต้น จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.91 (3) แบบสอบถามการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี เทศบาลนครอุดรธานี ระหว่างการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านกระบวนการ) จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89 (4) แบบสอบถามการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี เทศบาลนครอุดรธานี หลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านผลผลิต) จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี ด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.26 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก และ มากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน รองลงมาคือ มีการวางแผนการดำเนินโครงการไว้อย่างเป็นขั้นตอนมีระบบ
2. ผลการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี ด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.25 เมื่อพิจารณา รายข้อพบว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก และ มากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดำเนินงาน รองลงมา คือ มีการมอบหมาย การดำเนินงานในโครงการมีความเหมาะสมตามความรู้ความสามารถ
3. ผลการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี ด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24 เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ทุกข้อมีผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับ มาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ การดำเนินฐานการเรียนรู้ของโครงการ โรงเรียนมีการประสานงานร่วมมือกับชุมชนและท้องถิ่น รองลงมาคือ โครงการการดำเนินการจัดฐานการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. ผลการประเมินโครงการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนของสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 1 โพศรี ด้านผลผลิตพบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.23 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือ โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ยั่งยืน รองลงมาคือ โรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา